ไวรัสRSV และ ไวรัสไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร

ไวรัส RSV เป็นไวรัสซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กลัวมาก เนื่องจากไวรัส RSVยังไม่มีทั้งยารักษาและวัคซีนป้องกัน และไวรัส RSVมักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน 

ไวรัส RSV คืออะไร

Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ร่างกายได้รับไวรัส RSV ได้อย่างไร

ไวรัส RSV จะพบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ   

ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการอย่างไร

RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ

  • ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
  • ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
  • ในบางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัส RSV ตั้งแต่ 40 –90 % รวมไปถึงปอดบวม  

ไวรัส RSV ต่างจากหวัดธรรมดาอย่างไร

หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV มีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้  

รักษา ไวรัส RSV อย่างไร

ระวังเรื่องการขาดนน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอด อาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลม รับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จึงจะหาย  

วิธีป้องกัน ไวรัส RSV

การล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆ เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเด็กที่สงสัยว่าเป็นหวัด และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้

เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค

หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ไม่พาบุตรหลานไปที่ชุมชมสถานที่ที่มีคนเยอะ

ถ้ามองเผิน ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าน้องเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดีและปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อชีวิตเด็ก ๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้อง ๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดค่ะ

เครดิตข้อมูลจาก : รักลูกคลับ-Rakluke Club

พาวน้ำ ขวดใหญ่ POW พาวเอสเซ้นส์ พาวน้ำพลูคาว

พาวซุยยากุเอสเซนส์ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น พาวซุยยากุเอสเซนส์ หรือพาวน้ำ  ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ประกอบด้วยพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรอื่น 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจี...

ดูรายละเอียด

ไอ เจ็บคอ ไข้หวัด

บทความน่ารู้

ดูแลสุขภาพวัยเรียน

ทั้งเรียนหนัก เล่นเหนื่อย อ่านหนังสือโต้รุ่ง ถึงจะอยู่ในวัยที่ร่างกายยังแข็งแรง ฮอร์โมนทำงานดี แต่ก็อย่าละเลยสุขภาพ เพราะเชื้อโรคและไวรัสจ้องจะโจมตีเสมอหากอ่อนแอ เมื่อใช้งานหนักก็ต้องดูแลใส่ใจบ้าง เสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรง เพื่อก้าวไปตามความฝันได้อย...

อ่านต่อ

พาวเมาท์สเปรย์ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้

พาวเมาท์สเปรย์ที่เป็นมากกว่าสเปรย์พ่นปาก พาวเมาท์สเปรย์ มีส่วนผสมของสารสกัดพลูคาว โพรโพลิส เปปเปอร์มินต์ และสเปียร์มินต์ เพื่อลมหายใจที่หอมสดชื่น บรรเทาอาการไอ และลดแบคทีเรียในช่องปากแค่บอกว่าดีอย่างเดียวคงไม่พอ เราต้องพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นดีจริง พา...

อ่านต่อ

พาว การรับประทาน วิธีการเก็บรักษา

การรับประทานพาวมีลูกค้าหลายๆ ทานที่ซื้อพาวไป ได้สอบถามวิธีการรับประทานพาวมาหลายข้อความ วิธีทานพาว วิธีดื่มพาว มีข้อควรระวังอะไรบ้าง มีคำตอบดังนี้ครับ ควรเริ่มดื่มพาว วันละ 15ml. (ประมาณเกือบครึ่งแก้วตวง) หลังอาหาร มื้อใดก็ได้ ในกรณีมียาประจำที่ต้องท...

อ่านต่อ

สรรพคุณ ประโยชน์ ของ พลูคาวตอง

พลูคาวตอง หรือ พลูคาวเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ไข้หวัด ภูมิแพ้อากาศ โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ หอบหืด พลูคาวมีสารออกฤทธิ์สำคัญในกลุ่มของ Phenols ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เช่น  Flavonoid, Alkaloid และ...

อ่านต่อ

ใยอาหาร ยีสต์เบต้ากลูแคน มีประโยชน์

ยีสต์เบต้ากลูแคน (Yeast Beta-Glucan) มีคุณสมบัติเป็นใยอาหาร นอกจากจะช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายแล้ว ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระตุ้นให้เม้ดเลือดขาวเตรียมพร้อมควบบคุมการหลังสาร ไซโตไคน์ ที่ช่วยสื่อสารระหว่าง...

อ่านต่อ