ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดามีคุณประโยชน์มากมาย แต่สรรพคุณที่เด่นชัดก็คือ การถูกเรียกว่าเป็นผู้ฆ่าน้ำตาล ทั้งนี้รากศัพท์จากชื่อวิทยาศาสตร์ของผักเชียงดา คือ จิมนีมา (GYMNEMA) มาจากคำที่มีรากศัพท์ของภาษาฮินดูในประเทศอินเดียว่า เกอร์มาร์ (GURMAR) ซึ่งแปลตรงตัวว่าผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ของทางเดินอาหารในคน และ สัตว์ได้

เมื่อเคี้ยวผักเชียงดาแล้วลองรับประทานน้ำตาลทรายตามเข้าไปจะทำให้ไม่สามารถรับรู้รสหวานได้ และอีกประการหนึ่งคือ ผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ของทางเดินอาหารในคน และ สัตว์ได้ โดยพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์นี้คือ จิมนีมิคแอซิด (GYMNEMIC ACID) ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่สกัดได้จากใบและรากของผักเชียงดา โดยลักษณะโครงสร้างทางเคมีของ จิมนีมิคแอซิด มีการจัดเรียงตัวของอะตอมในโมเลกุลคล้ายกับโมเลกุลของน้ำตาล ดังนั้นเมื่อมีการรับประทานผักเชียงดาเข้าไปแล้ว โมเลกุลของ จิมนีมิคแอซิด จะเข้าไปจับกับตัวรับของปุ่มรับรสหวานในปาก โดยใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง จึงไปขัดขวางการทำงานของปุ่มรับรสหวานจากการกระตุ้นโดยโมเลกุลของน้ำตาลที่อยู่ในอาหาร ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหลังจากรับประทานผักเชียงดาแล้วตามด้วยอาหารที่มีรสหวานถึงไม่รับรู้ถึงความหวานของอาหารนั้นได้

นอกจากการยับยั้งการทำงานของตัวรับของปุ่มรับรสในปากแล้ว ในส่วนของลำไส้เล็กก็จะพบโครงสร้างที่คล้ายกันกับตัวรับที่พบในปากตรงบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกที่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในผนังของลำไส้เล็ก ดังนั้นด้วยกลไกการยับยั้งที่คล้ายกันจึงทำให้สามารถยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็กได้ ดังนั้นจึงได้มีการนำผักเชียงดามาทำเป็นสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลที่มากเกินความต้องการของร่างกาย

นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยที่ยืนยันว่าผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหารได้โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างของคนที่รับประทานแคปซูลของผักเชียงดาเข้าไปหลังจากรับประทานกลูโคสทันทีหรือหลังจากรับประทานกลูโคสเป็นเวลา 15 นาที จะพบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคของแคปซูลเป็นสองเท่าพบว่าปริมาณของกลูโคสลดลงมากกว่ากรณีแรก รวมทั้งยังได้มีการศึกษาผลของแคปซูลจากผักเชียงดาต่อความเป็นพิษต่อตับซึ่งก็พบว่าผักเชียงดาไม่มีพิษต่อตับ

Lu7 แอลยูเซเว่น

หากคุณมีน้ำตาลในเลือดสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ให้ลองสังเกตว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้แล้วหรือไม่แอลยูเซเว่น คืออะไร??แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย และเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บ...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

น้ำตาลสะสม และ น้ำตาลรายวัน

น้ำตาลลดไม่ได้หมายความว่าเบาหวานดีขึ้นเสมอไป ถ้ายังไม่ได้ตรวจน้ำตาลสะสม (HbA1C) ซึ่งไม่ควรเกิน 5.6ค่าน้ำตาลในเลือดรายวันอยู่ระหว่าง 70 – 99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าเป็นค่าน้ำตาลตามเกณฑ์ปกติอยุ่ระหว่าง 100 – 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าเป็นกลุ่ม...

อ่านต่อ

จะเกิดอะไรขึ้น หากคุมเบาหวานไม่ได้

เบาหวาน เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาให้ให้ขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้ ซึ่งทำได้โดยไปพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังอาการดูแลและควบคุมอาการด้วยตนเอง ทั้งการกินอาหาร ออกกำลังกาย การกินยา รวมถึงการฉีดอินซูลิน(สำหรับผู้ป่วยบางราย)สามารถแบ่งกลุ่มผู...

อ่านต่อ

ดื่มน้ำ เท่าไหร่ ส่งผลอย่างไร

ถ้าไม่ได้ดื่มน้ำเลยปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ปัสสาวะน้อยมาก-ไม่ปัสสาวะเลย, ปากแห้ง, มีอาการแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ, ได้กลิ่นปัสสาวะรุนแรง, ปัสสาวะที่ออกมามีอุณหภูมิสูง ต้องรีบดื่มน้ำเร่งด่วนถ้าดื่มน้ำ 250มิลลิลิตรปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ยังขาดน้ำเป็นจำนวนมาก อา...

อ่านต่อ

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

การป้องกันทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ภาวะเบาหวานขึ้นตา และป้องกันอาการที่อาจรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปฏิบัติได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้จัดการกับเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่นเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม ห...

อ่านต่อ

ลำไส้ดี ชีวิตยืนยาว

สุขภาพยังดีอยู่ไหม ให้ดูลึกถึงลำไส้ เพราะ 70% ของภูมิคุ้มกันอยู่ในนั้น หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ลำไส้ไม่ได้เป็นเพียงอวัยวะย่อยอาหาร แต่ยังเป็นบ้านของภูมิคุ้มกันหลังใหญ่ที่สุด หากสมดุลของลำไส้สะดุด จุลินทรีย์ดีในลำไส้ก็จะลดน้อยลง ส่งให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ...

อ่านต่อ