ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ #1

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับเกิดจากการปิดกั้นของทางเดินหายใจขณะหลับ  ทำให้อากาศไม่สามารถผ่าน หรือผ่านได้น้อย ส่งผลให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดลดลง มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากขึ้น และเพื่อที่จะลดภาวะการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ สมองจะเกิดการตื่นขึ้น บางครั้งสั้นมากเป็นวินาที ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่าตื่น เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลายครั้งในหนึ่งคืน ในรายที่มีอาการมากอาจเกิดขึ้นมากกว่าร้อยครั้งใน 1 ชั่วโมง ส่งผลให้คุณภาพการนอนไม่ดี ตื่นมาไม่สดชื่น รู้สึกอ่อนเพลีย การจดจำไม่ดี  พบได้ในทุกอายุ โดยมักจะพบมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือกลุ่มคนที่น้ำหนักตัวมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่สังเกตถึงความผิดปกติในขณะหลับของตนเอง บ่อยครั้งที่ผู้พบความผิดปกติเป็นคู่สมรสหรือคนใกล้ชิด

จากการศึกษาพบว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน การดื้อต่ออินซูลิน ภาวะอ้วนลงพุง นอกจากนี้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นยังพบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

หากคุณมีอาการเหล่านี้ แปลว่าคุณกำลังเสี่ยงกับภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ

  • นอนกรน
  • หยุดหายใจในขณะหลับ
  • ตื่นขึ้นมาเพราะหายใจแรง, สำลัก หรือหายใจติดขัดหรือไม่
  • ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเจ็บคอและปากแห้ง
  • นอนเตะขาไปมาในขณะหลับ
  • รู้สึกกระสับกระสายจนต้องการขยับขา ในขณะที่นอนเฉยๆ ช่วงกลางคืน
  • ละเมอเดิน
  • ฝันร้าย
  • ฝันผวา
  • ละเมอพูด
  • ละเมอทานอาหาร
  • ออกท่าทางขณะฝัน
  • นอนตกเตียง
  • อาการชัก / ชักขณะหลับ
  • นอนกัดฟัน

ใครบ้างที่เสี่ยง

พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น  เกิดจากโรคอ้วน ส่วนสาเหตุในคนที่น้ำหนักปกติ เกิดจากโครงสร้างของใบหน้า และกะโหลกศีรษะ ต่อมทอนซิล และอดีนอยด์โต คอหนา ลิ้นโต ภาวะหมดประจำเดือน โรคทางต่อมไร้ท่อ ได้แก่ ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงบางชนิด การดื่มสุรา การใช้ยานอนหลับ คัดจมูก หายใจไม่สะดวกจากโพรงจมูกบวม หรือจากโครงสร้างจมูกที่ผิดปกติ จะส่งผลให้ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับแย่ลง

ทางเลือกการรักษา

การปรับพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่

  • การลดน้ำหนักตัว โดยการควบคุมอาหาร    
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
  • ปรับท่านอนเป็นท่านอนตะแคงจะช่วยให้อาการลดลง
  • หลีกเลี่ยงภาวะอดนอน

การใช้เครื่องช่วยสร้างแรงดันบวกในทางเดินหายใจ

  • (Positive airway pressure therapy, PAP) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง เพื่อรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบัน

การใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรมช่องปาก

  • ใช้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง

การรักษาด้วยการผ่าตัด

  • มีการผ่าตัดได้หลายวิธี ขึ้นกับระดับความรุนแรงและอวัยวะที่ทำให้เกิดการอุดกั้นขณะนอนหลับ ซึ่งจะพิจารณาร่วมกับแพทย์ผู้ดูแลรักษ

POW พาวโปรตีน พาวเดลี่ POW Daily

พาวเดลี่ POW Daily โปรตีนจากพืช Multi Plant Protein 5 ชนิด พาวโปรตีน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง เสริมพลังงานให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย ใน 1 วัน  เด็กที่ไม่ทานผัก หรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ทานอาหารยาก ทานได้น้อย เบื่ออาหาร  หรือผู้ที่ออกกำลัง...

ดูรายละเอียด

ควบคุมน้ำหนัก

บทความน่ารู้

พาวเดลี่ เวจจี้โปรตีน จากผักและผลไม้

จุดเริ่มต้นของการคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธี มีโปรตีนเพียงพอ โปรตีนเป็นสารอาหารที่ในแต่ละช่วงวัย แต่ละวันควรได้รับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โปรตีนสำหรับเด็กไปช่วยการเจริญเติบโต สำหรับผู้ใหญ่ไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  รูปร่างที่ดี ต้องมาพร้อมกับสุขภ...

อ่านต่อ

โปรตีน POW Upz

ผนึก 2 กำลัง ปั้นรูปร่างในฝันให้เป็นจริง โปรตีนจากพืชถึง 5ชนิด X มัทฉะพรีเมี่ยมแท้ ทุ่มเทจากประสบการณ์ดูแลสุขภาพ 20 ปี ถึงกล้าพูดว่านี่คือ โปรตีนที่ดีที่สุดที่เคยทำ POW Upz โปรตีนที่ลงตัวทั้งสารอาหาร ให้คุณค่าแตกต่างจากทุกโปรตีนในตลาดตอนนี้ โปร...

อ่านต่อ

สมุนไพรไทย ภูมิใจ พาว

สมุนไพรไทยในผลิตภัณฑ์ พาวเดอร์ล่า พาวในรูปแบบผง ที่พาว ภูมิใจนำเสนอ พลูคาว มีสารฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ และสารเควอซิทิน เสมือนเกราะป้องกันการทำลายเซลล์ในร่างกาย มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบกระชายขาว มีสารแพนดูราทิน ที่สามารถลดจำนวนเซลล์ที...

อ่านต่อ

กาแฟชะลอวัย แต่ต้องใช้ให้ถูก

กาแฟเป็นเครื่องดื่มประจำของใครหลายคน แต่ก็มีไม่น้อยที่กังวลว่าถ้าดื่มในปริมาณมากไปก็จะผลกระทบต่อร่างกาย จึงอยากให้รู้ถึงฤทธิ์ของ “คาเฟอีน” ที่เกินไปจะทำให้มีผลต่อร่างกายเราคือ ปวดหัว มึนศีรษะ ใจสั่น นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ท้องเสีย สำหรับอาการที่ควรพบ...

อ่านต่อ

อายุมากขึ้น กินอาหารเท่าเดิม อาจไม่เพียงพอ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่กินอาหารในปริมาณเท่าเดิม อาจไม่เพียงพอต่อร่างกายเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง โดยเฉพาะระบบการย่อยและการดูดซึมสารอาหารอย่างโปรตีน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก ก็มีประสิทธิภ...

อ่านต่อ