ไขมันพอกตับ ไขมันเกาะตับ
ปรับปรุงล่าสุด : 11 พฤศจิกายน 2564โรคไขมันพอกตับ Fatty Liver Disease หรือไขมันเกาะตับ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติ คือประมาณ 5-10% ของตับ ไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ ภาวะไขมันพอกตับนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการทำงานของตับผิดปกติ ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด แต่เป็นภัยเงียบที่ไม่อาจรู้ตัวเลยว่าเป็น การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะชิ้นเนื้อตับ Liver biopsy มาตรวจเพื่อดูปริมาณไขมันและการอักเสบรวมถึงระดับผังผืดในตับ
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ
- โรคอ้วน ประมาณร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับอยู่ด้วย ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 25-30) ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ผุ้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ผู้ที่มีไขมันดี หรือ HDLต่ำ (ผุ้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
- ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น ดื่มชาเขียวที่มีรสหวานแทนน้ำ
แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ
- หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น 0.25-0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ จนกระทั่งน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง แล้วตามด้วยการยกน้ำหนักแบบแรงกระแทกต่ำ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ
- หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ที่มา : ข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลศิริราช

POW พาว น้ำสมุนไพรพลูคาว ขนาด 375 ml พาวเอสเซ้นส์
พาวน้ำขวดเล็กพกพาสะดวก พาวน้ำประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 11 ชนิด โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก และประกอบไปด้วยสมุนไพร ใบมะรุม มะขามป้อม ลูกยอ กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม เจียวกู้หลาน

ซุยยากุ โกลด์ คอฟฟี่ การแฟสมุนไพรสกัดเข้มข้น
ซุยยากุ กาแฟสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์ 9 ชนิด ปราศจากน้ำตาล