ทำไม เบาหวานต้อง คุมน้ำตาล
การควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นในผู้เป็นเบาหวานทุกคน เพราะว่าสามารถลดการเกิดและ/หรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงเล็ก ที่ทำให้เกิดโรคจอตาผิดปกติจากเบาหวาน โรคไตจากเบาหวาน โรคของระบบประสาทจากเบาหวาน ที่พบได้ทั้งในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ส่วนภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงใหญ่ พบว่าการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีในผู้เป็นเบาหวาน สามารถลดการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และ ลดการตายจากทุกสาเหตุของผู้เป็นเบาหวานได้
ตัวชี้วัดที่บอกถึงการควบคุมน้ำตาลในเลือดคือ ค่า A1C (เอวันซี) ซึ่งถึงจะบอกการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดย้อนหลังไปเป็นเวลา 2-3 เดือน โดยทั่วไปค่าเอวันซีที่เหมาะสมในผู้เป็นเบาหวานคือ มีค่าน้อยกว่า 7% ค่าเอวันซีอาจจะสูงหรือต่ำกว่านี้ได้ โดยที่แพทย์ผู้รักษาจะปรับให้เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวานแต่ละรายไป
การควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดี ในผู้เป็นเบาหวาน สามารถลดการเกิดโรคต่างๆ และ ลดการเสียชีวิต จากทุกสาเหตุของผู้เป็นเบาหวานได้
ตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วเองที่บ้าน(SMBG) ช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานได้ดี ควรตรวจบ่อยเพียงไร ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ดี ควรตรวจทุก 2-3 วัน ถ้าควบคุมได้ดีแล้ว อาจตรวจทุก 1-2 สัปดาห์ ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจทุกวัน และเกณฑ์ของค่าน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม คือ ระดับน้ำตาลในเลือดเวลาเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนควรมีค่า 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารควรมีค่าต่ำกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
การป้องกันและ/หรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวในผู้เป็นเบาหวานนั้น อาศัยทั้งการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดี การควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท การควบคุมไขมันไม่ดี(แอลดีแอล, LDL) ในผู้เป็นเบาหวานทั่วไปให้มีค่าต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และในผู้เป็นเบาหวานที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ/โรคหลอดเลือดสมองมีค่าต่ำกว่า70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร การควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 คือระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ควบคุมความดันโลหิตให้ดี สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวในผู้เป็นเบาหวานได้
Credit : พล.ต.หญิง ศ.คลินิก อัมพา สุทธิจำรูญ
POW Zukar Q พาวซูการ์คิว
กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคห...
ดูรายละเอียดเบาหวาน
วิธีทานฟักทองให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
ฟักทองไม่ได้มีดีแค่เนื้อฟักทองสีเหลืองทองที่มีประโยชน์ เมล็ดฟักทองเองก็ช่วยคลายเครียดได้ดี น้ำมันฟักทองก็ช่วยบำรุงประสาท หรือแม้แต่เปลืองของฟักทองยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลืดให้อยู่ในระดับปกติ ดังนั้นลองทานฟักทองจากหลายๆ ส่วนดู และหากจะหั่นเนื้อฟัก...
อ่านต่อข้อแนะนำป้องกัน covid19 ผู้ป่วยเบาหวาน
โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหากติดโรคโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเป้าหมาย มักมีโรคแทรกซ้อน...
อ่านต่อความเครียด ลำไส้ สัมพันธ์กัน
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเวลาเครียดมากๆ เราถึงรู้สึกปวดท้อง กระอักกระอ่วน อาการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับลำไส้อย่างไร และ มีวิธีแก้อย่างไรได้บ้าง ลำไส้นั้นก็เหมือนสมองอันที่สองของร่ายกาย เพราะลำไส้มีสาร Serotonin (เซโรโทนิน) คือสารที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก...
อ่านต่อพลูคาว พาว
อยู่ท่ามกลางกลุ่มเสี่ยง แต่ก็รอดมาทุกซีซั่น เพราะการดูแลร่างกาย การทานพืชผักสมุนไพร โดยเฉพาะพลูคาว ที่ช่วยบำรุงเลือดและน้ำเหลือง และมีผิวสดใส พลูคาว เป็นสมุนไพรที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเช่น จีน และเกาหลี ได้มีการวิจัยและนำมาใช้ประโยชน์ ทุกที่กำลังมอง...
อ่านต่ออายุ72ปี แต่ผิวพรรณผ่องใสกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน
อายุ 72 ปี ทานพาวน้ำมาเกือบ 4 ปี สิ่งที่ได้รับคือ ระบบขับถ่ายดีขึ้น ระบบเลือดน้ำเหลือง และผิวพรรณสดใสขึ้น ...
อ่านต่อ