การออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวาน

การ<strong>ออกกำลังกาย</strong> <strong>ผู้ป่วยเบาหวาน</strong> #1
การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ให้ผลคล้ายกับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งช่วยนำน้ำตาลในเลือดออกไปใช้ที่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ขั้นตอนการออกกำลังกาย ประกอบด้วย 3ขั้นตอน เหมือนการออกกำลังกายปกติ
  1. Warm up
  2. Training zone exercise
  3. Cool down

หลักการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน มีรายละเอียดดังนี้

  • ออกกำลังกาย อย่างน้อย 3ครั้ง/สัปดาห์ วันที่หยุดพักไม่ควรเกิน 2วัน
  • ระดับหนักพอควร (40-59% ของชีพจรสำรอง)
  • ออกกำลังกาย 30 นาที ต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • สามารถแบ่งรอบสะสมได้ โดยแต่ละรอบควรถึงระดับหนักพอควร อย่างน้อย 10นาที
  • สวมรองเท้าที่เหมาะสม
  • ตรวจดูเท้าทุกครั้งหลังออกกำลังกาย
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังในที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในกรณีที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
  • เช็คระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลัง หากน้อยกว่า 100 mg% ควรทานคาร์โบไฮเดรต 15 g. ก่อนออกกำลังกาย
การออกกำลังแบบแอโรบิค (การออกกำลังที่มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทำงานอย่างต่อเนื่องเช่น เดินเร็ว, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ)
การออกกำลังแบบมีแรงต้าน เช่น ใช้ดัมเบล, ยางยืด, ออกกำลังด้วยเครื่องออกกำลังมีแรงต้าน หากทำร่วมกับการออกกำลังแบบแอโรบิค จะช่วยให้ผลในการควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น ควรทำ 2 วัน/สัปดาห์ (ไม่ควรทำติดกัน 2วัน) ท่าละ 5-10 ครั้ง และ 3-4 เซ็ต
การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการทำท่าที่ต้องเกร็งค้างไว้และไม่ควรใช้แรงต้านที่มากเกินไป

อาการสำคัญที่บ่งบอกว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • เหงื่อออก
  • ใจเต้นเร็ว
  • มึนงง เวียนศีรษะ
  • มือสั่น กระสับกระส่าย
  • รู้สึกหิว
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ปวดศีรษะ
  • ตาพร่า

หากมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรปฏิบัติดังนี้

ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้ทานน้ำผลไม้ 1กล่อง หรือ นม 1 กล่อง หรือลูกอมทันที ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง หลังจาก 15 นาที

POW พาวโปรตีน พาวเดลี่ POW Daily

พาวเดลี่ POW Daily โปรตีนจากพืช Multi Plant Protein 5 ชนิด พาวโปรตีน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง เสริมพลังงานให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย ใน 1 วัน  เด็กที่ไม่ทานผัก หรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ทานอาหารยาก ทานได้น้อย เบื่ออาหาร  หรือผู้ที่ออกกำลัง...

ดูรายละเอียด

อาหารเสริมผู้ออกกำลังกาย

บทความน่ารู้

ออกกำลังกาย เบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่พบว่าผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่ได้รับการควบคุมอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็มีส่วนช่วยเสริมในการบำบัดโรคเบาหวานได้ ซึ่งก็จะให้ผลดี คือ ลดระดับน้ำตาลและไขมัน ลดระดับความดั...

อ่านต่อ

ลดน้ำหนัก วิ่งอย่างเดี่ยว อาจไม่พอ

หลายคนพยายามที่จะลดน้ำหนักด้วยการวิ่ง ซึ่งนั่นถือเป็นทางเลือกที่ดี แต่เราไม่ควรที่จะวิ่งอย่างเดียวเพื่อให้น้ำหนักลง เพราะว่าการลดน้ำหนักนั้นต้องมีวินัยและทำหลายๆ อย่างควบคู่ไปด้วย ใส่ใจกับอาหารแน่นอนเลยว่าสำหรับการลดน้ำหนัก นอกจากออกกำลังกายแล้วการเ...

อ่านต่อ

Powderlar วิธีทาน

Powderlar วิธีทาน สุขภาพดีแค่ 3 stepฉีกซองพาวเดอร์ล่า 1 ซอง เทลงในแก้วที่แห้งเติมน้ำใส่แก้ว ประมาณ 30 ml. แนะนำควรเป็นน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติจะช่วยให้ละลายง่ายขึ้นคนละลายให้เข้ากัน แล้วดื่มได้ทันที...

อ่านต่อ

ไม่ออกกำลังกาย เสี่ยงกว่า ผู้ป่วยเบาหวาน

เราทราบกันดีว่า การออกกำลังกายช่วยให้ชีวิตยืนยาวขึ้นได้ การไม่ออกกำลังกาย อาจให้ผลร้ายมากกว่าการสูบบุหรี่ หรือเป็นโรคเบาหวาน และ โรคหัวใจเสียอีกการวิจัยเรื่องผลของการ ไม่ออกกำลังกาย จัดทำขึ้นโดยนักวิจัยที่โรงพยาบาล Cleveland Clinic ในรัฐโอไฮโอ โดยใช้...

อ่านต่อ

ใส่ใจภูมิตนเอง

ออกนอกบ้านก็เสี่ยง อยู่บ้านเฉยๆก็ใช่ว่าจะปลอดภัย การทำให้ร่างกายแข็งแรง และ มีภูมิต้านทานที่มากพอ จะทำให้ต่อสู้กับโรคร้ายได้ ระหว่างรอวัคซีน ใส่ใจตนเอง สร้างร่างกายให้แข็งแรง ...

อ่านต่อ