ไขมันพอกตับ ไขมันเกาะตับ

<strong>ไขมันพอกตับ</strong> <strong>ไขมันเกาะตับ</strong> #1

โรคไขมันพอกตับ Fatty Liver Disease หรือไขมันเกาะตับ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติ คือประมาณ 5-10% ของตับ ไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์  ภาวะไขมันพอกตับนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการทำงานของตับผิดปกติ ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด แต่เป็นภัยเงียบที่ไม่อาจรู้ตัวเลยว่าเป็น การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะชิ้นเนื้อตับ Liver biopsy มาตรวจเพื่อดูปริมาณไขมันและการอักเสบรวมถึงระดับผังผืดในตับ

สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
  2. ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ

  • โรคอ้วน ประมาณร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับอยู่ด้วย ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 25-30) ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ผุ้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันดี หรือ HDLต่ำ (ผุ้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น ดื่มชาเขียวที่มีรสหวานแทนน้ำ

แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ

  1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น 0.25-0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ จนกระทั่งน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง แล้วตามด้วยการยกน้ำหนักแบบแรงกระแทกต่ำ
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ 
  4. หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ 

ที่มา : ข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลศิริราช

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ความดันโลหิต คอเรสเตอรอล

บทความน่ารู้

อินซูลิน ควรรู้ก่อนใช้ควบคุม เบาหวาน

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้างขึ้นและจำเป็นในการนำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายที่ต้องการพลังงาน แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การสร้างเซลล์ต่างๆ ในร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงจากอาหารไปใช้ให้เป็นพลังงานได้อย่า...

อ่านต่อ

ความสุกของกล้วย

กล้วยดิบเป็นกล้วยที่ยังโตไม่เต็มที่ ผลสีเขียว มีปริมาณแป้งเยอะ น้ำตาลน้อย เนื้อด้านในสีขาว แข็ง ให้รสฝาด ขม จากสารแทนนินที่มีความสามารถในการเคลือบและรักษา กระเพาะและลำไส้ได้ นิยมนำไปบดเป็นผงใช้ชงดื่ม นำไปประกอบอาหาร ย่อยค่อนข้างยาก ใครที่มีแก๊สในกระ...

อ่านต่อ

อาหารสำหรับ ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูงหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อตรวจพบและทราบว่ามีไข...

อ่านต่อ

บลูสเปียร่า สาหร่ายสไปรุลินากับระดับไขมันในเลือด

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำพิธีส่งมอบเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยโครงการ "ผลของการบริโภคสไปรุลิน่าต่อการทำงานของไตและระดับไขมันในเลือด"  โดยมีนักวิจัย คือ ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ...

อ่านต่อ

ประโยชน์ ของ ฟักทอง

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้นฟัก...

อ่านต่อ