ประโยชน์ กระชายขาว
กระชาย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Kaempfer แต่ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. เป็นพืชล้มลุกที่เรามักนิยมนำเหง้ามาใช้ประกอบอาหาร แต่กระชายมีสรรพคุณตั้งแต่รากถึงใบ
“กระชายขาวสกัด เป็นยาต้านไวรัส โควิด-19 ได้ดี 100%”
การใช้กระชายในวัตถุประสงค์ต้านโควิด-19 นั้นยังคงเป็นการศึกษาในห้องทดลอง โดยเลือกใช้สารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งถูกนำมาสกัดใช้ในลักษณะของยา แต่หากนำมาใช้กินกันในอาหารทั่วไป จะมีสรรพคุณดังนี้
- ใบกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ ถอนพิษ แก้โลหิตเป็นพิษ
- เหง้าและรากกระชาย แก้บิด ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยารักษาภายนอกทารักษาขี้กลาก
- เหง้าใต้ดินกระชาย แก้ปวดท้อง แก้มวนท้อง บำรุงกำลัง รักษาริดสีดวง
ประโยชน์ของกระชาย
กระชายที่ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร พ่อครัวแม่ครัวมักจะใช้กระชายดำ แต่กระชายส่วนใหญ่มีประโยชน์ได้ใกล้เคียงกัน ดังนี้
- แก้ท้องร่วง - ใช้เหง้ากระชายดำ 1-2 หัว นำไปปิ้งไฟ แล้วนำมาตำหรือฝนผสมกับน้ำปูนใส คั้นมารับประทาน 1-2 ช้อนแกง
- แก้ท้องอืด จุกเสียด ปวดมวนท้อง - ใช้ราก เหง้า ครึ่งกำมือ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ปรุงอาหาร
- แก้บิด - ใช้เหงาสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม
- แก้ริดสีดวง - ใช้เหง้าสด 6-8 เหง้า ผสมเนื้อมะขามเปียก และเกลือแกง 3 ช้อนชา นำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วติดต่อกัน 1 เดือน จนกว่าริดสีดวงทวารจะหาย
- บำรุงหัวใจ - ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง นำผงแห้งมาชงน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา ดื่มให้หมดในครั้งเดียว
- เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ - ส่วนสรรพคุณกระชายเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ตามที่แบรนด์อาหารเสริมต่างๆ แนะนำให้กินเวลาเย็น เพื่อช่วยลดอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืนนั้น ยังต้องรอการศึกษาวิจัยต่อไป
นอกจากกระชายขาว และกระชายดำแล้ว ในตำราสมุนไพรไทยยังได้กล่าวถึงการใช้ กระชายเหลือง ในตำรับยาสำหรับผู้หญิง โดยใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และแก้อาการตกขาวของผู้หญิงได้ ส่วนสรรพคุณของกระชายเหลืองอื่นๆ ก็มีฤทธิ์เช่นเดียวกับกระชายดำที่กล่าวมาข้างต้น
โบเซน เฮิร์บ
โบโซน เฮิร์บ ผลิตภัณณ์เสริมอาหารชนิดแคปซูล มีส่วนผสมของผงกระชายขาว เบต้ากลูแคนจากยีสต์ ผงขมิ้่นชัน และ ผงอาร์ทิโชก ด้วยส่วนผสมที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในการบำรุงร่างกาย
ส่วนประกอบใน 1 แคปซูล
กระชายขาว : พบสารในกลุ่มเฟลไวบอยด์ และสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย เช่น โบเชนเบอร์จินเอ (Boesanbergin A), พินอสตรอบิน (Pinostrobin), แพนดูราทินเอ (Panduratin A), แพนดูราทินบี (Panduratin B) แคมเฟอร์ (Camphor), คาร์ดามอมิน (Cardamonh) และสารอื่นๆอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังพบว่ากระชายอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ และบี อีกด้วย
ยีสต์เบต้ากลูแคน : เป็นการสกัดเบต้ากลูแคนจากยีสต์สายพันธุ์ต่าง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประเภทหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มาแล้วว่า สามารถซึมซับเข้าสู่ร่างกายได้ดีที่สุดด้วยการรับประทาน
ขมิ้นชัน : สมุนไพรคู่ครัวไทย มีสรรพคุณโดดเด่นในเรื่องระบบย่อยอาหาร สมานแพ้ มีสารสำคัญสารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) ประกอบด้วย เคอร์คิวมิน (curcumin), monodesmethoxycurcumin, bisdesmethoxycurcumin น้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) มีสีเหลืองอ่อน สารหลักคือเทอร์เมอโรน (turmerone) 60%, ซิงจิเบอรีน (zingiberene) 25%, borneol, camphene, 1, 8 ciniole , sabinene, phellandrene
อาร์ติโชค : พืชที่มีคุณค่าทางยาสามารถบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหาร ในอาร์ติโชค มีสาร ไซนาริน (Synarin) ซิไลมาริน ( Silymarin )โพแทสเซียม ( Potassium )เป็นผักที่อุดมได้ด้วยสารอาหารทางโภชนาการ มีวิตามินซี โฟเลต วิตามินบี6 และวิตามินเค