โรคฉวยโอกาส มาเยือนเมื่อภูมิต่ำ

หลายคนอาจจะไม่เป็นกังวล เพราะไม่รู้ว่าเมื่อภูมิคุ้มกันลดน้อยลง จะเกิดอะไรขึ้น อายุที่เพิ่มมากขึ้น ความเครียดจากการทำงาน การนอนไม่หลับพักผ่อนน้อย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนเสื่อมโทรมลงได้ แล้วรู้หรือไม่ว่าการปล่อยให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็เหมือนการเปิดประตูป้อมปราการให้ “โรคฉวยโอกาส” เข้ามาโจมตีร่างกายของเราได้ง่ายๆ ทางที่ดีคือป้องกันไว้ก่อนด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง จะได้สบายใจห่างไกลโรค

ปอดบวมเป็นโรคน่ากลัวที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศเข้าไปและการติดเชื้อจากเชื้อรา ซึ่งส่วนใหญ่การติดโรคในลักษณะนี้มักจะเกิดกับคนที่ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ โดยอาการแรกเริ่มจะมีน้ำมูกใสๆ ตัวร้อน มีไข้ เหมือนหวัดทั่วไป แต่ที่ต่างจากหวัดคือจะมีการไอแห้งๆ หายใจไม่ค่อยสะดวก มีเสมหะ รับประทานอาหารน้อยลงกว่าปกติ

งูสวัดเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใส ซึ่งเมื่อเป็นอีสุกอีใสแล้วเชื้อไวรัสตัวนี้จะแอบซ่อนอยู่ในปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันย่ำแย่ จึงจะเผยตัวออกมาด้วยอาการแรกเริ่มจากการปวดหัว มีไข้ ปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนัง จากนั้นจะเป็นผื่นสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำเรียงยาวตามแนวของเส้นประสาท ก่อนจะแตกและตกสะเก็ด ใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะหาย ความน่ากลัวคือเชื้อไวรัสงูสวัดโจมตีที่เส้นประสาท จึงอาจส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจ ปอด และไตได้

คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจไม่ออก ผื่นคันขึ้นทั้งตัว ท้องเสียบ่อย ร่างกายบวมน้ำ ปวดหัวไมเกรน อาการภูมิแพ้ทั้งหนักและเบาเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุแรกเริ่มมาจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้าน จนสร้างสารแอนติบอดี้มาจับสารต่างๆ อย่างเกสรดอกไม้ ฝุ่น ฯลฯ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีลูกโซ่นำไปสู่อาการผิดปกติหรืออาการภูมิแพ้

ไข้หวัด บางคนอาจจะคิดว่าหวัดไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่หากภูมิต่ำอ่อนแอแล้วละก็ นอกจากไอจามยังจะมีไข้ตัวร้อน สร้างความไม่สบายเนื้อตัว และทำให้ต้องเว้นระยะห่างจากคนอื่น เพราะอาจจะกลายเป็นแพร่เชื้อเอาได้

เริม เป็นอีกหนึ่งเชื้อไวรัสที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแอบซ่อนอยู่ในปมประสาท เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะกลับมาเป็นซ้ำ โดยคน 80-90% เคยได้รับเชื้อไวรัสเริมเข้าสู่ร่างกายแล้วแบบไม่รู้ตัว เพราะหากภูมิคุ้มกันยังแข็งแรงดีอยู่ ไวรัสตัวนี้จะไม่ได้แสดงอาการของโรค แต่เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายเริ่มอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดต่ำ ตุ่มใสๆ ที่มาพร้อมอาการปวดแสบปวดร้อนจะโผล่มาให้เห็นทันที 

อยากชนะไวรัสตัวร้าย ต้านได้ด้วยการมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้ ถ้าเชื้อมามากภูมิต้านทานน้อยเราก็สู้ไม่ได้ ถ้าเชื้อมาน้อยและภูมิต้านทานเรามาก เราก็สู้ชนะ

ชาขาว ชาขาวเข็มเงิน ห้วยน้ำกืน เวียงป่าเป้า เชียงราย

Baihao Yinzhen ไป๋หาวหยินเจิน ชาขาวเข็มเงิน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Silver Needle ด้วยลักษณะเหมือนเข็ม มีขนสีขาวประกายเงินปกคลุม จึงเรียกว่าเข็มเงิน ชาขาวเข็มเงิน ตราบ้านชาไทย ปลูกบนยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากไร่ชาบ้านห้วยน้ำก...

ดูรายละเอียด

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

บทความน่ารู้

สมุนไพร ต้านเบาหวาน

นอกจากการรักษาโรคเบาหวานตามวิธีทางการแพทย์และธรรมชาติบำบัดแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่ง คือ การรับประทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณป้องกัน และรักษาอาการของโรคเบาหวานให้ทุเลาลงได้ บทความนี้ จะกล่าวถึงสมุนไพรแก้เบาหวาน 5 ชนิดมะระขี้นกมะระขี้นก เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้...

อ่านต่อ

พลูคาว สรรพคุณ และประโยชน์

พลูคาว ( Plu Kaow ) เป็น พืชสมุนไพรพื้นบ้านมีประโยชน์ สรรพคุณ ทางยามายาวนาน ทั้งใช้เป็นอาหารสมุนไพร เนื่องจากต้นและใบจะมีกลิ่นแรง ซึ่งนิยมนำใบมาเป็นผักเคียงใช้บริโภคสดกับอาหารประเภทลาบ น้ำพริก มีการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับพลูคาว และมีรายงาน...

อ่านต่อ

พลูคาว รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

แม้พลูคาวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไปหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจากการรับประทานอาหาร แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือการทดลองใดยืนยันชัดเจนได้ว่าพลูคาวมีประสิทธิผลทางการรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ในมนุษย์...

อ่านต่อ

พาวซูการ์คิว และ พาวแคปซูล

พาวแบบเม็ด มี 2 ชนิด  คือ พาวแคปซูล และ พาวซูการ์คิว ซึ่งทั้ง 2 ชนิด มีความต่างกันคือพาวซูการ์คิว Zukar Q สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพน้ำตาล ไขมันคอเลสตอลรอล ไขมันเลว และความดัน มีงานวิจัยบลูสเปียร่าจากม.พะเยา พาวแคปซูล มีส่วนผสมของพลูคาว และสมุน...

อ่านต่อ

ตาพร่า ตามัว จากเบาหวาน

ตากับเบาหวานเกี่ยวกันได้อย่างไร  เมื่อเป็นเบาหวานมานานและมีน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดจะไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดต่างๆ ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเริ่มเสื่อม หลอดเลือดฝอกที่ตาก็เสื่อมได้เช่นกัน เมื่อหลอดเลือดฝอยที่ตาเสื่อม ตาพร่า ตามัว มองเห็นไม่ค่อยช...

อ่านต่อ