ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น แนะนำให้ทาน เพื่อลดน้ำตาลในเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นไขมันและนำไปสะสมไว้ในร่างกาย หากชอบทานอาหารที่มีรสหวานและทานในปริมาณมากบ่อยๆ ก็จะทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินผิดปกติและนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน นอกจากนี้หากระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงและลดอย่างรวดเร็ว จะทำให้รู้สึกหิวง่ายและกินจุกจิก จนนำไปสู่โรคอ้วนได้ง่าย

มารู้จักอาหารที่ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นแนะนำให้ทานบ่อยๆ เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงในเลือดและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ส่งผลในการรักษาระดับการผลิตอินซูลินในร่างกายให้ปกติ

หอมใหญ่

ในหอมใหญ่มีสารที่เรียกว่าไอโซอัลลิอิน (Isoalliin) ซึ่งมีผลในการช่วยการทำงานของอินซูลิน โดยปริมาณที่ควรรับประทานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้นประมาณวันละ ¼ -1/2 หัว ทั้งแบบดิบหรือแบบสุกตามชอบ

อะโวคาโด

ผลอะโวคาโด อุดมไปด้วยไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) ซึ่งช่วยชะลอการไหลของน้ำตาลไปยังหลอดเลือด จึงช่วยป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้อะโวคาโดยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ซึ่งช่วยชะลอการดูดซับน้ำตาลจากอาหารเข้าสู่ร่างกาย

นัตโตะ (ถั่วหมัก)

อุดมไปด้วยเพคติน ซึ่งเป็นเส้นใยชนิดละลายน้ำได้ จะช่วยลดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดหลังการทานอาหาร อีกทั้งนัตโตะยังอุดมไปด้วยกลูโคแมนแนนซึ่งเป็นเส้นใยอาหารที่มีลักษณะเป็นเมือกหนืด ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว การทานนัตโตะเป็นประจำจึงเป็นวิธีการป้องกันโรคเบาหวานของคนญี่ปุ่น

ปลาเนื้อสีน้ำเงิน

จำพวก ปลาซาบะ ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาซันมะ และปลาคัตสึโอะ เป็นต้น อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และวิตามินดี ซึ่งทำงานร่วมกันในการทำให้การหลั่งของอินซูลินเป็นปกติ

ต้นอ่อนบร็อคโคลี่

อุดมไปด้วยสารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ซึ่งช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี  นอกจากต้นอ่อนบร็อคโคลี่แล้ว บร็อคโคลี่ ดอกกะหล่ำดอก กะหล่ำปลี คะน้า และผักกาดขาว ก็มีสารซัลโฟราเฟนเช่นกัน แต่ต้นอ่อนบร็อคโคลี่จะมีสารประกอบชนิดนี้สูงสุด

กระเจี๊ยบเขียว

ในกระเจี๊ยบ มีเส้นใยอาหารเพคตินที่เป็นเมือกเหนียว ซึ่งช่วยในการจับน้ำตาลในร่างกาย ชะลอการเพิ่มสูงของระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร นอกจากนี้กระเจี๊ยบเขียวยังอุดมไปด้วยแมกนีเซียมและสังกะสี ซึ่งช่วยให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น

ข้าวบาร์เล่ย์

อุดมไปด้วยบีต้ากลูแคน ( β-glucan)  ซึ่งเป็นเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำได้และช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ข้าวบาร์เล่ย์ยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มท้องเร็วและทำให้ทานอาหารได้น้อย ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นช้าทางอ้อม

เมื่อชีวิตขาดหวานไม่ได้ เราก็ต้องมีวิธีดูแลเพื่อไม่ให้ความหวานนั้นมาทำลายสุขภาพเรา อาหารธรรมชาติที่ช่วยลดปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดหลังมื้ออาหาร นำไปสู่การลดปริมาณยาที่ต้องทานเพื่อควบคุมน้ำตาล ซึ่งหมายความว่าจะช่วยถนอมร่างกายของจากผลข้างเคียงของยาเคมีได้

ทานอาหารให้เป็นยา ดีกว่าทานยาเป็นอาหาร

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

ค่าน้ำตาลสะสม

ค่าน้ำตาลสะสมของคุณเท่าไร? ถ้าตอบไม่ได้ ถ้าไม่รู้ บอกเลยว่า เบาหวานที่เป็นอยู่ หายยากแน่นอน บทความนี้บอกว่าค่านี้สำคัญยังไงผู้ป่วยเบาหวาน ควรตรวจหาค่าน้ำตาลสะสม ทุกๆ 3เดือนการตรวจหาค่าน้ำตาลสะสม ส่วนใหญ่จะใช้เลือดจากเส้นเลือดที่แขน ซึ่งส่วนใหญ่หมอจะต...

อ่านต่อ

1วิตามิน 4แร่ธาตุ ยิ่งขาด ยิ่งติดหวาน

เมื่อเราติดของหวาน อยากอาหารรสหวาน ขนมไทย เบเกอรี่ รวมทั้งติดแป้ง อยากกินเส้นก๋วยเตี๋ยว พิซซ่า ขนมกรุบกรอบที่ทำจากแป้ง นั่นเป็นเพราะร่างกายขาดสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีน ที่จะไปช่วยทำให้สารสื่อประสาทในสมองแข็งแรงพอ ที่จะไม่อ่อนแออ่อนไหวต่ออารมณ์อยากอาหา...

อ่านต่อ

คุมเบาหวานที่ดี คือคุมให้ดีตลอด

คุณหมอแนะนำวิธี การคุมเบาหวาน การทานอาหาร เพื่อคุมน้ำตาลเบาหวาน ควรทานอย่างไร ทานแบบไหน ที่จะคุมน้ำตาลให้ดีตลอดเป้าหมายของผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน และทานยารักษาอาการอยู่คือ ต้องการลดปริมาณยาที่ทานลง และคุมน้ำตาลได้ดี...

อ่านต่อ

พลูคาว รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

แม้พลูคาวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไปหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจากการรับประทานอาหาร แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือการทดลองใดยืนยันชัดเจนได้ว่าพลูคาวมีประสิทธิผลทางการรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ในมนุษย์...

อ่านต่อ

ข้อแนะนำป้องกัน covid19 ผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหากติดโรคโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเป้าหมาย มักมีโรคแทรกซ้อน...

อ่านต่อ