สรรพคุณ ประโยชน์ ของ พลูคาวตอง

พลูคาวตอง หรือ พลูคาวเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ไข้หวัด ภูมิแพ้อากาศ โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ หอบหืด พลูคาวมีสารออกฤทธิ์สำคัญในกลุ่มของ Phenols ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เช่น  Flavonoid, Alkaloid และ Quercetin ซึ่งเชื่อว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ต่างๆภายในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย และต้านการอักเสบได้ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยต่อต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านเชื้อไวรัส

[[pic2]]

ปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยที่พิสูจน์ความเชื่อเกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของพลูคาวไว้ ดังต่อไปนี้

ยับยั้งเซลล์มะเร็ง มีงานวิจัยมากมายทดลองใช้สารสกัดพลูคาวทดลองกับเซลล์มะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นเซลล์มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว งานวิจัยเหล่านี้ต่างยืนยันว่า สารสกัดพลูคาวยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และทำลายเซลล์มะเร็งได้จริง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเหล่านี้เป็นเพียงเป็นการทำในหลอดทดลองเท่านั้น จึงไม่สามารถยืนยันสมมติฐานนี้ได้อย่างชัดเจนและยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการใช้สารสกัดจากพลูคาวจะปลอดภัยต่อร่างกายหรือไม่ จึงควรศึกษาทดลองในมนุษย์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แน่ชัดต่อไป

ต้านการอักเสบ เพราะพลูคาวมีสารต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และอาจช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ในร่างกาย  มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเผยว่า น้ำมันหอมระเหยจากพลูคาวมีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายกับยาต้านอักเสบกลุ่ม NSAIDs ดังนั้น พลูคาวจึงอาจมีประสิทธิผลต้านการอักเสบได้ ส่วนงานวิจัยที่ทดลองประสิทธิภาพของพลูคาวในตัวอย่างเซลล์มนุษย์ พบว่าสารสกัดจากพลูคาวอาจช่วยยับยั้งการอักเสบของเซลล์ผิวหนังได้ ในขณะที่อีกหนึ่งงานวิจัยซึ่งฉีดสารสกัดจากพลูคาวในหนูทดลองเพื่อดูประสิทธิภาพทางการรักษาอาการอักเสบ พบว่าพลูคาวอาจช่วยยับยั้งภาวะหูอักเสบบวมน้ำได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเหล่านี้เป็นเพียงการทดลองในตัวอย่างเซลล์หรือสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการเท่านั้น จึงควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันสมมติฐานว่าพลูคาวสามารถต้านการอักเสบในมนุษย์ได้จริง แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับใช้เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไปในอนาคต

รักษาโรคเบาหวาน พลูคาวเป็นผักที่ไม่มีน้ำตาล และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลายชนิด จึงเชื่อว่าการบริโภคพลูคาวอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและรักษาโรคเบาหวานได้ มีงานวิจัยหนึ่ง ให้หนูทดลองที่เป็นโรคเบาหวานรับน้ำมันระเหยจากพลูคาว หลังการทดลองพบว่าน้ำมันระเหยจากพลูคาวอาจช่วยปรับระดับกลูโคส อินซูลิน และฮอร์โมนอดิโพเนคทิน ซึ่งอาจช่วยให้ร่างกายลดภาวะดื้อต่ออินซูลินลงได้ ให้หนูทดลองที่เป็นโรคเบาหวานรับน้ำมันระเหยจากพลูคาว หลังการทดลองพบว่าน้ำมันระเหยจากพลูคาวอาจช่วยปรับระดับกลูโคส อินซูลิน และฮอร์โมนอดิโพเนคทิน ซึ่งอาจช่วยให้ร่างกายลดภาวะดื้อต่ออินซูลินลงได้

POW พาว น้ำสมุนไพรพลูคาว ขนาด 750 ml พาวเอสเซ้นส์

พาวซุยยากุเอสเซนส์ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น พาวซุยยากุเอสเซนส์ หรือพาวน้ำ  ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ประกอบด้วยพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรอื่น 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจี...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

พาว การรับประทาน วิธีการเก็บรักษา

การรับประทานพาวมีลูกค้าหลายๆ ทานที่ซื้อพาวไป ได้สอบถามวิธีการรับประทานพาวมาหลายข้อความ วิธีทานพาว วิธีดื่มพาว มีข้อควรระวังอะไรบ้าง มีคำตอบดังนี้ครับ ควรเริ่มดื่มพาว วันละ 15ml. (ประมาณเกือบครึ่งแก้วตวง) หลังอาหาร มื้อใดก็ได้ ในกรณีมียาประจำที่ต้องท...

อ่านต่อ

คำชื่นชม จากลูกค้า พาว ขอบคุณมากครับ

ทุกๆ ก้าวของ พาว เราจะพบรอยยิ้มของเกษตรกรชาวไทย อยู่ร่วมทางไปกับเราเสมอ พบเสียงยินดีของกลุ่มอาจารย์นักวิจัย ที่เห็นผลงานได้นำออกไปช่วยผู้คนได้จริง ๆ พบคำชื่นชม จากลูกค้า ที่เห็นความตั้งใจ และจริงใจ ของเรา ในทุกๆ ผลิตภัณฑ์ และ การสื่อสารข้อมูลที่ม...

อ่านต่อ

ลำไส้ดี ชีวิตยืนยาว

สุขภาพยังดีอยู่ไหม ให้ดูลึกถึงลำไส้ เพราะ 70% ของภูมิคุ้มกันอยู่ในนั้น หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ลำไส้ไม่ได้เป็นเพียงอวัยวะย่อยอาหาร แต่ยังเป็นบ้านของภูมิคุ้มกันหลังใหญ่ที่สุด หากสมดุลของลำไส้สะดุด จุลินทรีย์ดีในลำไส้ก็จะลดน้อยลง ส่งให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ...

อ่านต่อ

แนวโน้ม จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน

คนไทยป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมากขึ้น แนวโน้มเพิ่มจำนวน-รุนแรงขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาลเพียง 40% ตายจากเบาหวาน-ภาวะแทรกซ้อน 21.96% สูญเสียค่าใช้จ่ายรักษาเบาหวานและ3โรคร่วม ปีละถึง 3 แสนล้านบาทนพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย...

อ่านต่อ

ทำความรู้จัก ใบพลูคาว

พลูคาว เป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือและอีสานของไทย และยังพบในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย เรื่อยมาจนถึงจีน เวียดนาม ลาว เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อยและสภาพอากาศเย็น โดยจะมี...

อ่านต่อ