แนวโน้ม จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน

แนวโน้ม จำนวนผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #1

คนไทยป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมากขึ้น แนวโน้มเพิ่มจำนวน-รุนแรงขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาลเพียง 40% ตายจากเบาหวาน-ภาวะแทรกซ้อน 21.96% สูญเสียค่าใช้จ่ายรักษาเบาหวานและ3โรคร่วม ปีละถึง 3 แสนล้านบาท

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการเป็นประธานเปิดการเสวนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างเครือข่ายและชมรมเบาหวานของประเทศไทย จัดโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นเบาหวานประมาณ 5 ล้านคนและมีแนวโน้มเป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจากปีพ.ศ. 2534 คนไทยเป็นเบาหวาน 2.3% และปี2557 เพิ่มขึ้นเป็น 8.9 % ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่ากังวล

แนวโนัมผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนผู้ป่วยและความรุนแรง จากภาวะแทรกซ้อนจนทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะและเสียชีวิต

จากการสำรวจสุขภาพประชาชนในประเทศไทยพบว่าประชากรเสียชีวิตจากโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนถึง 21.96% และยังควบคุมระดับน้ำตาลได้น้อยมากประมาณ 40 % ในขณะที่สามารถควบคุมทั้ง 3 อย่าง คือ ระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันโลหิตได้ประมาณ 12 %เท่านั้น ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง47,596 ล้านบาทต่อปี และหากมี 3 โรคร่วมด้วย ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 3 แสนล้านบาทต่อปี

แนวโนัมผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนผู้ป่วยและความรุนแรง จากภาวะแทรกซ้อนจนทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะและเสียชีวิต ซึ่งแผนยุทธศาสตร์แผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุขในระยะ 5 ปีแรก ตั้งแต่พ.ศ. 2560 -2564 มีแผนงานเพื่อให้มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง 5% ต่อปี รวมถึงผู้ป่วยความดันรายใหม่ลดลง 2.5% ต่อปีด้วยเช่นกัน ในฐานะกรมการแพทย์มีเป้าหมายการทำงานที่จะมุ่งพัฒนางานเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพอย่างเสมอภาคภายในพ.ศ. 2564 ภายใต้ภารกิจการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สมคุณค่า เสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการและบริการทางการแพทย์ในทุกภาคส่วน"นพ.ณรงค์กล่าว

นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการรพ.ราชวิถี กล่าวว่า ประเทศไทยต้องการลดอัตราการเกิดเบาหวาน ซึ่งขณะนี้คือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขระดับประเทศโดยต้องทำความเข้าใจว่าเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินซูลินหรือร่วมกันทั้งสองอย่างส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลที่ได้รับมาจากอาหารเป็นพลังงานจนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงค่าปกติคือประมาณ 80-130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร(มก./ดล.) แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานในระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าปกติ เพราะโรคเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะที่พบบ่อย คือ หัวใจ สมองไต ตา และเท้า ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต ไตวายเรื้อรังตาบอดและโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอันตรายถึงชีวิตนอกจากนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ดัชนีมวลกายไม่ควรเกิน 23 ออกกำลังกายสม่ำเสมอและปฏิบัติตนตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความรุนแรงของโลกและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน นพ.สมเกียรติกล่าว

แนวโน้ม จำนวนผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #2

Credit : กรุงเทพธุรกิจ / กระทรวงสาธารณสุข

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

บทความน่ารู้

ตาพร่า ตามัว จากเบาหวาน

ตากับเบาหวานเกี่ยวกันได้อย่างไร  เมื่อเป็นเบาหวานมานานและมีน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดจะไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดต่างๆ ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเริ่มเสื่อม หลอดเลือดฝอกที่ตาก็เสื่อมได้เช่นกัน เมื่อหลอดเลือดฝอยที่ตาเสื่อม ตาพร่า ตามัว มองเห็นไม่ค่อยช...

อ่านต่อ

ไขปมผู้ป่วย เบาหวาน ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง

ไขปมผู้ป่วย "เบาหวาน" ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง?ซึ่งหากติดเชื้อโควิด19ส่งผลกระทบต่อการควบคุมเบาหวานได้แย่ลง เนื่องจากเอนไซม์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเบาหวานคุมไม่ได้ น้ำตาลก็สูงขึ้น น้ำตาลที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานแย่ลง ทำให้ ไวรั...

อ่านต่อ

ภูมิคุ้มกัน สำคัญมาก สำหรับโลกวันนี้

ภูมิคุ้มกัน สำคัญมาก สำหรับโลกวันนี้ หากเปรียบร่างกายเหมือนประเทศ ภูมิคุ้มกันในร่างกายก็เปรียบเสมือนทหารที่คอยกำจัดผู้รุกราน ซึ่งได้แก่เชื้อไวรัส แบคทีเรีย ที่เข้าสู่ร่างกายไม่ให้กระจายขยาย และกำจัดออกไป ซึ่งการที่จะเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมีหลายห...

อ่านต่อ

พลูคาว สรรพคุณ และประโยชน์

พลูคาว ( Plu Kaow ) เป็น พืชสมุนไพรพื้นบ้านมีประโยชน์ สรรพคุณ ทางยามายาวนาน ทั้งใช้เป็นอาหารสมุนไพร เนื่องจากต้นและใบจะมีกลิ่นแรง ซึ่งนิยมนำใบมาเป็นผักเคียงใช้บริโภคสดกับอาหารประเภทลาบ น้ำพริก มีการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับพลูคาว และมีรายงาน...

อ่านต่อ

สินค้าของพาวมีอะไรบ้าง

สินค้าภายใต้แบรนด์พาว มีอะไรบ้าง?? และแแต่ละตัวมีดีอย่างไร??  เรามีคำตอบ พาวซุยยากุเอสเซ้นส์  พาวน้ำ พี่ใหญ่ของแบรนด์พาว น้ำสมุนไพรสกัดเข้มข้น  โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก พร้อมสมุนไพรอื่นอีก 10 ชนิด รวมสมุนไพร 11 ชนิดใน 1 ขวด นวั...

อ่านต่อ