การออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวาน
ปรับปรุงล่าสุด : 11 กุมภาพันธ์ 2564![การ<strong>ออกกำลังกาย</strong> <strong>ผู้ป่วยเบาหวาน</strong> #1](https://www.khampo.com/images/blog/173/1.jpg)
การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ให้ผลคล้ายกับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งช่วยนำน้ำตาลในเลือดออกไปใช้ที่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ขั้นตอนการออกกำลังกาย ประกอบด้วย 3ขั้นตอน เหมือนการออกกำลังกายปกติ
- Warm up
- Training zone exercise
- Cool down
หลักการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน มีรายละเอียดดังนี้
- ออกกำลังกาย อย่างน้อย 3ครั้ง/สัปดาห์ วันที่หยุดพักไม่ควรเกิน 2วัน
- ระดับหนักพอควร (40-59% ของชีพจรสำรอง)
- ออกกำลังกาย 30 นาที ต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
- สามารถแบ่งรอบสะสมได้ โดยแต่ละรอบควรถึงระดับหนักพอควร อย่างน้อย 10นาที
- สวมรองเท้าที่เหมาะสม
- ตรวจดูเท้าทุกครั้งหลังออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังในที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในกรณีที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
- เช็คระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลัง หากน้อยกว่า 100 mg% ควรทานคาร์โบไฮเดรต 15 g. ก่อนออกกำลังกาย
การออกกำลังแบบแอโรบิค (การออกกำลังที่มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทำงานอย่างต่อเนื่องเช่น เดินเร็ว, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ)
การออกกำลังแบบมีแรงต้าน เช่น ใช้ดัมเบล, ยางยืด, ออกกำลังด้วยเครื่องออกกำลังมีแรงต้าน หากทำร่วมกับการออกกำลังแบบแอโรบิค จะช่วยให้ผลในการควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น ควรทำ 2 วัน/สัปดาห์ (ไม่ควรทำติดกัน 2วัน) ท่าละ 5-10 ครั้ง และ 3-4 เซ็ต
“การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการทำท่าที่ต้องเกร็งค้างไว้และไม่ควรใช้แรงต้านที่มากเกินไป”
อาการสำคัญที่บ่งบอกว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ
- เหงื่อออก
- ใจเต้นเร็ว
- มึนงง เวียนศีรษะ
- มือสั่น กระสับกระส่าย
- รู้สึกหิว
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ปวดศีรษะ
- ตาพร่า
หากมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรปฏิบัติดังนี้
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้ทานน้ำผลไม้ 1กล่อง หรือ นม 1 กล่อง หรือลูกอมทันที ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง หลังจาก 15 นาที