ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

พลูคาว สมุนไพรพื้นถิ่นที่น่าจับตามอง

พลูคาว หนึ่งในสมุนไพรมาแรงช่วงนี้ต้องยกให้พลูคาว พืชท้องถิ่นที่กลายเป็นเทรนด์สุขภาพ เพราะสรรพคุณที่โดดเด่น หากสงสัยว่าทำไมทั่วโลกถึงจับตามองสมุนไพรพื้นบ้านอย่างพลูคาว ดร.อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล ท่านอาจารย์ผู้ร่วมพัฒนาผลิตภัณท์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ...

อ่านต่อ

พาวเดลี่ โปรตีน ที่ทานแล้วอร่อย

พาวเดลี่ โปรตีนจากพืช 100% มีส่วนผสมของแคลเซี่ยม ที่จำเป็นต่อข้อต่อกระดูก ทานได้ทุกวัย ทานผสมกับอะไรก็อร่อย...

อ่านต่อ

นิสัยการนอนของคุณ เป็นแบบไหน

นอนเยอะแต่ง่วง นอนน้อยกลับคึก กลางคืนตื่น กลางวันหลับ เราทุกคนมีช่วงเวลาการตื่นและการนอนที่แตกต่างกันนะคะ การตื่นสายไม่ได้หมายถึงเราขี้เกียจ แค่นาฬิกาชีวภาพของเราต่างจากคนอื่นเท่านั้นเอง วันนี้เรามาหาคำตอบกันค่ะ ว่าการนอนของเราคล้ายกับสัตว์แบบไหน?ทฤ...

อ่านต่อ

ร่างกายขาดโปรตีน จะเป็นอย่างไร

โปรตีน แหล่งอาหารสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากต่อร่างกาย เพราะว่าภายในร่างกายเรากว่า 75% เป็นโปรตีน ซึ่งร่างกายของเราไม่สามารถเก็บสะสมโปรตีนเอาไว้ได้ ในแต่ละวันจะมีการสลายโปรตีนและขับออกทุกวัน จึงทำให้ร่างกายต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอทุกวัน เพราะห...

อ่านต่อ

โรคภูมิแพ้ เกิดจากความผิดพลาดของ ระบบภูมิคุ้มกัน

ความจริงแล้วโรคภูมิแพ้ เกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ใช่เพราะร่างกายเราอ่อนแอ ต้องดูแลให้ตรงจุดเมื่อภูมิคุ้มกันตรวจเจอสารที่ก่อภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะปล่อยสารฮิสทามีน (histamine) ออกมาจัดการสารก่อภูมิแพ้ แต่ดันปล่อยออกมามากเกินไป ...

อ่านต่อ