โรคไตที่ไม่ได้เกิดจากการ กินเค็ม

<strong>โรคไต</strong>ที่ไม่ได้เกิดจากการ กินเค็ม #3

อย่างที่ทราบกันดีว่า “รสเค็ม” และ “โซเดียม” เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้คนเรามีโอกาสป่วยเป็นโรคไตได้ จนเป็นที่มาของการรณรงค์ ไม่กินเค็ม ไม่เต็มเกลือ ไม่เติมน้ำปลาในอาหาร เพื่อให้ห่างไกลจากภาวะโรคไต ต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้จะไม่กินเค็ม ไม่เติมเกลือ ไม่เติมน้ำปลาเวลาทานอาหาร เราทุกคนก็ยังมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไตได้อยู่ดี เพราะยังมีสาเหตุและความเสี่ยงอีกหลายเรื่อง ที่พร้อมจะพาเราวิ่งสู่เส้นทางของโรคไตได้ทุกเมื่อ

หลากหลายสาเหตุโรคไต ที่เป็นได้แม้ไม่ต้องกินเค็ม

ในทางการแพทย์มีปัจจัยมากมาย ที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ร่างกายคนเรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคไต แต่ปัจจัยที่พบได้บ่อย ก็คือ

  • เป็นแต่กำเนิด เกิดจากการที่ร่างกายคนเราเกิดมาพร้อมกับไตที่ผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ เช่น บางคนเกิดมาแล้วไตฝ่อ บางคนมีไตข้างเดียว หรือมีโครงสร้างเซลล์ในไตที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องของโชคชะตาที่ไม่สามารถป้องกันได้
  • หลอดเลือดฝอยในไตอักเสบ ไม่จำเป็นต้องกินเค็มก็สามารถเกิดขึ้นได้ เส้นเลือดฝอยในไตสามารถอักเสบขึ้นมา ได้จากหลายๆ โรค เช่น SLE ซึ่งอาจนำพาไปสู่การเป็นโรคไตอักเสบ และไตเสื่อมได้ในที่สุด
  • ติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งไม่สัมพันธ์กันกับเรื่องของอาหารแต่อย่างใด และเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นก็จะทำให้เกิดไตติดเชื้อ เป็นฝี หรือเป็นหนองในไตขึ้นได้
  • มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ อาทิ เป็นนิ่ว เป็นโรคต่อมลูกหมาก ซึ่งเมื่อเกิดการปัสสาวะติดขัดนานวันเข้า ก็อาจลุกลามไปสู่ไตและกลายเป็นโรคไตเสื่อมได้
  • เนื้องอกในไต ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเนื้อร้ายอย่างมะเร็ง หรือเนื้องอกธรรมดาทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับอาหารและการรับประทานของที่มีรสเค็ม

<strong>โรคไต</strong>ที่ไม่ได้เกิดจากการ กินเค็ม #2

ในการใช้ชีวิตประจำวันถึงแม้ไม่กินเค็ม ไม่เติมเกลือ ก็เป็นสาเหตุของโรคไตได้เช่นกัน  เช่น

  • กินอาหารรสจัด หวานจัด มันจัด ฯลฯ สมมติว่าคุณไม่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มอยู่แล้ว ก็อย่าเพิ่งลดการ์ดระวังโรคไตเป็นเด็ดขาด เพราะถ้าบังเอิญคุณดันไปชื่นชอบอาหารที่มีความมันจัดหรือหวานจัด ความเสี่ยงที่ว่าก็แทบไม่ต่างกันเลย น้ำจิ้ม น้ำราด ซอสทั้งหลาย ล้วนแต่มีส่วนผสมของเกลืออยู่ ยิ่งจิ้มเยอะ ราดเยอะ ก็ยิ่งได้รับความเค็มมากขึ้นเท่านั้น
  • ดื่มน้ำน้อย นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว การดื่มน้ำน้อย ก็เป็นสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไตได้เช่นกัน
  • การทานอาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง เนื้อสัตว์แปรรูป อาทิ แฮม ไส้กรอก หมูหยอง หมูแผ่น ฯลฯ อาหารเหล่านี้ได้รับการปรุงรสโดยมีความเค็มอยู่แล้วในตัวเอง ยิ่งเมื่อเรารับประทานคู่กับน้ำจิ้ม น้ำซอสเข้าไปอีก ก็จะยิ่งทำให้ปริมาณความเค็มในร่างกายเพิ่มเป็นเท่าตัว
  • การทานขนมปังแทนข้าวก็มีโอกาสได้รับเกลือเกินได้ แม้ในขนมปังจะไม่ได้มีรสชาติเค็ม แต่หากเราสังเกตให้ดีในฉลากโภชนาการ จะพบว่าขนมปังนั้นเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงกว่าข้าว เพราะ ในขนมปังมีผงฟู และผงฟูคือเกลือชนิดหนึ่ง
  • การทานขนมคบเคี้ยว ขนมอบกรอบ นอกมื้ออาหารบ่อยๆ จึงเป็นการทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อโรคไตมากขึ้น  ขนมคบเคี้ยว 1 ถุงเล็กๆ ของขนมบางชนิดนั้นเต็มไปด้วยปริมาณโซเดียมที่มากกว่าอาหารทั้งมื้อด้วยซ้ำไป
  • ไม่ออกกำลังกาย งานวิจัยพบว่า ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า
  • รับประทานยากลุ่ม NSAIDs นอกจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการกินอาหารที่เราทราบกันดี ยังต้องระวังในเรื่องการทานยา โดยเฉพาะในกลุ่มยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง และส่งผลให้ไตทำงานได้แย่ลงด้วย แต่สิ่งที่เป็นสาเหตุหลักของความเสี่ยงโรคไตจริงๆ ประมาณ 70% คือกลุ่มโรคประจำตัว อย่างเบาหวานและความดัน หรือแม้โรคไขมันและโรคอ้วน ก็นับเป็นความเสี่ยงเช่นกัน
ไม่ทานอาหารรสจัด ไม่เพิ่มน้ำจิ้มน้ำราด ลดหวานมัน ดื่มน้ำเปล่าสะอาดอย่างพอเพียง คือพฤติกรรมการทานอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตที่ดีที่สุด

ที่มาข้อมูล : บทความทางการแพทย์โรงพยาบาลพญาไท และ สุขภาพ.cc




POW พาวเมาท์สเปรย์

POW HerbalFresh Mouth Spray สเปรย์น้ำพลูคาวสกัด สำหรับฉีดพ่นในช่องปากและลำคอ ส่วนผสมจากสมุนไพรเดิมได้แก่ น้ำพลูคาวสกัด สเปียร์มินท์ เปปเปอร์มินต์  น้ำผึ้ง โพรพอลิส และน้ำมันละหุง ช่วยลดปัญหาในช่องปาก กลิ่นปาก ไอ ระคายเคืองในลำคอ ให้ความรู้สึกเย็นสดช...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

น้ำตาลสูง จุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพ

การทำให้น้ำตาลลดไม่ใช่เรื่องที่ยาก หรือเป็นไปไม่ได้ แต่การทำให้ใช้ชีวิตเป็นปกติสุข  นอนหลับง่าย ไม่ตื่นมาฉี่บ่อย ไม่อ่อนเพลีย มีแรง ไม่ถูกเพิ่มยา ไม่ถูกฉีดอินซูลิน และการไม่มีโรคแทรกอื่น สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือจุดประสงค์ของ "พาวซูการ์คิว"พาวซูกา...

อ่านต่อ

ลองทาน กาแฟพาว ดูหรือยัง

ลองทานกาแฟพาว หรือยังคะ? การแฟพาว พาวเอสคอฟฟี่  หรือไม่ได้มีแค่อร่อยน ทานแล้วต้องสุขภาพดีในระยะยาวความหอม  จากกาแฟ ความหวาน ความมัน จากน้ำมันมะพร้าว ซึ่งจะมี good fat หรือไขมันดี กาแฟซอง พาวเอสคอฟฟี่ นอกจากความเข้มข้น หอมอร่อย และยังด...

อ่านต่อ

โรคพาร์กินสัน คือ

โรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของสมองอย่างช้า ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ในสมองลดลง จากนั้นก่อให้เกิดอาการของโรคตามมา โรคพาร์กินสันความจริงแล้วเริ่มที่ไหน ยังไม่มีใครทราบอย่างแท้จริง แต่ข้อมูลของการศึกษาในปัจจุบัน...

อ่านต่อ

ไอเอาอยู่

ไอ เอา อยู่  พาวเมาท์เสปรย์ มีส่วนผสมของโพรพอลิส (Propolis) และสารสกัดพลูคาว ซึ่งสารสกัดพลูคาว หรือผักคาวตอง สามารถฉีดก่อนใส่แมส หรือหลังใส่แมส หรือระหว่างวัน แม้กระทั่งหลังรับประทานอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง พาวเมาท์สเปรย์สามารถช่วยทำให้กลิ่นปากและลมหาย...

อ่านต่อ

วิธีดูแลตัวเองในช่วงของวัยทอง

ผู้หญิงก่อนเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ซึ่งระยะของวันทองนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ1. วัยใกล้หมดประจำเดือน ( perimenopause ) คือ มักเกิดขึ้นประมาณ 3 – 4 ปี ก่อนที่ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยทองอย่างถาวรนั้นในช่ว...

อ่านต่อ