ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ควบคุมน้ำหนัก

บทความน่ารู้

การทานโปรตีนจากพืช มีผลเสียต่อร่างกายหรือไม่

Plant based portein หรือโปรตีนจากพืช เทรนด์สุขภาพลดการรับประทานเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดง หันมารับประทานผักผลไม้มากขึ้น แต่การรับประทานโปรตีนพืชก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพได้เช่นกัน  เพราะ Plant based บางชนิดมีปริมาณโซเดียม หรือมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจส...

อ่านต่อ

โปรตีนจากพืช ทางเลือกประโยชน์ต่อสุขภาพ

โปรตีนจากพืช (Plant based Protein) หนึ่งทางเลือกของสายสุขภาพในกลุ่มอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งในพืชนอกจากจะอุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายแล้ว โปรตีนจากพืชยังนับเป็นแหล่งอาหารชั้นดีที่เหมาะสำหรับคนหลายกลุ่ม ทั้งผู้ที่ไม่บริ...

อ่านต่อ

ก่อนเริ่มวิ่ง ควรกินอย่างไร

เรื่องอาหารการกินแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการวิ่ง แต่เพื่อน ๆ หลายคนก็ยังคงไม่รู้ว่าเราจะต้องทานอาหารปริมาณมากน้อยแค่ไหน จะต้องทานก่อนกี่นาที หรือ กี่ชั่วโมงก่อนเริ่มวิ่ง เดี๋ยววันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันครับก่อนวิ่งควรจะเผื่อเวลาให้ร่างกาย...

อ่านต่อ

สมุนไพรไทย ภูมิใจ พาว

สมุนไพรไทยในผลิตภัณฑ์ พาวเดอร์ล่า พาวในรูปแบบผง ที่พาว ภูมิใจนำเสนอ พลูคาว มีสารฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ และสารเควอซิทิน เสมือนเกราะป้องกันการทำลายเซลล์ในร่างกาย มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบกระชายขาว มีสารแพนดูราทิน ที่สามารถลดจำนวนเซลล์ที...

อ่านต่อ

หันมาป้องกันโรคเรื้อรัง Ncds อย่างจริงจังกันเถอะ

กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยพบโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ถึงเวลาแล้วไหมที่ต้องหันมาป้องกันโรคอย่างจริงจัง ในกลุ่ม Ncds นี้ยังคงเพิ่มจำนวนผู้ป่วยต่อเนื่องในทุกๆปี กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวา...

อ่านต่อ