ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

โพรไบโอติก ช่วยให้ คุณไม่ป่วย

ดร.ไช่อิงเจี๋ย ศาสตราจารย์ สถาบันวิจัยชีวเคมีและอณูชีววิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติหยังหมิง ไต้หวัน อธิบายถึงความสำคัญของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ ว่า ลำไส้เป็นอวัยวะสร้างภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุด ร่างกายคนเรามีเซลล์ภูมิคุ้มกันราวร้อยละ 70 กระจายอยู่ในลำไส้ ช...

อ่านต่อ

ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น แนะนำให้ทาน เพื่อลดน้ำตาลในเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นไขมันและนำไปสะสมไว้ในร่างกาย หากชอบทานอาหารที่มีรสหวานและทานในปริมาณมากบ่อยๆ ก็จะทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินผิดปกติและนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน นอกจากนี้หากระด...

อ่านต่อ

รู้ทันโรคเบาหวาน

เบาหวาน เป็นโรคยอดฮิตที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก อัตราตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอาจจะเข้าใจผิดว่าสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน คือการกินหวาน หรือกินน้ำตาลเพียงอย่างเดียวแต่อันที่จริงแล้ว สาเหตุของโร...

อ่านต่อ

สมุนไพร ทางเลือกในการรักษาเบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการของโรคได้  ในการรักษาโรคเบาหวาน สิ่งสำคัญคือการคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการคุมอาหาร ออกกำลังการเป็นประจำ รู้จักเรียนรู้ผ่อนคลายความเครียด&n...

อ่านต่อ

อาหารที่ไม่หวาน แต่ เสี่ยงเบาหวาน

หลายคนอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทานหวานมากๆ เสี่ยงต่อการเป็น "โรคเบาหวาน" แต่เชื่อหรือไม่ว่า ไม่เพียงแต่น้ำตาล และอาหารรสหวานจัดเท่านั้นที่จะทำให้เราเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน เพราะยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่หากทานในปริมาณที่มากเกินไป ก็เสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้...

อ่านต่อ