ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ปรับปรุงล่าสุด : 29 มีนาคม 2564

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ #1

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับเกิดจากการปิดกั้นของทางเดินหายใจขณะหลับ  ทำให้อากาศไม่สามารถผ่าน หรือผ่านได้น้อย ส่งผลให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดลดลง มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากขึ้น และเพื่อที่จะลดภาวะการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ สมองจะเกิดการตื่นขึ้น บางครั้งสั้นมากเป็นวินาที ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่าตื่น เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลายครั้งในหนึ่งคืน ในรายที่มีอาการมากอาจเกิดขึ้นมากกว่าร้อยครั้งใน 1 ชั่วโมง ส่งผลให้คุณภาพการนอนไม่ดี ตื่นมาไม่สดชื่น รู้สึกอ่อนเพลีย การจดจำไม่ดี  พบได้ในทุกอายุ โดยมักจะพบมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือกลุ่มคนที่น้ำหนักตัวมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่สังเกตถึงความผิดปกติในขณะหลับของตนเอง บ่อยครั้งที่ผู้พบความผิดปกติเป็นคู่สมรสหรือคนใกล้ชิด

จากการศึกษาพบว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน การดื้อต่ออินซูลิน ภาวะอ้วนลงพุง นอกจากนี้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นยังพบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

หากคุณมีอาการเหล่านี้ แปลว่าคุณกำลังเสี่ยงกับภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ

  • นอนกรน
  • หยุดหายใจในขณะหลับ
  • ตื่นขึ้นมาเพราะหายใจแรง, สำลัก หรือหายใจติดขัดหรือไม่
  • ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเจ็บคอและปากแห้ง
  • นอนเตะขาไปมาในขณะหลับ
  • รู้สึกกระสับกระสายจนต้องการขยับขา ในขณะที่นอนเฉยๆ ช่วงกลางคืน
  • ละเมอเดิน
  • ฝันร้าย
  • ฝันผวา
  • ละเมอพูด
  • ละเมอทานอาหาร
  • ออกท่าทางขณะฝัน
  • นอนตกเตียง
  • อาการชัก / ชักขณะหลับ
  • นอนกัดฟัน

ใครบ้างที่เสี่ยง

พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น  เกิดจากโรคอ้วน ส่วนสาเหตุในคนที่น้ำหนักปกติ เกิดจากโครงสร้างของใบหน้า และกะโหลกศีรษะ ต่อมทอนซิล และอดีนอยด์โต คอหนา ลิ้นโต ภาวะหมดประจำเดือน โรคทางต่อมไร้ท่อ ได้แก่ ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงบางชนิด การดื่มสุรา การใช้ยานอนหลับ คัดจมูก หายใจไม่สะดวกจากโพรงจมูกบวม หรือจากโครงสร้างจมูกที่ผิดปกติ จะส่งผลให้ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับแย่ลง

ทางเลือกการรักษา

การปรับพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่

  • การลดน้ำหนักตัว โดยการควบคุมอาหาร    
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
  • ปรับท่านอนเป็นท่านอนตะแคงจะช่วยให้อาการลดลง
  • หลีกเลี่ยงภาวะอดนอน

การใช้เครื่องช่วยสร้างแรงดันบวกในทางเดินหายใจ

  • (Positive airway pressure therapy, PAP) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง เพื่อรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบัน

การใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรมช่องปาก

  • ใช้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง

การรักษาด้วยการผ่าตัด

  • มีการผ่าตัดได้หลายวิธี ขึ้นกับระดับความรุนแรงและอวัยวะที่ทำให้เกิดการอุดกั้นขณะนอนหลับ ซึ่งจะพิจารณาร่วมกับแพทย์ผู้ดูแลรักษ

Khampo.com

สนใจสินค้า หรือ ต้องการพูดคุยปรึกษา เรื่องการดูแลสุขภาพ ติดต่อสอบถามพวกเรา KHAMPO.com (คำโพธิ์ด๊อดคอม) ได้เสมอค่ะ