โรคไตที่ไม่ได้เกิดจากการ กินเค็ม

<strong>โรคไต</strong>ที่ไม่ได้เกิดจากการ กินเค็ม #3

อย่างที่ทราบกันดีว่า “รสเค็ม” และ “โซเดียม” เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้คนเรามีโอกาสป่วยเป็นโรคไตได้ จนเป็นที่มาของการรณรงค์ ไม่กินเค็ม ไม่เต็มเกลือ ไม่เติมน้ำปลาในอาหาร เพื่อให้ห่างไกลจากภาวะโรคไต ต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้จะไม่กินเค็ม ไม่เติมเกลือ ไม่เติมน้ำปลาเวลาทานอาหาร เราทุกคนก็ยังมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไตได้อยู่ดี เพราะยังมีสาเหตุและความเสี่ยงอีกหลายเรื่อง ที่พร้อมจะพาเราวิ่งสู่เส้นทางของโรคไตได้ทุกเมื่อ

หลากหลายสาเหตุโรคไต ที่เป็นได้แม้ไม่ต้องกินเค็ม

ในทางการแพทย์มีปัจจัยมากมาย ที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ร่างกายคนเรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคไต แต่ปัจจัยที่พบได้บ่อย ก็คือ

  • เป็นแต่กำเนิด เกิดจากการที่ร่างกายคนเราเกิดมาพร้อมกับไตที่ผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ เช่น บางคนเกิดมาแล้วไตฝ่อ บางคนมีไตข้างเดียว หรือมีโครงสร้างเซลล์ในไตที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องของโชคชะตาที่ไม่สามารถป้องกันได้
  • หลอดเลือดฝอยในไตอักเสบ ไม่จำเป็นต้องกินเค็มก็สามารถเกิดขึ้นได้ เส้นเลือดฝอยในไตสามารถอักเสบขึ้นมา ได้จากหลายๆ โรค เช่น SLE ซึ่งอาจนำพาไปสู่การเป็นโรคไตอักเสบ และไตเสื่อมได้ในที่สุด
  • ติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งไม่สัมพันธ์กันกับเรื่องของอาหารแต่อย่างใด และเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นก็จะทำให้เกิดไตติดเชื้อ เป็นฝี หรือเป็นหนองในไตขึ้นได้
  • มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ อาทิ เป็นนิ่ว เป็นโรคต่อมลูกหมาก ซึ่งเมื่อเกิดการปัสสาวะติดขัดนานวันเข้า ก็อาจลุกลามไปสู่ไตและกลายเป็นโรคไตเสื่อมได้
  • เนื้องอกในไต ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเนื้อร้ายอย่างมะเร็ง หรือเนื้องอกธรรมดาทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับอาหารและการรับประทานของที่มีรสเค็ม

<strong>โรคไต</strong>ที่ไม่ได้เกิดจากการ กินเค็ม #2

ในการใช้ชีวิตประจำวันถึงแม้ไม่กินเค็ม ไม่เติมเกลือ ก็เป็นสาเหตุของโรคไตได้เช่นกัน  เช่น

  • กินอาหารรสจัด หวานจัด มันจัด ฯลฯ สมมติว่าคุณไม่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มอยู่แล้ว ก็อย่าเพิ่งลดการ์ดระวังโรคไตเป็นเด็ดขาด เพราะถ้าบังเอิญคุณดันไปชื่นชอบอาหารที่มีความมันจัดหรือหวานจัด ความเสี่ยงที่ว่าก็แทบไม่ต่างกันเลย น้ำจิ้ม น้ำราด ซอสทั้งหลาย ล้วนแต่มีส่วนผสมของเกลืออยู่ ยิ่งจิ้มเยอะ ราดเยอะ ก็ยิ่งได้รับความเค็มมากขึ้นเท่านั้น
  • ดื่มน้ำน้อย นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว การดื่มน้ำน้อย ก็เป็นสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไตได้เช่นกัน
  • การทานอาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง เนื้อสัตว์แปรรูป อาทิ แฮม ไส้กรอก หมูหยอง หมูแผ่น ฯลฯ อาหารเหล่านี้ได้รับการปรุงรสโดยมีความเค็มอยู่แล้วในตัวเอง ยิ่งเมื่อเรารับประทานคู่กับน้ำจิ้ม น้ำซอสเข้าไปอีก ก็จะยิ่งทำให้ปริมาณความเค็มในร่างกายเพิ่มเป็นเท่าตัว
  • การทานขนมปังแทนข้าวก็มีโอกาสได้รับเกลือเกินได้ แม้ในขนมปังจะไม่ได้มีรสชาติเค็ม แต่หากเราสังเกตให้ดีในฉลากโภชนาการ จะพบว่าขนมปังนั้นเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงกว่าข้าว เพราะ ในขนมปังมีผงฟู และผงฟูคือเกลือชนิดหนึ่ง
  • การทานขนมคบเคี้ยว ขนมอบกรอบ นอกมื้ออาหารบ่อยๆ จึงเป็นการทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อโรคไตมากขึ้น  ขนมคบเคี้ยว 1 ถุงเล็กๆ ของขนมบางชนิดนั้นเต็มไปด้วยปริมาณโซเดียมที่มากกว่าอาหารทั้งมื้อด้วยซ้ำไป
  • ไม่ออกกำลังกาย งานวิจัยพบว่า ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า
  • รับประทานยากลุ่ม NSAIDs นอกจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการกินอาหารที่เราทราบกันดี ยังต้องระวังในเรื่องการทานยา โดยเฉพาะในกลุ่มยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง และส่งผลให้ไตทำงานได้แย่ลงด้วย แต่สิ่งที่เป็นสาเหตุหลักของความเสี่ยงโรคไตจริงๆ ประมาณ 70% คือกลุ่มโรคประจำตัว อย่างเบาหวานและความดัน หรือแม้โรคไขมันและโรคอ้วน ก็นับเป็นความเสี่ยงเช่นกัน
ไม่ทานอาหารรสจัด ไม่เพิ่มน้ำจิ้มน้ำราด ลดหวานมัน ดื่มน้ำเปล่าสะอาดอย่างพอเพียง คือพฤติกรรมการทานอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตที่ดีที่สุด

ที่มาข้อมูล : บทความทางการแพทย์โรงพยาบาลพญาไท และ สุขภาพ.cc




Lu7 แอลยูเซเว่น

หากคุณมีน้ำตาลในเลือดสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ให้ลองสังเกตว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้แล้วหรือไม่แอลยูเซเว่น คืออะไร??แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย และเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บ...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

กินอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็ง

กินอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็ง และ ที่สำคัญควรเลี่ยงอาหารอะไรอย่างเด็ดขาด การรักษามะเร็งต้องมีทั้งการผ่าตัด การฉายแสง และการใช้ยา ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอเพื่อให้ร่างกาย เกิดการซ่อมแซมในส่วนที่เสียไปจากการรักษา เช่น การรับประทานอาหา...

อ่านต่อ

หันมาป้องกันโรคเรื้อรัง Ncds อย่างจริงจังกันเถอะ

กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยพบโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ถึงเวลาแล้วไหมที่ต้องหันมาป้องกันโรคอย่างจริงจัง ในกลุ่ม Ncds นี้ยังคงเพิ่มจำนวนผู้ป่วยต่อเนื่องในทุกๆปี กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวา...

อ่านต่อ

วิธีทานฟักทองให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

ฟักทองไม่ได้มีดีแค่เนื้อฟักทองสีเหลืองทองที่มีประโยชน์ เมล็ดฟักทองเองก็ช่วยคลายเครียดได้ดี น้ำมันฟักทองก็ช่วยบำรุงประสาท หรือแม้แต่เปลืองของฟักทองยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลืดให้อยู่ในระดับปกติ ดังนั้นลองทานฟักทองจากหลายๆ ส่วนดู และหากจะหั่นเนื้อฟัก...

อ่านต่อ

ประโยชน์ ของ ฟักทอง

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้นฟัก...

อ่านต่อ

พรีไบโอติก และ โพรไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร

เคยได้ยินคำว่าพรีไบโอติก (Prebiotics) และโพรไบโอติก (Probiotics) กันบ้างหรือไม่ ทั้งสองอย่างนี้ทำหน้าที่สำคัญต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตชนิดดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เปรียบเสมือนทหารดีพรีไบโอติก  คือ สารอาหารที่มีป...

อ่านต่อ