สมุนไพรป้องกัน โรคเบาหวาน
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ 2565นอกจากการรักษาโรคเบาหวานตามวิธีทางการแพทย์และธรรมชาติบำบัดแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่ง คือ การรับประทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณป้องกัน และรักษาอาการของโรคเบาหวานให้ทุเลาลงได้ บทความนี้ จะกล่าวถึงสมุนไพรแก้เบาหวาน 5 ชนิด
มะระขี้นก
มะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารซาแลนติน (Charatin) มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการผลิตอินซูลิน (Insulin) ของตับอ่อน จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ มะระขี้นกยังเปี่ยมด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น มีวิตามินเอ ไนอะซิน (Niacin) และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก ชะลอความเสื่อมของไต เรียกได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มากไปด้วยประโยชน์อย่างแท้จริง แนะนำวิธีรับประทานมะระขี้นก นำผลมะระขี้นกสด 100 กรัม มาผ่าครึ่ง ขูดไส้ในและเมล็ดออก หั่นเนื้อผลเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในเครื่องปั่นแยกกาก จะได้น้ำมะระประมาณ 40 มิลลิลิตร ดื่มหลังอาหารเช้าหรือเย็น
อบเชย
สมุนไพรที่สามารถช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนอินซูลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังรับประทานง่าย เพียงแค่นำอบเชยมาโรยลงบนอาหาร ก็สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการของโรคเบาหวานลงได้แล้ว ที่สำคัญอบเชยยังสามารถรักษาได้ทั้งเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เพียงแต่ต้องหมั่นรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
ตำลึง
สมุนไพรหาง่ายที่มักจะพบตามข้างรั้วบ้าน หรือขึ้นเป็นเถาพันต้นไม้อื่นๆ ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติอร่อย รับประทานง่ายแล้ว ตำลึงยังมีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย แนะนำสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรรับประทานตำลึงวันละ 50 กรัม และเมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อีกทั้งยังอาจกลับมาอยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังได้รับวิตามินเอที่มีอยู่สูงมาก วิตามินซีที่สูงกว่ามะนาว วิตามินบี 3 ช่วยบำรุงผิวหนัง มีธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือด และลดอาการท้องผูก เพราะมีใยอาหารจำนวนมาก แนะนำวิธีรับประทานตำลึง นำยอดตำลึง 1 กำมือ ปรุงรสด้วยเกลือหรือน้ำปลาเล็กน้อย ห่อใบตอง นำไปเผาให้สุก รับประทานพร้อมกับมื้ออาหาร
ชาเขียว
หลายคนอาจจะมองว่าชาเขียวไม่มีประโยชน์ในด้านการรักษาเบาหวาน แต่ความเป็นจริงแล้ว ชาเขียวก็สามารถดื่มเพื่อบรรเทาโรคเบาหวานได้ดีเช่นกัน โดยชาเขียวนั้นจะช่วยลดคอเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ค่อยๆ ลดลงจนปกติ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลินได้ดี แต่ทั้งนี้ ควรเลือกดื่มเฉพาะชาเขียวแท้ที่ไม่มีความหวานสูง หรือไม่ใส่น้ำตาลเลยจะดีที่สุด
กระเทียม
กระเทียมมีสารอัลซิลิน (Allicin) มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต และมีฤทธิ์ในการต่อต้านเบาหวานได้เป็นอย่างดี โดยผลจากการศึกษาพบว่า สารเอทานอล (Ethanol) ในกระเทียมมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหลั่งอินซูลินได้ด้วยเช่นกัน แนะนำว่า ควรรับประทานกระเทียมแบบสดๆ เพราะอุดมไปด้วยคุณประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการรักษาเบาหวานได้สูงกว่าการรับประทานแบบสุก
แอปเปิ้ลเขียว
แอปเปิ้ลเขียวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หากการทานสมุนไพรเป็นเรื่องยาก แอปเปิ้ลเขียว ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกของผลไม้ที่ใช้ควบคุมโรคเบาหวานได้ การรับประทานแอปเปิ้ลเขียวแบบสดๆ ทุกวัน จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่เร็วจนเกินไป เพราะว่าน้ำตาลในแอปเปิ้ล จะเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายแบบช้าๆ รวมไปถึงเส้นใยในผลแอปเปิ้ลมีคุณสมบัติพองตัวได้ดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย จึงทำให้รู้สึกอิ่มนานกว่าการทานขนมหวานทั่วไป
นอกจากสมุนไพรและผลไม้ดังกล่าวแล้ว ยังมีพืชอื่นๆ อีกหลายชนิดที่สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการของโรคเบาหวานได้ เช่น ขมิ้น บอระเพ็ด ตดหมูตดหมา กระเจี๊ยบเขียว มะเขือพวง ช้าพลู และว่านหางจระเข้ เป็นต้น
“สมุนไพรเป็นเพียงการป้องกัน และ ช่วยเสริมแก้โรคเบาหวาน เมื่อคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี เช่น ตรวจเช็กระดับน้ำตาลในเลือด กำหนดเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาล ระดับไขมัน รวมไปถึงแนวทางในการออกกำลังกาย และอาหารที่เหมาะสม”
เมื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ การรับประทานสมุนไพรจะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการทำงานในร่างกายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หากผู้ป่วยยังรับประทานอาหาร หรือใช้ชีวิตไม่เหมาะสม เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังบริหารกาย สมุนไพรแก้เบาหวานก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้
POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล
พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกทานพาวชนิดน้ำ ประกอบด้วยสมุนไพร 12 ชนิด
POW พาว น้ำสมุนไพรพลูคาว ขนาด 375 ml พาวเอสเซ้นส์
พาวน้ำขวดเล็กพกพาสะดวก พาวน้ำประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 11 ชนิด โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก และประกอบไปด้วยสมุนไพร ใบมะรุม มะขามป้อม ลูกยอ กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม เจียวกู้หลาน