แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ
ปรับปรุงล่าสุด : 29 ตุลาคม 2563แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ? (Diabetic Foot)
ช่วงหน้าฝนอาจทำให้เกิดน้ำขัง น้ำท่วมในหลายพื้นที่ และการเดินลุยน้ำ หรือลุยโคลนในบริเวณน้ำท่วมขัง เสี่ยงต่อการเกิดน้ำกัดเท้าหรืออาจเกิดบาดแผลที่เท้าได้ โดยเฉพาะผู้เป็น แผลเบาหวานที่เท้า ซึ่งหากเท้าเป็นถูกน้ำ อาจทำให้แผลหายช้า และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกทำลายระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งส่งผลเกิดอาการดังนี้
ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียหาย เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่เท้าจะไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกจึงมักเกิดบาดแผลที่เท้าโดยไม่รู้ตัวได้ง่าย
ระบบประสาทสั่งการกล้ามเนื้อในเท้าเสียหาย ทำให้เท้าผิดรูป เมื่อเกิดจุดกดทับที่บริเวณฝ่าเท้าเนื่องจากมีการยืนและเดินลงน้ำหนักเกินในบางตำแหน่งมากเกินไป ทำให้เกิดหนังด้านแข็ง ซึ่งเป็นสาเหตุของแผลได้
ระบบประสาทออโตโนมิกเสียหาย ทำให้ผิวหนังแห้งเป็นแผลง่าย
หากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงขาและเท้ามีปัญหาจะทำให้ขบวนการรักษาแผลของร่างกายเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้หากมีการติดเชื้อรุนแรงร่วมด้วย อาจต้องถูกตัดเท้าหรือขา ซึ่งผู้เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการถูกตัดขามากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 25 เท่า โดยร้อยละ 70 ของที่ผู้เป็นเบาหวานที่มีประวัติเป็นแผลมาก่อน มีโอกาสเกิดแผลซ้ำใน 5 ปี
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผล
การเกิดแผลที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานสัมพันธ์กับโรคปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวานและโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตันและยังมีปัจจัยอื่นๆได้แก่
•เพศชายมักเป็นมากกว่าเพศหญิง
•มีอายุมาก
•สูบบุหรี่
•ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
•มีประวัติการตัดนิ้วเท้าหรือขา
•เท้าผิดรูปมีหนังด้านแข็งที่ฝ่าเท้า
•มีประวัติแผลที่เท้ามาก่อนหรือมีการเกิดแผลงซ้ำในช่วงระยะเวลา 2-5 ปี
•จอประสาทตาผิดปกติจากโรคเบาหวาน
•มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากโรคเบาหวาน
การดูแลรักษาเท้าอย่างถูกวิธี
1.สำรวจเท้าและความสะอาดเท้าทุกวัน หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
2.ทาโลชั่นทุกวันทันที ภายหลังจากการทำความสะอาด
3.การดูแลเล็บ การตัดเล็บเท้าควรทำด้วยความระมัดระวังและตัดอย่างถูกวิธี
4.ถ้ามีผิวหนังที่หนา หากพัฒนาจนแข็งเป็นก้อนควรได้รับการตัดให้บางทุกๆ 4 – 8 สัปดาห์ โดยผู้ชำนาญ
5.เลือกใช้รองเท้าที่ถูกสุขลักษณะที่ขนาดพอดีไม่คับหรือหลวมจนเกินไป
6.สวมถุงเท้าเพื่อคงความชุ่มชื่นและสามารถลดการเสียดสีได้
7.กรณีเกิดบาดแผลต้องรีบพบแพทย์และรักษาโดยเร็ว
POW Zukar Q พาวซูการ์คิว
Pow Zukar Q พาว ซูการ์ คิว ผลิตภัณฑ์ทางร่วมเพื่อดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคกลุ่ม NCDs
POW พาว น้ำสมุนไพรพลูคาว ขนาด 375 ml พาวเอสเซ้นส์
พาวน้ำขวดเล็กพกพาสะดวก พาวน้ำประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 11 ชนิด โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก และประกอบไปด้วยสมุนไพร ใบมะรุม มะขามป้อม ลูกยอ กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม เจียวกู้หลาน