ข้อแนะนำการป้องกันโรคมะเร็ง

มะเร็งเป็นโรคที่นักวิจัยรายงานว่าสามารถป้องกันได้ถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิดมะเร็งมีผลจากวิถีการดำเนินชีวิตและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี และ 35 เปอร์เซ็นต์ของปัจจัยเสี่ยงมาจากน้ำหนักส่วนเกิน อาหาร และองค์ประกอบของอาหาร เช่น ไขมัน และแอลกอฮอล์ เป็นสิ่งที่ส่งเสริมการเกิดมะเร็ง ในขณะที่องค์ประกอบของอาหารประเภทใยอาหาร สารแอนติออกซิแดนต์หรือสารต้านอนุมูลอิสระ และสารพฤกษเคมีที่มีในผักผลไม้จะช่วยป้องกันหรือยับยั้งการเกิดมะเร็ง

การมีโภชนาการที่ดีสามารถป้องกันโรคมะเร็งทุกชนิดได้มากกว่า 1 ใน 3 และหากเริ่มการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกายและลดความเครียดได้ ก็จะป้องกันโรคมะเร็งได้มากขึ้นอีกเท่าตัว อาหารและวิธีการดำเนินชีวิตมีผลต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมากมากที่สุด

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2557 พบว่า โรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยติดต่อกันมามากกว่า 10 ปีแล้ว สถิติล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขระบุชัดว่า คนไทยเสียชีวิตเฉลี่ยจากโรคมะเร็งถึงปีละกว่า 60,000 คน โดยที่มะเร็งลำไส้ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปอดและเต้านม ศาสตราจารย์ นายแพทย์รัชตะ  รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสนใจในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และมีนโยบายเร่งรัดการสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุและดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย มะเร็งต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะปรากฏอาการ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในรหัสของยีนในการแบ่งตัวของเซลล์ และขณะที่เซลล์แบ่งตัว เซลล์อาจถูกไวรัส สารเคมี รังสี หรือสารพิษในอาหาร บุหรี่ หรือควันบุหรี่ และอนุมูลอิสระทำลายได้ จะทำให้ยีนเป็นอันตรายและทำงานผิดพลาด เซลล์ที่สร้างขึ้นมาใหม่จะผิดปกติและทำงานอย่างผิดปกติเช่นกัน จึงทำให้เกิดโรค

มาตรการป้องกันโรคมะเร็ง

กองทุนการวิจัยมะเร็งแห่งโลก (Word Cancer Research Fund) สถาบันวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา และสถาบันวิจัยโรคมะเร็งประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ได้ประกาศมาตรการป้องกันโรคมะเร็ง ดังต่อไปนี้

  1. ดูแลน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน เป้าหมายของน้ำหนักตัวที่แนะนำในการป้องกันมะเร็งคือดัชนีมวลกาย 21-23 กก./ม2  ยิ่งน้ำหนักมาก ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง 1 ใน 17 ชนิดก็ยิ่งสูงตาม เช่น มะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม การดูแลน้ำหนักตัวโดยการบริโภคอาหารให้สมดุลและออกกำลังกายสม่ำเสมอจะลดความเสี่ยงได้แน่นอน
  2. ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือออกกำลังกายชนิดปานกลางวันละ 60 นาที และ ออกกำลังกายชนิดหนัก วันละ 30 นาทีขึ้นไป มีข้อมูลการวิจัยที่ชัดเจนว่าการออกกำลังกายช่วยป้องกันมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม แถมยังช่วยไม่ให้อ้วนอีกด้วย ไม่ว่าการออกกำลังกายชนิดใดก็ตามสามารถช่วยได้ทั้งนั้น
  3. เลี่ยงอาหารที่มีพลังงานสูง เพราะอาหารพวกนี้มักมีส่วนประกอบของไขมันและน้ำตาลสูง ควรเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล อาหารไขมันสูง เช่น ฟาสต์ฟู้ด อาหารแปรรูปหรือผ่านกระบวนการผลิต เช่น แฮม ไส้กรอกชนิดต่างๆ
  4. เลี่ยงการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม เพราอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ให้พลังงานสูง เมื่อดื่มบ่อยๆ หรือดื่มปริมาณมากๆ จะเพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน โรคมะเร็งก็จะตามมา
  5. อาหารบางชนิดแม้จะมีพลังงานสูง แต่ก็มีสารอาหารที่ดีสูงเช่นกัน เช่น ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช และน้ำมันพืชบางชนิด ที่สำคัญอาหารเหล่านี้ไม่สร้างปัญหาในเรื่องน้ำหนักตัว จึงสามารถกินเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในชีวิตประจำวันได้
  6. บริโภคผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่างๆ ผลการวิจัยมากมายยืนยันว่าผักผลไม้และอาหารที่มีกากใยสูงช่วยป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งช่องปาก กระเพาะอาหาร และลำไส้ และยังช่วยป้องกันโรคอ้วนอีกด้วย ข้อแนะนำคือ การกินผักและผลไม้หลากหลายสีให้ได้วันละ 5 ส่วนเป็นอย่างน้อย จะทำให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระหรือสารแอนติออกซิแดนต์ที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ถ้าจะให้ดี ควรตั้งเป้าหมายในการกินให้ได้วันละ 5-9 ส่วน (อุ้งมือ)

ชาขาว ชาขาวเข็มเงิน ห้วยน้ำกืน เวียงป่าเป้า เชียงราย

Baihao Yinzhen ไป๋หาวหยินเจิน ชาขาวเข็มเงิน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Silver Needle ด้วยลักษณะเหมือนเข็ม มีขนสีขาวประกายเงินปกคลุม จึงเรียกว่าเข็มเงิน ชาขาวเข็มเงิน ตราบ้านชาไทย ปลูกบนยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากไร่ชาบ้านห้วยน้ำก...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

กระชายขาว โสมเมืองไทย

สำหรับสมุนไพรไทยที่ชื่อว่า “กระชายขาว” กระชายขาวมีสรรพคุณดีๆ หลายอย่าง กระชายขาวสมุนไพรยอดฮิตของคนไทย ดังไปถึงญี่ปุ่น ด้วยสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่างๆมากมาย สำหรับคนญี่ปุ่นนั้น แต่เดิมทีเค้าไม่ค่อยคุ้นเคยกับกระชายขาวเพราะไม่ได้เป็นพืชประจำถิ่นของเขา หา...

อ่านต่อ

วิ่งมานานทำไมยังไม่ผอมซะที

วิ่งแล้วกินอะไรก็ได้เมื่อออกกำลังกาย เราจะเริ่มประทานอาหารมากขึ้นเป็นปกติ สาเหตุเพราะร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มสำหรับประกอบกิจกรรมออกกำลังกาย แต่กับดักแรกที่สำคัญคือ เมื่อวิ่งจบ นักวิ่งมักจะคิดไปเองว่าร่างกายได้เผาผลาญแคลอรี่ในปริมาณมากกว่าปกติ เราไ...

อ่านต่อ

พาวอัพ ไม่ออกกำลังก็ทานได้ แต่ถ้าออกกำลังกายด้วยยิ่งดี

โปรตีนพาวอัพ โปรตีนจากพืช Plant based ไม่มีส่วนผสมของนมวัว ทานก่อนออกำลังกาย ,ทานก่อนทานอาหารมื้อหลัก หรือทานแทนอาหาร ใน 1 ซองของพาวอัพ  น้ำหนัก 30 กรัม โปรตีน 21 กรัม  ให้พลังาน 120 แคลลอรี่ทานพาวอัพ ไม่ออกกำลังกายก็ลด แต่ถ้าออกกำลังกายร่...

อ่านต่อ

เตรียมร่างกาย ก่อนรับ วัคซีนโควิด19

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไร กรณีที่มีผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน เช่น ปวดแขน บวมบริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตัว หรืออ่อนเพลีย สาหตุอาจเป็นเพราะร่างกายกำลังตอบสนองต่อวัคซีนโควิด-19กรณีที่มีไข้สูงกิน 38 ํ C ปวดเมื่อยมาก อ่อนเพลียมาก ควร...

อ่านต่อ

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบ คืออะไร

โรคผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นอาการของผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ อย่างเรื้อรัง โดยพบบ่อยในเด็ก แต่สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ผู้ที่เป็นโรคนี้มีแนวโน้มมาจากพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน และมักเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคหอบหืด แพ้อากาศ...

อ่านต่อ