พืชผักสมุนไพรป้องกันโรค COVID 19
พืชผักสมุนไพรที่มีศักยภาพใช้เป็นอาหารป้องกันโรค COVID-19 จากสถานการณ์การระบาดใหญ่ (pandemic) ของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ใน หลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้ การดูแลสุขภาพและการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วยการรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ เช่น พืชผักสมุนไพรและผลไม้ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือที่อุดมไปด้วยวิตามินซีหรือสาร ต้านอนุมูลอิสระ หรือมีสารสำคัญที่มีศักยภาพในการลดการติดเชื้อไวรัสได้ จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ แข็งแรงขึ้น ลดโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจจากโรค COVID-19 หรือหากติดเชื้อก็อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะมี อาการรุนแรงได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้บริโภคแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาของระบบบริการ สาธารณสุขของประเทศโดยลดจำนวนผู้ป่วยหนักไม่ให้เกินจำนวนที่โรงพยาบาลจะรับได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบใน บางประเทศในยุโรปขณะนี้ พืชผักผลไม้และสมุนไพรที่แนะนำให้บริโภคในช่วงนี้ ได้แก่
อาหาร/สมุนไพรไทย ที่มีสารสำคัญ ช่วยลดโอกาส ติดเชื้อไวรัส COVID-19
พลูคาว (ผักคาวตอง) มีสารสำคัญ คือ quercetin, quercitrin, rutin และ cinanserin ที่ มีผลการศึกษา ว่ามีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อ SAR และเชื้อโคโรน่าที่ก่อโรค COVID-19 ได้ โดยการจับกับ M protein ของเชื้อ สารสกัดด้วยน้ำของผักคาวตองแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชิ้อโรค อย่างมี นัยสำคัญ และ สารสกัดพลูคาวมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ mouse hepatitis virus (ซึ่งเป็น coronavirus ชนิดหนึ่ง) และ Dengue virus ในหลองทดลองได้ นอกจากนี้ ผักคาวตองยังมีฤทธิ์ต้านอักเสบ
ผลไม้ตระกูลส้ม (ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า) มีการศึกษาพบว่าสารมีสารสำคัญในผิวและเยื่อหุ้มด้านในเปลือกผล ของพืชตระกูลส้ม มีศักยภาพสูงในการลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสที่ก่อโรค COVID-19 (จากการยับยั้งไม่ให้ ไวรัสเข้าเซลล์ และยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส) และในช่วงที่มีโรค COVID-19 ระบาดที่ประเทศจีน มีรายงานว่า มีการใช้ชาเปลือกส้มช่วยรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่นด้วย นอกจากนี้ ส้มเป็นผลไม้ที่มีวิตามิน ซีสูง จึงเหมาะสำหรับการบริโภคเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน สามารถป้องกันโรคระบาดจากเชื้อไวรัสได้
หอมแดง (Allium ascalonicum L.) หอมใหญ่และหอมแดงเป็นสมุนไพรในครัวที่มีการใช้ ตามภูมิปัญญาไทยในการบรรเทาอาการหวัดคัดจมูกมาเนิ่นนาน ปัจจุบันมีการศึกษา พบว่าในหัวหอมหรือหอมแดงมีฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรค COVID-19 และ ต้านการอักเสบที่ดีเช่นกัน
มะรุม (Moringa oleifera Lam.) นอกจากจะพบว่าเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงแล้ว สารสำคัญชนิด Quercetin และ kaempferol ที่พบมากในมะรุม สามารถฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรค COVID-19 ได้ดี
หม่อน (Morus alba L.) สาร rutin จากใบหม่อนสามารถแย่งจับกับไวรัสที่ตัวรับในปอด ซึ่งมีผลยับยั้งไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ดี และในช่วงที่มีโรค COVID-19 ระบาดที่ประเทศจีน มีรายงานว่ามีการใช้ชาใบหม่อนช่วยรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย นอกจากนี้ ลูก หม่อนเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ แต่อุดมไปด้วยสารกลุ่มโพลีฟีนอล และสารในกลุ่มแอนโทไซยานินที่เป็นแหล่ง ของสารต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ
ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นสมุนไพรในครัวที่มีการศึกษาพบว่า สารสำคัญชนิด curcumin ที่พบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรค ทั้งโรค SARS, influenza, novel influenza H1N1 (WT), และ COVID-19 ในหลอดทดลอง และพบฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วย
กะเพรา (Ocimum tenuiflorum L.) มีสาร orientin ที่พบว่ามีฤทธิ์ลดโอกาสการติดเชื้อ ก่อโรค COVID-19 นอกจากนี้ กะเพรายังมีน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ที่ประกอบด้วย methyl eugenol (37.7%), caryophylllene, methyl chavicol และ อื่นๆ ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดปวด และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพ ได้หลายชนิด
ธัญพืช ธัญพืชหลายชนิดมีสาร lignan มีฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อ COVID-19
ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์สูง
ผักที่มีวิตามินซีสูง มีรายงานการศึกษาการศึกษาที่พบว่าผัก 10 ชนิดที่มีวิตามินซีสูง สามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการติดเชื้อไวรัสได้ มีรายละเอียดดังภาพต่อไปนี้
ผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารในกลุ่มไบโอเฟลโวนอยด์สูง
มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีรสชาติถึง 5 รส ด้วยกัน คือ เปรี้ยว หวาน เผ็ดร้อน ขม และ ฝาด มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและ สารในกลุ่มโพลีฟีนอลในปริมาณที่สูง ทำให้สามารถดูดซึมและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ ดีกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า นอกจากนี้ รสเปรี้ยวในมะขามป้อมยังมีฤทธิ์กัด เสมหะ บรรเทาหวัด และแก้ไอได้ดี ดังนั้น มะขามป้อมจึงเป็นผลไม้/สมุนไพรที่เหมาะ สำหรับการบริโภคเพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อโรคในช่วงที่มีโรคระบาดนี้
ผลไม้มีสีต่าง ๆ ผลไม้ที่มีผลสีเหลือง ส้ม แดง ม่วง มักจะประกอบด้วย สารสำคัญแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มเฟลโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการ อักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเป็นสารที่ช่วยให้วิตามินซีสามารถออกฤทธิ์กระตุ้น ภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น
ผักที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านการอักเสบ
มีพืชผักพื้นบ้านหลายชนิดที่แม้จะไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ COVID-19 แต่พบว่า มีรายงานว่ามีเกี่ยวกับการยับยั้งการติดเชื้อไวรัสก่อโรค ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบได้ดี ได้แก่
พลูคาว (ผักคาวตอง) เป็นผักที่มีรายงานการศึกษาวิจัยที่พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอักเสบ และลด mast cell-mediated anaphylactic responses
เห็ดต่าง ๆ เห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดหอม เห็ดออริจิ เห็ดนางฟ้า เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum (Fr.) Karst.) มีรายงานว่ามีสารกลุ่มเบต้ากลูแคนที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคได้
ตรีผลา ประกอบด้วยผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย สมอพิเภก และ มะขามป้อม ตามคัมภีร์ทางแพทย์แผนไทย ตรีผลามีสรรพคุณช่วยปรับธาตุ ปรับสมดุลของร่างกาย ควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย มีข้อมูลการศึกษา ที่พบว่าตรีผลามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แรงและมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophil และมีกลไก ต้านการหลั่งสารก่อให้เกิดการอักเสบหลายชนิด
ขิง (Zingiber officinale Roscoe) ประกอบสารที่ให้รสเผ็ดร้อน gingerols (6-Gingerol), shogaols และน้ำมันหอมระเหย ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดอาการไอ และยับยั้งเชื้อไวรัส ก่อโรคในทางเดินหายใจได้
ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd.) เหง้าข่ามีรายงานว่าประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยที่ ประกอบด้วยสารสำคัญ ได้แก่ 1,8 cineole (53.57%), α-pinene (2.67%), trans-caryophyllene (2.61%), terpinen-4-ol (2.41%), chavicol (1.00%) และมีรายงาน พบฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์แก้แพ้ ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ระงับการปวด
กระเทียม (Allium sativum L.) ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 0.1-0.4% มี องค์ประกอบหลักคือ allicin ajoene alliin allyldisulfide diallyldisulfide ซึ่งเป็นสารประกอบในกลุ่ม organosulfur ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพืชผักต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น แม้บางชนิดจะยังไม่มีรายงานการศึกษา เกี่ยวกับฤทธิ์ต้านเชื้ออุบัติใหม่ที่ก่อโรค COVID-19 แต่ต่างเป็นพืชผักพื้นถิ่นที่หาได้ง่าย และมีฤทธิ์กระตุ้น ภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ซึ่งควรส่งเสริมให้มีการบริโภคเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ รวมทั้งการติดเชื้อ ไวรัสด้วย นอกจากนี้ การป้องกันตนเองไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง การป้องกันตนเองโดย การ
ล้างมือ กินร้อน ช้อนของตัวเอง และใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องไปในชุมชน
ชาขาว ชาขาวเข็มเงิน แม่สรวย เชียงราย
Bai Hao Yinzhen ไป๋หาวหยินเจิน ชาขาวเข็มเงิน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Silver Needle ด้วยลักษณะเหมือนเข็ม มีขนสีขาวประกายเงินปกคลุม จึงเรียกว่าเข็มเงินชาขาวเข็มเงิน ตราบ้านชาไทย ปลูกบนยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากไร่ชา อำเภอแม่สรว...
ดูรายละเอียดต่อต้านอนุมูลอิสระ
เกษตรอินทรีย์ ออแกนนิค บ้านห้วยน้ำกืน
ปัจจุบันเกษตรอินทรีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตระหนักรู้ของผู้บริโภคและผู้ผลิต ต่อวิกฤตโลกที่ต้อง รับผิดชอบร่วมกัน แสวงหาแนวทางการผลิตและการบริโภคอาหารที่มั่นคงอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหา...
อ่านต่อภาวะลองโควิด
สถาบันการแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะลองโควิดทานผลิตภัณฑ์ที่มีโพรไบโอติกส์ ที่มีอยู่ในโยเกิร์ต กิมจิ ผักดอง เป็นต้น ซึ่งปริมาณที่มีอยู่นั้น ยังไม่เพียงพอ จึงแนะนำให้ทานผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ 10 ล้าน Cfu ขึ้นไปโพรไบโอติกส์...
อ่านต่ออากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุหนึ่งของการไอ
อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน หนึ่งในสาเหตุของการไอ ให้พาวเมาท์สเปรย์เป็นตัวช่วยบรรเทาอาการไอนะครับช่วยลดการสะสมของเชื้อเเบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุเเละกลิ่นในช่องปากได้ถึง 99%อ้างอิง โครงการการทดสอบประสิทธิภาพเเละความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สเปรย์ระงับกลิ่...
อ่านต่อประโยชน์ของ ชาขาว
ชาขาว ประกอบด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenols)ประเภท EGCG สูงมากกว่าชาชนิดอื่น เป็นหนึ่งในโมเลกุลจากพืชที่เป็นตัวต้านสารอนุมูลอิสระ ทำหน้าที่คอยซ่อมแซมเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย ต้านการอักเสบ และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ชาขาวจึงได้รับความนิยมขึ้นเรื...
อ่านต่อชาเลือดมังกร กับประโยชน์ที่มากมาย
ชาเลือดมังกร เหตุที่เรียกชื่อนี้เนื่องจากสีสรรของน้ำชาสีแดงอันแปลกตาเวลาชงดื่ม ชาเลือดมังกร เป็นพืชพื้นถิ่นของทางภาคเหนือ ปลูกบนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่น้อยกว่า 1,300 เมตร ซึ่งสีแดงในน้ำชาอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งเป็นเม...
อ่านต่อ