ไวรัสRSV และ ไวรัสไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร

ไวรัส RSV เป็นไวรัสซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กลัวมาก เนื่องจากไวรัส RSVยังไม่มีทั้งยารักษาและวัคซีนป้องกัน และไวรัส RSVมักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน 

ไวรัส RSV คืออะไร

Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ร่างกายได้รับไวรัส RSV ได้อย่างไร

ไวรัส RSV จะพบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ   

ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการอย่างไร

RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ

  • ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
  • ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
  • ในบางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัส RSV ตั้งแต่ 40 –90 % รวมไปถึงปอดบวม  

ไวรัส RSV ต่างจากหวัดธรรมดาอย่างไร

หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV มีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้  

รักษา ไวรัส RSV อย่างไร

ระวังเรื่องการขาดนน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอด อาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลม รับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จึงจะหาย  

วิธีป้องกัน ไวรัส RSV

การล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆ เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเด็กที่สงสัยว่าเป็นหวัด และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้

เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค

หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ไม่พาบุตรหลานไปที่ชุมชมสถานที่ที่มีคนเยอะ

ถ้ามองเผิน ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าน้องเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดีและปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อชีวิตเด็ก ๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้อง ๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดค่ะ

เครดิตข้อมูลจาก : รักลูกคลับ-Rakluke Club

พาวน้ำ ขวดใหญ่ POW พาวเอสเซ้นส์ พาวน้ำพลูคาว

พาวซุยยากุเอสเซนส์ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น พาวซุยยากุเอสเซนส์ หรือพาวน้ำ  ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ประกอบด้วยพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรอื่น 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจี...

ดูรายละเอียด

ไอ เจ็บคอ ไข้หวัด

บทความน่ารู้

VHerb ดูแลสุขภาพคุณยังไง

หากภูมิต่ำ ด้วยการผสานพลัง 5 ยอดสมุนไพรสกัด ทั้งสารสกัดพลูคาว สารสกัดกระชาย สไปรูลิน่า เบต้ากลูแคนจากยีสต์ และสารสกัดมะขามป้อม จะช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว จึงเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ หากกลัวโรคร้ายอย่างมะเร็ง เพิ่มความมั่นใ...

อ่านต่อ

อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลง

ระวัง! อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลงอาบน้ำทันทีหลังดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายได้รับกลูโคสไม่พอ เสี่ยงหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมหรือลื่นล้มในห้องน้ำอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย ต้องรอร่างกายหายเหนื่อยก่อน 10-15 นาที ถ้าอาบทันทีอาจเสี่ยงไม่สบาย หรือช็อกได้อาบน้ำท...

อ่านต่อ

รับประทานฟ้าทะลายโจรอย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพ

ฟ้าทะลายโจร กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ1.ฟ้าทะลายโจร เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์สำคัญ 4 อย่าง คือกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส ต้านการอักเสบ และ ลดไข้ จากการวิจัยพบว่า สารสกัดสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ในฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโควิด 19 และยับยั...

อ่านต่อ

พาว POW แค่บอกว่าดีอย่างเดียวคงไม่พอ

พาวเมาท์สเปรย์ที่เป็นมากกว่าสเปรย์พ่นปาก แค่บอกว่าดีอย่างเดียวคงไม่พอ เราต้องพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นดีจริง พาวเมาท์สเปรย์ เราได้ทำวิจัยกับ สวทช. และพิสูจน์ได้ว่า พาวเมาท์ของพาวมีฤทธิ์ยังยั้งเชื่อแบคทีเรียในช่องปากได้ถึง 99.96% อ้างอิง โครงการการทดสอ...

อ่านต่อ

Long Covid คืออะไร

Long Covid อาการที่ยังหลงเหลือ แม้หายป่วยโควิดแล้ว ทำความรู้จักกับอาการ Long Covid ที่เป็นอาการหลงเหลืออยู่ของเชื้อโควิด-19 แม้หายป่วยจากการติดเชื้อแล้ว ซึ่งจะพบหลังจากหายป่วยในช่วง 1-3 เดือนแรก และวิธีดูแลตัวเองเพื่อให้หายจากอาการนายแพทย์สมศักดิ์ อร...

อ่านต่อ