ภาวะสมองเสื่อมเร็ว โรคซีเจดี
ปรับปรุงล่าสุด : 1 กุมภาพันธ์ 2565กรมการแพทย์เผยช่วงวัย 40-60 ปีขึ้นไป เสี่ยงภาวะสมองเสื่อมรุนแรงในเวลารวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนพรีออนในสมอง นพ.สมศักดิ์อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประไทยมีแนวโน้มเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จะมีผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมากถึง 6-8 แสนคน ส่วนมากพบในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่จะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีภาวะสมองเสื่อมรุ่นแรงในเวลารวดเร็วภายใน 1-2 ปี พบในช่วงอายุ 40-60 ปี เป็นคนวัยทำงาน โรคกลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีการถดถอยรวดเร็วและรุนแรง (Rapidly progressive dementia) โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในสมอง สมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันทำงานไวผิดปกติ การได้รับสารพิษ ภาวะขาดสารอาหารรุนแรง โรคเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก และเนื้องอกในสมอง ถ้าได้รับการรักษาทันท่วงทีจะได้ช่วยชะลอความเสื่อมถอยด้านความจำ หรือความจำกลับมาสู่ภาวะปกติเท่ากับก่อนป่วยได้ แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถทำการรักษาได้ ส่งผลทำให้เกิดทุพพลภาพในระยะเวลาอันสั้น คือโรคซีเจดี เกิดจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนในสมองที่เรียกว่า พรีออน (Prion)เป็นโปรตีนลักษณะพิเศษ ที่ทำให้โปรตีนอื่นกลายสภาพเป็นโปรตีนพรีออนผิดปกติที่เพิ่มมากขึ้นเองได้ เมื่อเข้าสู่สมองคน ในระยะเวลารวดเร็วไม่กี่เดือนเซลล์ประสาทจะตาย ทำให้ความสามารถของสมองถดถอยไม่สามารถฟื้นฟูกลับสู่ภาวะปกติได้อีก คือ โรคซีเจดี ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนพรีออน (Proion) เมื่อโปรตีนผิดปกตินี้เข้าสู่สมองในระยะเวลาไม่กี่เดือนเซลล์ประสาทจะตาย ทำให้ความสามารถของสมองถดถอยไม่สามารถฟื้นฟูได้
การสังเกตอาการโรคซีเจดี
นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผอ.สถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคซีเจดีพบในทุกเพศ ช่วงอายุที่พบบ่อยประมาณ 55-75 ปี โดยมีอาการพฤติกรรม มีภาวะเสื่อมถอยด้านความคิดและความเสื่อมถอยด้านความจำในระยะเวลาที่รวดเร็วและรุนแรงในช่วงไม่กี่เดือน และพบว่ามีพฤติกรรมและจิตใจที่ผิดปกติ เช่น เห็นภาพหลอน เอะอะโววาย หรือเฉยเมย การพูดและการเคลื่อนไหวช้าลง ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการกระตุกตามแขนขาและลำตัวแบบไม่รู้สาเหตุ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ กระทั้งนอนติดเตียง
สาเหตุของโรคเกิดได้จาก
- ความเสื่อมถอยของโปรตีนและสารเคมีในสมอง
- โรคพันธุกรรมในครอบครัว
- ถ่ายทอดแบบการติดเชื้อ เช่น เคยติดเชื้อจากการกินเนื้อวัวที่เป็นโรควัวบ้า
การรักษาโรคซีเจดี
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาด และมีการตรวจพบผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอาการสงสัยทางอาการ แพทย์จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ส่งตรวจ MRI ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง และตรวจเลือดหรือน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจสารเคมีในสมอง และอาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมอาการพฤติกรรมวุ่นวายและลดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ใกล้ชิดสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการที่เข้าได้กับโรคซีเจดี ควรรีบพาพบแพทย์โดยเร็ว
ที่มา : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย และ ข่าวไทยพีบีเอส