แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ

<strong>แผลเบาหวาน</strong>ที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ #1

แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ? (Diabetic Foot)

ช่วงหน้าฝนอาจทำให้เกิดน้ำขัง น้ำท่วมในหลายพื้นที่ และการเดินลุยน้ำ หรือลุยโคลนในบริเวณน้ำท่วมขัง เสี่ยงต่อการเกิดน้ำกัดเท้าหรืออาจเกิดบาดแผลที่เท้าได้ โดยเฉพาะผู้เป็น แผลเบาหวานที่เท้า ซึ่งหากเท้าเป็นถูกน้ำ อาจทำให้แผลหายช้า และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกทำลายระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งส่งผลเกิดอาการดังนี้

ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียหาย เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่เท้าจะไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกจึงมักเกิดบาดแผลที่เท้าโดยไม่รู้ตัวได้ง่าย

ระบบประสาทสั่งการกล้ามเนื้อในเท้าเสียหาย ทำให้เท้าผิดรูป เมื่อเกิดจุดกดทับที่บริเวณฝ่าเท้าเนื่องจากมีการยืนและเดินลงน้ำหนักเกินในบางตำแหน่งมากเกินไป ทำให้เกิดหนังด้านแข็ง ซึ่งเป็นสาเหตุของแผลได้

ระบบประสาทออโตโนมิกเสียหาย ทำให้ผิวหนังแห้งเป็นแผลง่าย

หากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงขาและเท้ามีปัญหาจะทำให้ขบวนการรักษาแผลของร่างกายเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้หากมีการติดเชื้อรุนแรงร่วมด้วย อาจต้องถูกตัดเท้าหรือขา ซึ่งผู้เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการถูกตัดขามากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 25 เท่า โดยร้อยละ 70 ของที่ผู้เป็นเบาหวานที่มีประวัติเป็นแผลมาก่อน มีโอกาสเกิดแผลซ้ำใน 5 ปี

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผล

การเกิดแผลที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานสัมพันธ์กับโรคปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวานและโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตันและยังมีปัจจัยอื่นๆได้แก่

•เพศชายมักเป็นมากกว่าเพศหญิง

•มีอายุมาก

•สูบบุหรี่

•ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

•มีประวัติการตัดนิ้วเท้าหรือขา

•เท้าผิดรูปมีหนังด้านแข็งที่ฝ่าเท้า

•มีประวัติแผลที่เท้ามาก่อนหรือมีการเกิดแผลงซ้ำในช่วงระยะเวลา 2-5 ปี

•จอประสาทตาผิดปกติจากโรคเบาหวาน

•มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากโรคเบาหวาน

<strong>แผลเบาหวาน</strong>ที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ #2

การดูแลรักษาเท้าอย่างถูกวิธี

1.สำรวจเท้าและความสะอาดเท้าทุกวัน หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

2.ทาโลชั่นทุกวันทันที ภายหลังจากการทำความสะอาด

3.การดูแลเล็บ การตัดเล็บเท้าควรทำด้วยความระมัดระวังและตัดอย่างถูกวิธี

4.ถ้ามีผิวหนังที่หนา หากพัฒนาจนแข็งเป็นก้อนควรได้รับการตัดให้บางทุกๆ 4 – 8 สัปดาห์ โดยผู้ชำนาญ

5.เลือกใช้รองเท้าที่ถูกสุขลักษณะที่ขนาดพอดีไม่คับหรือหลวมจนเกินไป

6.สวมถุงเท้าเพื่อคงความชุ่มชื่นและสามารถลดการเสียดสีได้

7.กรณีเกิดบาดแผลต้องรีบพบแพทย์และรักษาโดยเร็ว

POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล

พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานแบบน้ำ ไม่ชอบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องเดินทางบ่อยพกพาวชนิดน้ำไปทานไม่สะดวก พาวแคปซูล จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพสมุนไพรในพาวเฮอร์เบิลแคปซูล มี 12 ชนิด ประกอบไปด้วย พลูคาว  เบต้ากูลแค...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

ซินไบโอติก ดูแลลำไส้

ซินไบโอติก คือโปรไบโอติกสูตรที่ผสานเข้ากับพรีไบโอติก เพื่อเสริมการทำงานในการดูแลลำไส้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรซินไบโอติก ต้องมีส่วนประกอบของทั้งโปรไบโอติกและพรีไบโอติก และควรระวังไม่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของยาถ่าย เพราะจะทำให้การขับถ่ายไม่ปกติ...

อ่านต่อ

วิธีการ เลิกเสพติดน้ำตาล

กาแฟ ถ้าชอบใส่น้ำตาลจำนวนมากลงในกาแฟ หรือชา คุณสามารถใช้สิ่งนี้เป็นโอกาสในการเริ่ม ลดน้ำตาล ให้น้อยลง คุณใช้น้ำตาลกี่ช้อน? ลบหนึ่ง กาแฟจะมีรสชาติไม่หวานจัด และควรดื่มแบบนี้ต่อไปเป็นเวลาสองถึงสามสัปดาห์ หรือ จนกว่าคุณจะชิน เมื่อคุณคุ้นเคยกับระดับความห...

อ่านต่อ

ตรวจเจอเบาหวาน ทำไงดี

ก่อนอื่นไม่ต้องตกใจ เพราะมีคนเป็นโรคนี้หลายล้านคนทั่วโลก แค่เฉพาะที่ไทยก็มีถึง 5 ล้านคน เฉพาะที่ตรวจเจอ และยังมีที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นอีกเท่าไหร่ โรคนี้เป็นแล้วไม่ได้ตายในทันที เบาหวานเปรียบเหมือนสนิม ซึ่งยังให้โอกาสเราได้แก้ไขได้ แต่ก่อนอื่นคุณต้องยอมร...

อ่านต่อ

ความเชื่อผิดๆ โรคเบาหวาน

ความเชื่อ: รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงทำให้เป็นเบาหวานความจริง: โรคเบาหวานมี 2 ชนิดคือ เบาหวานประเภทที่ 1 (Diabetes Type1) เกิดจากสาเหตุพันธุกรรมและยังไม่ทราบปัจจัยแน่ชัดทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Diabetes Type2) เกิดจ...

อ่านต่อ

เบาหวาน ขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตา เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่จอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตัน เลือดไม่ไหลเวียนได้ตามปกติ ในช่วงแรกอาจไม่พบอาการหรืออาจมองเห็นผิดปกติเพียงเล็กน้อย แต่หากมีอาการรุนแรง แล้วปล่อยไ...

อ่านต่อ