ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ความดันโลหิต คอเรสเตอรอล

บทความน่ารู้

วิธีทานฟักทองให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

ฟักทองไม่ได้มีดีแค่เนื้อฟักทองสีเหลืองทองที่มีประโยชน์ เมล็ดฟักทองเองก็ช่วยคลายเครียดได้ดี น้ำมันฟักทองก็ช่วยบำรุงประสาท หรือแม้แต่เปลืองของฟักทองยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลืดให้อยู่ในระดับปกติ ดังนั้นลองทานฟักทองจากหลายๆ ส่วนดู และหากจะหั่นเนื้อฟัก...

อ่านต่อ

หันมาป้องกันโรคเรื้อรัง Ncds อย่างจริงจังกันเถอะ

กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยพบโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ถึงเวลาแล้วไหมที่ต้องหันมาป้องกันโรคอย่างจริงจัง ในกลุ่ม Ncds นี้ยังคงเพิ่มจำนวนผู้ป่วยต่อเนื่องในทุกๆปี กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวา...

อ่านต่อ

เห็ดหลินจือ และสรรพคุณ

เห็ดหลินจือ เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่ส...

อ่านต่อ

น้ำตาลสูง จุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพ

การทำให้น้ำตาลลดไม่ใช่เรื่องที่ยาก หรือเป็นไปไม่ได้ แต่การทำให้ใช้ชีวิตเป็นปกติสุข  นอนหลับง่าย ไม่ตื่นมาฉี่บ่อย ไม่อ่อนเพลีย มีแรง ไม่ถูกเพิ่มยา ไม่ถูกฉีดอินซูลิน และการไม่มีโรคแทรกอื่น สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือจุดประสงค์ของ "พาวซูการ์คิว"พาวซูกา...

อ่านต่อ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการทาน พลูคาว

พลูคาว หรือผักคาวตอง พืชสมุนไพรพื้นถิ่น นอกจากประโยชน์สรรพคุณที่เราทราบกันแล้ว ยังมีข้อห้าม ข้อควรระวังในการรับประทานเช่นเดียวกัน หากรับประทานพลูคาว "มากจนเกินไป" อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ พลูคาวมีฤทธิ์ทำให้หายใจสั้นและถี่ขึ้น อาจทำให้อาเจียน หรือห...

อ่านต่อ