ไขมันพอกตับ ไขมันเกาะตับ

<strong>ไขมันพอกตับ</strong> <strong>ไขมันเกาะตับ</strong> #1

โรคไขมันพอกตับ Fatty Liver Disease หรือไขมันเกาะตับ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติ คือประมาณ 5-10% ของตับ ไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์  ภาวะไขมันพอกตับนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการทำงานของตับผิดปกติ ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด แต่เป็นภัยเงียบที่ไม่อาจรู้ตัวเลยว่าเป็น การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะชิ้นเนื้อตับ Liver biopsy มาตรวจเพื่อดูปริมาณไขมันและการอักเสบรวมถึงระดับผังผืดในตับ

สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
  2. ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ

  • โรคอ้วน ประมาณร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับอยู่ด้วย ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 25-30) ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ผุ้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันดี หรือ HDLต่ำ (ผุ้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น ดื่มชาเขียวที่มีรสหวานแทนน้ำ

แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ

  1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น 0.25-0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ จนกระทั่งน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง แล้วตามด้วยการยกน้ำหนักแบบแรงกระแทกต่ำ
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ 
  4. หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ 

ที่มา : ข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลศิริราช

POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล

พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานแบบน้ำ ไม่ชอบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องเดินทางบ่อยพกพาวชนิดน้ำไปทานไม่สะดวก พาวแคปซูล จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพสมุนไพรในพาวเฮอร์เบิลแคปซูล มี 12 ชนิด ประกอบไปด้วย พลูคาว  เบต้ากูลแค...

ดูรายละเอียด

ความดันโลหิต คอเรสเตอรอล

บทความน่ารู้

อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลง

ระวัง! อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลงอาบน้ำทันทีหลังดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายได้รับกลูโคสไม่พอ เสี่ยงหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมหรือลื่นล้มในห้องน้ำอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย ต้องรอร่างกายหายเหนื่อยก่อน 10-15 นาที ถ้าอาบทันทีอาจเสี่ยงไม่สบาย หรือช็อกได้อาบน้ำท...

อ่านต่อ

พาว การรับประทาน วิธีการเก็บรักษา

การรับประทานพาวมีลูกค้าหลายๆ ทานที่ซื้อพาวไป ได้สอบถามวิธีการรับประทานพาวมาหลายข้อความ วิธีทานพาว วิธีดื่มพาว มีข้อควรระวังอะไรบ้าง มีคำตอบดังนี้ครับ ควรเริ่มดื่มพาว วันละ 15ml. (ประมาณเกือบครึ่งแก้วตวง) หลังอาหาร มื้อใดก็ได้ ในกรณีมียาประจำที่ต้องท...

อ่านต่อ

ซินไบโอติก ดูแลลำไส้

ซินไบโอติก คือโปรไบโอติกสูตรที่ผสานเข้ากับพรีไบโอติก เพื่อเสริมการทำงานในการดูแลลำไส้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรซินไบโอติก ต้องมีส่วนประกอบของทั้งโปรไบโอติกและพรีไบโอติก และควรระวังไม่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของยาถ่าย เพราะจะทำให้การขับถ่ายไม่ปกติ...

อ่านต่อ

หันมาป้องกันโรคเรื้อรัง Ncds อย่างจริงจังกันเถอะ

กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยพบโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ถึงเวลาแล้วไหมที่ต้องหันมาป้องกันโรคอย่างจริงจัง ในกลุ่ม Ncds นี้ยังคงเพิ่มจำนวนผู้ป่วยต่อเนื่องในทุกๆปี กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวา...

อ่านต่อ

บลูสเปียร่า ส่วนผสมสำคัญใน พาวซูการ์คิว

จากการทดลองของคณะวิจัย ม.พะเยา สาหร่ายสไปรูลิน่า จนได้สารสกัดบลูสเปียร่า ส่วนผสมหลักในผลิตภัณฑ์ "พาวซูการ์คิว"   ผลิตภัณฑ์ทางร่วมสำหรับควบคุมดูแลกลุ่มโรคNCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดัน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด จากการวิจัยทดลอง...

อ่านต่อ