พลูคาว รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

<strong>พลูคาว</strong> รับประทานอย่างไรให้<strong>ปลอดภัย</strong> #1

แม้พลูคาวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไปหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจากการรับประทานอาหาร แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือการทดลองใดยืนยันชัดเจนได้ว่าพลูคาวมีประสิทธิผลทางการรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ในมนุษย์ได้ ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการบริโภคพลูคาว โดยเฉพาะในรูปผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยเผยว่า ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคไต ควรระมัดระวังในการบริโภคอาหารเสริมจากพลูคาวเป็นพิเศษ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจได้รับผลข้างเคียงจากพลูคาวจนทำให้เกิดอาการบวมน้ำและมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ได้

ในประเทศไทย การผลิตอาหารเสริมจากพลูคาวนั้นได้รับการควบคุมมาตรฐานและกำหนดกระบวนการผลิตอย่างเคร่งครัด แต่เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุดของตัวผู้บริโภคเอง ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากพลูคาว

  • ผู้บริโภคควรมีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงหลังใช้สารสกัดจากพลูคาว
  • กระบวนการผลิต กระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพลูคาวต้องใช้กระบวนการสกัดด้วยการบดผง หรือ สกัดด้วยน้ำจากใบพลูคาวเท่านั้น ดังนั้น ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานดังกล่าวและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง
  • ไม่ควรบริโภคสารเควอซิทินจากอาหารเสริมเกิน 1 กรัม/วัน เพราะหากร่างกายได้รับสารเควอซิทินมากเกินไป อาจทำให้ไตเสียหายได้ ซึ่งผู้บริโภคศึกษาข้อมูลได้จากฉลากผลิตภัณฑ์

ที่มา pobpad.com

POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล

พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานแบบน้ำ ไม่ชอบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องเดินทางบ่อยพกพาวชนิดน้ำไปทานไม่สะดวก พาวแคปซูล จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพสมุนไพรในพาวเฮอร์เบิลแคปซูล มี 12 ชนิด ประกอบไปด้วย พลูคาว  เบต้ากูลแค...

ดูรายละเอียด

ป้องกันมะเร็ง

บทความน่ารู้

อารมณ์ต่างๆ ล้วนเกิดจากลำไส้

อารมณ์ต่างๆ ล้วนเกิดจากลำไส้คำนี้มีตั้งข้อสังเกตุมานับพันปี ซึ่งส่วนใหญ่ของจุลินทรีย์ในลำไส้คือ แบคทีเรียซึ่งมีทั้งร้ายและดีที่ต่ำกว่า 1% ที่จะก่อให้เกิดโรค หลายทศวรรษที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญไม่เชื่อว่าแบคทีเรียในลำไส้มีผลต่อสุขภาพจิต จนมีหลักฐานมากขึ้น...

อ่านต่อ

โพรไบโอติก Probiotic คือ

ประชากรจุลินทรีย์ในร่างกายเรามีจำนวนเซลล์มากกว่าเซลล์มนุษย์ถึง 10 เท่า เฉพาะแค่ในลำไส้ใหญ่ พวกเราแต่ละคนก็มีเพื่อนตัวน้อยเหล่านี้อาศัยอยู่มากมาย ซึ่งอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ก็มีส่วนช่วยในการเลี้ยงดูและทำให้จุลินทรีย์เหล่านี้มีชีวิตอยู่ได้ ซึ่ง...

อ่านต่อ

กิจกรรมที่ห้ามทำ ตอนกลางคืน

ห้ามคุยเรื่องซีเรียส หรือทะเลาะกัน เพราะจะกระตุ้นให้เกิดความเครียด ทำให้นอนไม่หลับห้ามตัดสินใจเรื่องสำคัญ ช่วงกลางคืน คนเราจะ emotional สูง อารมณ์จะส่งผลต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะหลังสองทุ่มถึงตีสอง!Tip: เก็บเรื่องใหญ่ไว้ตัดสินใจระหว่างวัน หรือตอนกระ...

อ่านต่อ

กระชายขาว โสมเมืองไทย

สำหรับสมุนไพรไทยที่ชื่อว่า “กระชายขาว” กระชายขาวมีสรรพคุณดีๆ หลายอย่าง กระชายขาวสมุนไพรยอดฮิตของคนไทย ดังไปถึงญี่ปุ่น ด้วยสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่างๆมากมาย สำหรับคนญี่ปุ่นนั้น แต่เดิมทีเค้าไม่ค่อยคุ้นเคยกับกระชายขาวเพราะไม่ได้เป็นพืชประจำถิ่นของเขา หา...

อ่านต่อ

ขับถ่ายยาก กลัวการเข้าห้องน้ำ

ในพาวน้ำ หรือ พาวซุยยากุเอสเซนส์ มีจุลินทรีย์ทั้ง พรีไบโอติกส์ และ โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ชนิดดี จำเป็นต่อลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายเป็นเรื่องที่ง่าย กินดี หลับดี ถ่ายดี แค่นี้ก็ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้ ...

อ่านต่อ