ประโยชน์ของไฟเบอร์

ไฟเบอร์ หรือ ใยอาหาร เป็นที่ทราบกันดีว่าร่างกายจะได้รับไฟเบอร์จากการทานอาหารประเภทพืชผักผลไม้ และหลายคนจะทราบว่าไฟเบอร์มีประโยชน์ต่อการขับถ่าย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ในการขับของเสียออกมา   

อย่างไรก็ตามนอกจากไฟเบอร์จะมีประโยชน์ต่อการขับถ่ายแล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นด้วย เช่น

  1. ทำให้อิ่มท้อง  อาหารที่มีไฟเบอร์สูงมักทำให้อิ่มท้องนาน เนื่องจากหลังจากทานไฟเบอร์ไปแล้วส่วนที่เป็นเมือกจะละลายน้ำกลายเป็นเจลเหนียวและอยู่ในกระเพาะอาหารได้นานขึ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม
  2. ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด  โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง  หากทานอาหารที่มีไฟเบอร์ร่วมกับยารักษา จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับปกติได้ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกทาง
  3. คุมระดับน้ำตาลในเลือด  โดยเฉพาะไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำจะช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล-ไขมัน ไม่ให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็วเกินไป จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน และลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานในคนปกติ
  4. เสริมระบบภูมิคุ้มกัน  อย่างที่ทราบกันดีว่าในลำไส้ของคนเรามีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ และกว่า 70% ของระบบภูมิคุ้มกันอยู่ที่ลำไส้เป็นส่วนใหญ่  และไฟเบอร์เป็นอาหารชั้นดีของจุลินทรีย์โปรไบโอติก (จุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้)  จึงทำให้โปรไบโอติกเจริญเติบโตได้ดีสามารถผลิตสารที่มีประโยชน์ต่อต่างกาย ส่งผลให้ระบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
  5. ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่  เมื่อระบบการขับถ่ายดีขึ้น ถ่ายอุจจาระได้ง่าย ลดการกักเก็บของเสียในร่างกาย ลดการหมักหมมของเสียในลำไส้ ทำให้ลดโอกาสดดูดซับสารพิษจากของเสียกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ความเสี่ยงในการเกิดเชื้อมะเร็งลำไส้จึงลดลงตามไปด้วย
  6. ช่วยลดน้ำหนัก  ไฟเบอร์ช่วยให้อาหารที่ทานเข้าไปเดินทานได้เร็วขึ้น และมีเวลาอยู่ใระบบทางเดินอาหารสั้นลง จึงช่วยลดการดูดซึม และรู้สึกอิ่มท้อง ทำให้ลดความอยากอาหาร และลดการทานจุกจิกระหว่างมื้ออาหาร หากทำการควบคุมชนิดและปริมาณอาหาร และออกกำลังกายร่วมจะยิ่งเป็นผลดีต่อการลดน้ำหนัก


ที่มีของข้อมูล :

1.บทความ ไฟเบอร์เส้นใยแห่งสุขภาพ, สุขภาพดีด้วยโภชนบำบัด, หน่วยสารสนเทศมะเร็ง, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

2.บทความ 5 ประโยชน์ของไฟเบอร์ที่มากกว่าช่วยการขับถ่าย, Interpharma



POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

กระเทียม สกัดเย็น สกัดร้อน แตกต่างกันอย่างไร

กระเทียมสกัดในท้องตลาดนั้น หลายท่านจะสังเกตเห็นว่ามีอยู่ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือสกัดเย็น และสกัดร้อน ซึ่งทั้งสองแบบต่างก็มาจากกระเทียมเช่นเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่กระบวนการสกัด และผลผลิตสุดท้ายสกัดเย็น – ผลผลิตที่ได้จะอยู่ในรูปน้ำมันใส สกัดร้อน – ผลผ...

อ่านต่อ

ปวดหลังแบบไหน อันตรายจนต้องพบแพทย์

โดยปกติเราแบ่งอาการปวดหลัง เป็น 2 แบบ ปวดเฉียบพลัน (Acute: ปวดหลังต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์) กึ่งเฉียบพลัน (Subacute: ปวดหลังต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์)ปวดเรื้อรัง (Chronic: ปวดหลังต่อเนื่องนานกว่า 12 สัปดาห์) ในประเทศอุตสาหกรรม ความชุกชั่วชีวิต (...

อ่านต่อ

วัคซีนต้านโควิด19 ถามตอบ ข้อสงสัย ไขข้อกังวล ก่อนฉีดวัคซีนโควิด19

แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเริ่มเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนและนัดวัน-เวลา การฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังมีข้อสงสัยและความกังวลต่าง ๆ จากคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละ...

อ่านต่อ

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

การป้องกันทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ภาวะเบาหวานขึ้นตา และป้องกันอาการที่อาจรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปฏิบัติได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้จัดการกับเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่นเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม ห...

อ่านต่อ

วิธีปลูกกระชายขาวแบบง่ายๆ

วิธีปลูกกระชายขาวแบบง่ายๆ สมุนไพรพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 หลังจากการศึกษาและงานวิจัยจากหลายแหล่ง รวมไปถึงโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์ความเป็นเลิศด้าน...

อ่านต่อ