คาวตอง สมุนไพรเสริมภูมิ สู้ไวรัส

สมุนไพรมาแรงที่ต่างประเทศตามหา อย่าง ฮาว์ธัยเนีย (Houttuynia) หรือ พลูคาว เทรนด์สุขภาพของยุคนี้ อยู่ที่ไทยนี่เอง!! เสริมภูมิสู้ไวรัส ท่ามกลางกระแสความหวาดหวั่นเรื่องไวรัส การดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยสมุนไพรไทยเป็นหนึ่งในเทรนด์ล่ามาแรง โดยเฉพาะฮาว์ธัยเนีย (Houttuynia) หรือ พลูคาว สมุนไพรพื้นบ้านประโยชน์มหาศาล ที่นอกจากจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ ลดความเสี่ยงเซลล์มะเร็ง ยังทำลายและต้านไวรัส จนกลายเป็นของดีจากธรรมชาติที่ใครๆ ต่างก็หันมาให้ความสนใจ

พลูคาว หรือ ฮาว์ธัยเนียเป็นพืชล้มลุกที่พบเจอได้มากในประเทศแถบเอเชียรวมถึงในเขตภาคเหนือและอีสานของไทย ในบ้านเรามีชื่อเรียกหลากหลายตามแต่ละท้องถิ่น ทั้งผักคาวตอง ผักก้านตอง ผักคาวปลา โดยเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู มีรสเผ็ดร้อน ชาวบ้านรู้กันดีว่าฮาว์ธัยเนียมีสรรพคุณทางยาช่วยฟื้นฟูร่างกายได้ จึงนิยมปลูกไว้เป็นผักสดแกล้มอาหาร

ในทางยามีผลงานวิจัยรองรับว่า พลูคาว อุดมด้วยสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) อัลคาลอยด์ (Alkaloids) เควอซิติน (Quercetin) และรูติน (Rutin) ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ทำลายเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และขับสารพิษ จึงถูกนำไปสกัดและพัฒนาเป็นส่วนประกอบของยาหลายชนิด

หนึ่งในคุณสมบัติอันโดดเด่นของของ พลูคาว คือทำลายเชื้อไวรัสได้ดี โดยจากวิจัยกับเชื้อไวรัสซาร์ส ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมือเท้าปาก และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริม ในระดับหลอดทดลองและในสัตว์ทดลองพบว่า สารเควอซิติน (Quercetin) และรูติน (Rutin) ในฮาว์ธัยเนียช่วยยับยั้งไม่ให้ไวรัสแบ่งตัวและเข้าสู่เซลล์ของร่างกายได้ เมื่อเกิดการระบาดของไวรัสชนิดใหม่ ฮาว์ธัยเนียจึงเป็นสมุนไพรที่ถูกจับตามองและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ด้วยสรรพคุณมากมาย ทำให้ พลูคาว ถูกนำมาสกัดเป็นยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างแพร่หลาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากอยากได้สรรพคุณที่ครบถ้วนและดีที่สุด ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีผลงานวิจัยจากสถาบันที่เชื่อถือได้รองรับ รวมถึงได้รับมาตรฐานการรับรองที่น่าเชื่อถือ

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

การเดินเร็ว ลดความดันได้

การเดินเร็วๆ หรือ Brisk Walk ช่วยลดความดันได้ดีพอๆ กับการวิ่ง การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญของการควบคุมความดัน หลายคนสงสัยว่าการเดินเร็วจะสามารถลดความดันได้เท่ากับการวิ่งจริงหรือ?การเดินเร็ว 10-12 นาทีต่อกิโลเมตร หรือนับง่ายๆ คือ 100 ก้าวต่อนาที หรื...

อ่านต่อ

อาหารสำหรับ ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูงหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อตรวจพบและทราบว่ามีไข...

อ่านต่อ

บลูสเปียร่า สารสกัดจากสาหร่ายสไปรูลิน่า

สารสกัด Blue Spira (บลูสเปียร่า) ส่วนผสมหลักใน พาวซูการ์คิว ผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ ไฟโคไซยานินสูงกว่าปกติ ไม่มีผลกับไต คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า สายพันธ์ Platensis ด้วยกรรมวิธีพิ...

อ่านต่อ

นิสัยการวิ่งแบบผิด ที่ควรเลิกทำ

การวิ่งถือเป็นอีกหนึ่งการออกกำลังกายที่ดีและทำได้ง่าย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักการวิ่งที่ถูกวิธีจริงๆ? ลองมาสำรวจพฤติกรรมการวิ่งของตัวเองกัน ว่าคุณมี 9 ข้อต่อไปนี้หรือไม่ ถ้ามีก็ขอให้เลิกทำ เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริงวิ่งมากเกินไปการใช้งานร่างกายหนัก...

อ่านต่อ

เมนูสมุนไพร ต้านโควิด

เมนูแนะนำจากสมุนไพรไทย ที่หาได้ง่าย ทำง่ายสำหรับเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านโรคCOVID-19เมี่ยงคำ  ประกอบด้วยส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส ได้แก่ มะนาวพร้อมเปลือก หอมแดง ขิง พริก และมีโปรตีนจากกุ้งแห้ง ต้มโคล้งเพิ่มภูมิต้านทานไวรัสด้วย เห...

อ่านต่อ