ประโยชน์ กระชายขาว
ปรับปรุงล่าสุด : 11 ธันวาคม 2564กระชาย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Kaempfer แต่ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. เป็นพืชล้มลุกที่เรามักนิยมนำเหง้ามาใช้ประกอบอาหาร แต่กระชายมีสรรพคุณตั้งแต่รากถึงใบ
“กระชายขาวสกัด เป็นยาต้านไวรัส โควิด-19 ได้ดี 100%”
การใช้กระชายในวัตถุประสงค์ต้านโควิด-19 นั้นยังคงเป็นการศึกษาในห้องทดลอง โดยเลือกใช้สารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งถูกนำมาสกัดใช้ในลักษณะของยา แต่หากนำมาใช้กินกันในอาหารทั่วไป จะมีสรรพคุณดังนี้
- ใบกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ ถอนพิษ แก้โลหิตเป็นพิษ
- เหง้าและรากกระชาย แก้บิด ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยารักษาภายนอกทารักษาขี้กลาก
- เหง้าใต้ดินกระชาย แก้ปวดท้อง แก้มวนท้อง บำรุงกำลัง รักษาริดสีดวง
ประโยชน์ของกระชาย
กระชายที่ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร พ่อครัวแม่ครัวมักจะใช้กระชายดำ แต่กระชายส่วนใหญ่มีประโยชน์ได้ใกล้เคียงกัน ดังนี้
- แก้ท้องร่วง - ใช้เหง้ากระชายดำ 1-2 หัว นำไปปิ้งไฟ แล้วนำมาตำหรือฝนผสมกับน้ำปูนใส คั้นมารับประทาน 1-2 ช้อนแกง
- แก้ท้องอืด จุกเสียด ปวดมวนท้อง - ใช้ราก เหง้า ครึ่งกำมือ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ปรุงอาหาร
- แก้บิด - ใช้เหงาสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม
- แก้ริดสีดวง - ใช้เหง้าสด 6-8 เหง้า ผสมเนื้อมะขามเปียก และเกลือแกง 3 ช้อนชา นำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วติดต่อกัน 1 เดือน จนกว่าริดสีดวงทวารจะหาย
- บำรุงหัวใจ - ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง นำผงแห้งมาชงน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา ดื่มให้หมดในครั้งเดียว
- เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ - ส่วนสรรพคุณกระชายเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ตามที่แบรนด์อาหารเสริมต่างๆ แนะนำให้กินเวลาเย็น เพื่อช่วยลดอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืนนั้น ยังต้องรอการศึกษาวิจัยต่อไป
นอกจากกระชายขาว และกระชายดำแล้ว ในตำราสมุนไพรไทยยังได้กล่าวถึงการใช้ กระชายเหลือง ในตำรับยาสำหรับผู้หญิง โดยใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และแก้อาการตกขาวของผู้หญิงได้ ส่วนสรรพคุณของกระชายเหลืองอื่นๆ ก็มีฤทธิ์เช่นเดียวกับกระชายดำที่กล่าวมาข้างต้น