ภาวะสมองเสื่อมเร็ว โรคซีเจดี

กรมการแพทย์เผยช่วงวัย 40-60 ปีขึ้นไป เสี่ยงภาวะสมองเสื่อมรุนแรงในเวลารวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนพรีออนในสมอง นพ.สมศักดิ์อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประไทยมีแนวโน้มเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จะมีผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมากถึง 6-8 แสนคน ส่วนมากพบในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป  แต่จะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีภาวะสมองเสื่อมรุ่นแรงในเวลารวดเร็วภายใน 1-2 ปี พบในช่วงอายุ 40-60 ปี เป็นคนวัยทำงาน โรคกลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีการถดถอยรวดเร็วและรุนแรง (Rapidly progressive dementia) โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในสมอง สมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันทำงานไวผิดปกติ การได้รับสารพิษ ภาวะขาดสารอาหารรุนแรง โรคเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก และเนื้องอกในสมอง ถ้าได้รับการรักษาทันท่วงทีจะได้ช่วยชะลอความเสื่อมถอยด้านความจำ หรือความจำกลับมาสู่ภาวะปกติเท่ากับก่อนป่วยได้ แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถทำการรักษาได้ ส่งผลทำให้เกิดทุพพลภาพในระยะเวลาอันสั้น คือโรคซีเจดี เกิดจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนในสมองที่เรียกว่า พรีออน (Prion)เป็นโปรตีนลักษณะพิเศษ ที่ทำให้โปรตีนอื่นกลายสภาพเป็นโปรตีนพรีออนผิดปกติที่เพิ่มมากขึ้นเองได้ เมื่อเข้าสู่สมองคน ในระยะเวลารวดเร็วไม่กี่เดือนเซลล์ประสาทจะตาย ทำให้ความสามารถของสมองถดถอยไม่สามารถฟื้นฟูกลับสู่ภาวะปกติได้อีก คือ โรคซีเจดี ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนพรีออน (Proion) เมื่อโปรตีนผิดปกตินี้เข้าสู่สมองในระยะเวลาไม่กี่เดือนเซลล์ประสาทจะตาย ทำให้ความสามารถของสมองถดถอยไม่สามารถฟื้นฟูได้

การสังเกตอาการโรคซีเจดี

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผอ.สถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคซีเจดีพบในทุกเพศ ช่วงอายุที่พบบ่อยประมาณ 55-75 ปี โดยมีอาการพฤติกรรม มีภาวะเสื่อมถอยด้านความคิดและความเสื่อมถอยด้านความจำในระยะเวลาที่รวดเร็วและรุนแรงในช่วงไม่กี่เดือน  และพบว่ามีพฤติกรรมและจิตใจที่ผิดปกติ เช่น เห็นภาพหลอน เอะอะโววาย หรือเฉยเมย การพูดและการเคลื่อนไหวช้าลง ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการกระตุกตามแขนขาและลำตัวแบบไม่รู้สาเหตุ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ กระทั้งนอนติดเตียง

สาเหตุของโรคเกิดได้จาก

  • ความเสื่อมถอยของโปรตีนและสารเคมีในสมอง
  • โรคพันธุกรรมในครอบครัว
  • ถ่ายทอดแบบการติดเชื้อ เช่น เคยติดเชื้อจากการกินเนื้อวัวที่เป็นโรควัวบ้า 

การรักษาโรคซีเจดี

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาด  และมีการตรวจพบผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอาการสงสัยทางอาการ แพทย์จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ส่งตรวจ MRI ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง และตรวจเลือดหรือน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจสารเคมีในสมอง และอาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมอาการพฤติกรรมวุ่นวายและลดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ใกล้ชิดสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการที่เข้าได้กับโรคซีเจดี ควรรีบพาพบแพทย์โดยเร็ว

ที่มา :  สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย และ ข่าวไทยพีบีเอส

POW DERLA พาวเดอร์ล่า

พาวเดอร์ล่า POWDERLA  พาวรูปแบบใหม่ พาวผงชงดื่ม ได้ประโยชน์ อร่อย ชงง่าย โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย ขิง  กระชายขาว  ตรีผลา (สมอไทย มะขามป้อม สมอพิเภก) ใบหม่อน  ชะเอมเทศ  เก๊กฮวย  เจียวกู้หลาน  แป๊ะก๊วย  ใบบัวบก  งาดำ  สารสกัด...

ดูรายละเอียด

บำรุงสมอง

บทความน่ารู้

โรคพาร์กินสัน ทำลายสมอง

โรคพาร์กินสัน วายร้ายทำลายสมอง ที่ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปี หากปล่อยไว้นาน ไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจจะใช้ชีวิตลำบากปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดพาร์กินสันเกิดจากสมองขาดสารโดพามีนอาจเกิดจากพันธุกรรมศีรษะเกิดการกระแทกบ่อยครั้งสูงอายุโรคพาร์กิ...

อ่านต่อ

สัญญาณวัยทอง

วัยหมดประจำเดือนปกติร่างกายผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกสร้างขึ้นจากรังไข่ทำให้มีประจำเดือน แต่เมื่อใดที่รังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนส่งผลทำให้ไข่ไม่ตก และไม่ผลิตประจำเดือนเป็นเวลาติดต่อกัน 12 เดือน ผู้หญิงวัยทองพบบ่อยในช่วงอายุ 49–55 ปี วัยทองสามารถเกิ...

อ่านต่อ

Powderlar วิธีทาน

Powderlar วิธีทาน สุขภาพดีแค่ 3 stepฉีกซองพาวเดอร์ล่า 1 ซอง เทลงในแก้วที่แห้งเติมน้ำใส่แก้ว ประมาณ 30 ml. แนะนำควรเป็นน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติจะช่วยให้ละลายง่ายขึ้นคนละลายให้เข้ากัน แล้วดื่มได้ทันที...

อ่านต่อ

ย่อยดี ขับถ่ายดี สุขภาพดีไปกว่าครึ่ง

ระบบย่อยอาหารที่ดี คือการที่อวัยวะต่าง ๆ ภายในระบบย่อยอาหารทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การติดเชื้อ ความเครียด หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด อาจทำให้ระบบย่อ...

อ่านต่อ

ลำไส้ดี ชีวิตยืนยาว

สุขภาพยังดีอยู่ไหม ให้ดูลึกถึงลำไส้ เพราะ 70% ของภูมิคุ้มกันอยู่ในนั้น หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ลำไส้ไม่ได้เป็นเพียงอวัยวะย่อยอาหาร แต่ยังเป็นบ้านของภูมิคุ้มกันหลังใหญ่ที่สุด หากสมดุลของลำไส้สะดุด จุลินทรีย์ดีในลำไส้ก็จะลดน้อยลง ส่งให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ...

อ่านต่อ