อาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง

<strong>อาการร้อนวูบวาบ</strong>จากวัยทอง #1

ในบรรดาอาการทั้งหมดที่เกิดกับผู้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการร่วมที่เกิดขึ้นมากที่สุดและมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากที่สุดอย่างหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกถึง 2 ปีของวัยใกล้หมดประจำเดือน และสามารถต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาถึง 10 ปีก็ได้

อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการ ของวัยทอง ที่มักเกิดขึ้นในช่วง 6เดือนแรก ถึง 2ปี ของวัยใกล้หมดประจำเดือน

อาการที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอาการร้อนตามตัว ร้อนที่ใบหน้าซึ่งอาจมีเหงื่อออกที่หน้าร่วมด้วยได้ อาการนี้เกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน อาการดังกล่าวจะหายได้เองใน 4-5 ปี หลังจากเข้าวัยหมดประจำเดือน

ลดอาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง

<strong>อาการร้อนวูบวาบ</strong>จากวัยทอง #2

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ลดความอ้วน ออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เดินเร็ว หรือยกน้ำหนัก วันละ 15-20 นาที เพราะจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนเดอร์ฟิน
  • ลดความเครียด คลายเครียดด้วยการฝึกโยคะ ทำสมาธิ หรือวิธีการผ่อนคลายอื่น 
  • อยู่ที่ทีมีอากาศเย็น สวมใส่เสื้อผ้าที่คลายร้อน อาบน้ำเย็นบ่อยๆ กินน้ำเย็น รวมทั้งใช้ผ้าห่มชนิดบาง เพื่อช่วยลดอาการวูบบาบ
  • แช่น้ำอุ่น 20 นาทีทุกเช้า อาจป้องกันอาการร้อนวูบวาบได้ตลอดทั้งวัน
  • รับแสงแดดอ่อนๆตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี สำหรับช่วยในการดูดซึมแคลเซียมอย่างเพียงพอ
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินจะยิ่งเร่งให้ร่างกายมีอาการร้อนวูบวาบได้ง่ายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารก่อพิษ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกฮอล์ ไวน์ ช็อกโกแลต ชีส และเลี่ยงอาหารรสจัด เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการร้อนวูบวาบมากขึ้น
  • ยารักษาตามอาการหรือยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมน เช่นยานอนหลับ ยาคลายเครียด ต้านเศร้า แก้ใจสั่น แก้ปวดเมื่อย ยาบำรุงต่างๆ เป็นต้น
  • ฮอร์โมน สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยฮอร์โมนเพศหญิง(เอสโทรเจน)ได้ผลดีมาก แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน5ปี เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

อาหารลดอาการร้อนวูบวาบ

<strong>อาการร้อนวูบวาบ</strong>จากวัยทอง #3

  • กินอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เทมเป้ แป้งถั่วเหลือง เพราะในถั่วเหลืองมี สารไอโซฟลาโวน (isoflavone) ซึ่งคล้ายเอสโตรเจน จะช่วยชดเชยการขาดเอสโตรเจน และยังช่วยปรับระดับเอสโตรเจนที่ขึ้นๆลงๆให้สมดุลกับโปรเจสเตอโรนด้วย
  • กินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง และปรับระดับไขมันในเลือดให้สมดุล รวมทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน และช่องคลอดแห้งได้อีกด้วย
  • กินอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันจากพืช เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วแขก เมล็ดพืชต่างๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน รวมทั้งธัญพืชจำพวกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์
  • กินปลาที่มีมันมาก จำพวกปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาซาบะ ปลาสวาย และพุงปลาช่อน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อเพิ่มกรดไขมันจำเป็นให้ร่างกายนำไปสร้างความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง ช่องคลอด และเยื่อบุช่องคลอด
  • กินผลไม้รสเปรี้ยว จำพวกส้มต่างๆ แอ๊ปเปิ้ล เชอรี่ พลัม สับปะรด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ

POW DERLA พาวเดอร์ล่า

พาวเดอร์ล่า POWDERLA  พาวรูปแบบใหม่ พาวผงชงดื่ม ได้ประโยชน์ อร่อย ชงง่าย โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย ขิง  กระชายขาว  ตรีผลา (สมอไทย มะขามป้อม สมอพิเภก) ใบหม่อน  ชะเอมเทศ  เก๊กฮวย  เจียวกู้หลาน  แป๊ะก๊วย  ใบบัวบก  งาดำ  สารสกัด...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

ประโยชน์ ของ ฟักทอง

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้นฟัก...

อ่านต่อ

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบ คืออะไร

โรคผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นอาการของผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ อย่างเรื้อรัง โดยพบบ่อยในเด็ก แต่สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ผู้ที่เป็นโรคนี้มีแนวโน้มมาจากพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน และมักเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคหอบหืด แพ้อากาศ...

อ่านต่อ

โปรตีนของพาว คือโปรตีนแบบไหน มีกี่สูตร

โปรตีนของพาวมี 2สูตร คือ พาวอัพ กับ พาวเดลี่ ทั้ง2สูตร มีส่วนผสมที่เหมือนกันคือใช้โปรตีนจากพืชรวม 5ชนิด คือ ถั่วลันเตา, ข้าว, เมล็ดฟักทอง, เมล็ดทานตะวัน และ ถั่วเหลืองมีสารสกัดจากพลูคาว ช่วยลดการอักเสบในร่างกายวิตามินรวม พรีมิกซ์ เป็นวิตามินและแร่ธา...

อ่านต่อ

คาวตอง สมุนไพรเสริมภูมิ สู้ไวรัส

สมุนไพรมาแรงที่ต่างประเทศตามหา อย่าง ฮาว์ธัยเนีย (Houttuynia) หรือ พลูคาว เทรนด์สุขภาพของยุคนี้ อยู่ที่ไทยนี่เอง!! เสริมภูมิสู้ไวรัส ท่ามกลางกระแสความหวาดหวั่นเรื่องไวรัส การดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยสมุนไพรไทยเป็นหนึ่งในเทรนด์ล่ามาแรง โดย...

อ่านต่อ

อาหารสำหรับ ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูงหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อตรวจพบและทราบว่ามีไข...

อ่านต่อ