จะเกิดอะไรขึ้น หากคุมเบาหวานไม่ได้

จะเกิดอะไรขึ้น หากคุม<strong>เบาหวาน</strong>ไม่ได้ #1

เบาหวาน เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาให้ให้ขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้ ซึ่งทำได้โดย

  • ไปพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังอาการ
  • ดูแลและควบคุมอาการด้วยตนเอง ทั้งการกินอาหาร ออกกำลังกาย การกินยา รวมถึงการฉีดอินซูลิน(สำหรับผู้ป่วยบางราย)

สามารถแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ได้ 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 : เป็นเบาหวาน แต่ไม่รู้ตัวว่าเป็น จึงไม่ได้รับการรักษา พบมากในคนที่มีอายุน้อย เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และอีกกลุ่มที่สำคัญ คือ ผู้ชายที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป

กลุ่มที่ 2 : รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน ได้รับการรักษาแล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาจสืบเนื่องมาจาก ผู้หญิงมีสัดส่วนที่เข้ารับการตรวจเบาหวานมากกว่าผู้ชาย แต่ปัญหาสำคัญคือ ยังควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะคนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ทั้งหญิงและชาย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

หากไม่มีการควบคุมเรื่องการกินอาหาร และการดูแลรักษาสุขภาพ อย่างถูกต้อง ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือด สูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือด ที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกาย จนนำไปสู่โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น

  1. โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต
  2. โรคแทรกซ้อน ชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
  3. โรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาท สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนได้ นอกจากนี้ สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ และการแท้งบุตรเพิ่มขึ้น

จะเกิดอะไรขึ้น หากคุม<strong>เบาหวาน</strong>ไม่ได้ #2

ฉะนั้น การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ต้น ร่วมกับการดูแลและจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลด เพื่อตัดวงจรของเบาหวาน ก่อนที่จะลุกลามไปสู่โรคอื่น


ที่มาของบทความ :goodfactory และ gedgoodlife


POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

เบาหวาน ในช่วงโควิด 19

แนะวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในช่วงระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่เชื้อไวรัส โควิด-19 ยังไม่หมดไป ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงก...

อ่านต่อ

9 อาการ เตือน โรคเบาหวาน

กว่าจะรู้ตัว ก็เป็นเบาหวานเสียแล้ว สังเกตตัวเองว่าเข้าข่ายไปแล้วกี่ข้อ 9 อาการเตือน โรคเบาหวาน ดังนี้ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ คอแห้งกระหายน้ำ หิวบ่อยกินจุกว่าเดิม ผิวหนังแห้งและคัน เป็นแผลแต่หายช้ากว่าปกติ อ่อนเพลียไม่มีแรง มีอาการตาพล่ามัวมองไม่ชัดเป็นช่...

อ่านต่อ

เป้าหมายหลักของการดูแลเบาหวาน

เป้าหมายของการดูแลเบาหวาน คือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีสำหรับคนที่เป็นเบาหวานต้องควบคุมให้ได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารตอนเช้าควรอยู่ประมาณ 90-110มก./ดล. ส่วนหลังอาหารต่ำกว่า 180มก....

อ่านต่อ

ตาพร่า ตามัว จากเบาหวาน

ตากับเบาหวานเกี่ยวกันได้อย่างไร  เมื่อเป็นเบาหวานมานานและมีน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดจะไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดต่างๆ ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเริ่มเสื่อม หลอดเลือดฝอกที่ตาก็เสื่อมได้เช่นกัน เมื่อหลอดเลือดฝอยที่ตาเสื่อม ตาพร่า ตามัว มองเห็นไม่ค่อยช...

อ่านต่อ

บลูสเปียร่า ส่วนผสมสำคัญใน พาวซูการ์คิว

จากการทดลองของคณะวิจัย ม.พะเยา สาหร่ายสไปรูลิน่า จนได้สารสกัดบลูสเปียร่า ส่วนผสมหลักในผลิตภัณฑ์ "พาวซูการ์คิว"   ผลิตภัณฑ์ทางร่วมสำหรับควบคุมดูแลกลุ่มโรคNCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดัน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด จากการวิจัยทดลอง...

อ่านต่อ