โรคพาร์กินสัน ทำลายสมอง

ปรับปรุงล่าสุด : 6 มิถุนายน 2565

โรคพาร์กินสัน ทำลายสมอง #1

โรคพาร์กินสัน วายร้ายทำลายสมอง ที่ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปี หากปล่อยไว้นาน ไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจจะใช้ชีวิตลำบาก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดพาร์กินสัน

  • เกิดจากสมองขาดสารโดพามีน
  • อาจเกิดจากพันธุกรรม
  • ศีรษะเกิดการกระแทกบ่อยครั้ง
  • สูงอายุ

โรคพาร์กินสันมีทั้งหมด 5 ระยะ 

  • ระยะที่ 1 เริ่มมีอาการสั่นเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวอวัยวะ เช่น นิ้วมือ
  • ระยะที่ 2 อาการเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอีกข้าง ผู้ป่วยเริ่มหลังงอ และเคลื่อนไหวช้า
  • ระยะที่ 3 การทรงตัวผิดปกติ ลุกยืนลำบาก หกล้มได้ง่าย
  • ระยะที่ 4 ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง จนไม่สามารถยืนได้
  • ระยะที่ 5 กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง อาจจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง มือเท้าหงิกงอ ทรวงอกเคลื่อนไหวได้น้องลง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ

แนวทางการรักษา

  • รับประทานยา เพื่อเพิ่มปริมาณสารเคมีโดพามีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย (ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์ ตามความเหมาะสม)
  • ทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ
  • รักษาโดยใช้คลื่นเสียงจากเครื่อง Exablate เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจากการรับประทานยา หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาได้

ที่มา : FB โรคพาร์กินสัน โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ต้องผ่าตัด

Khampo.com

สนใจสินค้า หรือ ต้องการพูดคุยปรึกษา เรื่องการดูแลสุขภาพ ติดต่อสอบถามพวกเรา KHAMPO.com (คำโพธิ์ด๊อดคอม) ได้เสมอค่ะ