พลูคาว รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย
ปรับปรุงล่าสุด : 22 ตุลาคม 2564แม้พลูคาวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไปหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจากการรับประทานอาหาร แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือการทดลองใดยืนยันชัดเจนได้ว่าพลูคาวมีประสิทธิผลทางการรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ในมนุษย์ได้ ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการบริโภคพลูคาว โดยเฉพาะในรูปผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยเผยว่า ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคไต ควรระมัดระวังในการบริโภคอาหารเสริมจากพลูคาวเป็นพิเศษ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจได้รับผลข้างเคียงจากพลูคาวจนทำให้เกิดอาการบวมน้ำและมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ได้
ในประเทศไทย การผลิตอาหารเสริมจากพลูคาวนั้นได้รับการควบคุมมาตรฐานและกำหนดกระบวนการผลิตอย่างเคร่งครัด แต่เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุดของตัวผู้บริโภคเอง ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากพลูคาว
- ผู้บริโภคควรมีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงหลังใช้สารสกัดจากพลูคาว
- กระบวนการผลิต กระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพลูคาวต้องใช้กระบวนการสกัดด้วยการบดผง หรือ สกัดด้วยน้ำจากใบพลูคาวเท่านั้น ดังนั้น ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานดังกล่าวและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง
- ไม่ควรบริโภคสารเควอซิทินจากอาหารเสริมเกิน 1 กรัม/วัน เพราะหากร่างกายได้รับสารเควอซิทินมากเกินไป อาจทำให้ไตเสียหายได้ ซึ่งผู้บริโภคศึกษาข้อมูลได้จากฉลากผลิตภัณฑ์
ที่มา pobpad.com

POW พาว น้ำสมุนไพรพลูคาว ขนาด 750 ml พาวเอสเซ้นส์
พาวน้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ได้แก่ พลูคาว ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจียวกู้หลาน

ชาสมุนไพรเลือดมังกร ฟรีค่าส่ง
ชาสมุนไพรเลือดมังกร ออร์แกนิค 100% ชงดื่มได้อย่างมั่นใจ ปราศจากสารเคมี ยาฆ่าแมลง