ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ความดันโลหิต คอเรสเตอรอล

บทความน่ารู้

อายุมากขึ้น กินอาหารเท่าเดิม อาจไม่เพียงพอ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่กินอาหารในปริมาณเท่าเดิม อาจไม่เพียงพอต่อร่างกายเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง โดยเฉพาะระบบการย่อยและการดูดซึมสารอาหารอย่างโปรตีน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก ก็มีประสิทธิภ...

อ่านต่อ

สินค้าของพาวมีอะไรบ้าง

สินค้าภายใต้แบรนด์พาว มีอะไรบ้าง?? และแแต่ละตัวมีดีอย่างไร??  เรามีคำตอบ พาวซุยยากุเอสเซ้นส์  พาวน้ำ พี่ใหญ่ของแบรนด์พาว น้ำสมุนไพรสกัดเข้มข้น  โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก พร้อมสมุนไพรอื่นอีก 10 ชนิด รวมสมุนไพร 11 ชนิดใน 1 ขวด นวั...

อ่านต่อ

วิธีปลูกกระชายขาวแบบง่ายๆ

วิธีปลูกกระชายขาวแบบง่ายๆ สมุนไพรพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 หลังจากการศึกษาและงานวิจัยจากหลายแหล่ง รวมไปถึงโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์ความเป็นเลิศด้าน...

อ่านต่อ

พาวซูการ์คิว คุมน้ำตาล ลดไขมัน

POW Zukar Q ผลิตภัณฑ์ทางร่วมเพื่อดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคกลุ่มNCDs  โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เบาหวาน ไขมัน  ความดัน  โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง  โรคตับแข็ง  โรคอ้วนลงพุง  โรคมะเร็งเป็นต้นพาวซูการ์คิว สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลเบ...

อ่านต่อ

เกษตรอินทรีย์ ออแกนนิค บ้านห้วยน้ำกืน

ปัจจุบันเกษตรอินทรีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตระหนักรู้ของผู้บริโภคและผู้ผลิต ต่อวิกฤตโลกที่ต้อง รับผิดชอบร่วมกัน แสวงหาแนวทางการผลิตและการบริโภคอาหารที่มั่นคงอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหา...

อ่านต่อ