โรคหนังแข็ง โรคที่พบยากแต่ทุกข์ทรมาน
ปรับปรุงล่าสุด : 19 มกราคม 2565โรคหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ซึ่งคาดว่าเกิดเป็นนโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนออกมามากเกินไป ทำให้ผิวหนังแข็งตึงและหนา ปลายนิ้วเขียวคล้ำ ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น ผู้ป่วยหลายรายได้รับผลกระทบไปถึงโครงสร้างใต้ผิวหนัง เช่น หลอดเลือด อวัยวะภายใน และระบบทางเดินอาหาร พบบ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 30-50 ปี
“แล้วอะไรล่ะ!!! ที่จะบ่งบอกว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคนี้ !!!”
อาการของโรคจะแตกต่างกันออกไปตามบริเวณที่เกิดขึ้น ดังนี้
- ผิวหนัง มีลักษณะแข็งและหนาเป็นปื้นรูปวงรีหรือเป็นเส้นตรง หรืออาจครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างที่ลำตัวหรือแขนและขา โดยขนาดและตำแหน่งการเกิดจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของโรค นอกจากนั้น ที่บริเวณดังกล่าวอาจมันวาวเพราะผิวตึงและทำให้อวัยวะบริเวณนั้นเคลื่อนไหวไม่สะดวก
- นิ้วมือหรือนิ้วเท้า เป็นแผลหรือมีอาการเจ็บปวดที่ปลายนิ้วมือ พอง บวม นิ้วเปลี่ยนเป็นสีซีดหรือแดง หรือที่เรียกว่า ภาวะเรเนาด์ (Raynaud's Phenomenon)
- มีจุดสีแดงขึ้นบนหน้าอกและใบหน้า หรือที่เรียกว่าภาวะเส้นเลือดฝอยขยายตัว (Telangiectasia)
- ข้อต่อมีอาการบวมหรือเจ็บปวด
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปากหรือตาแห้งหรือที่เรียกว่าโรคโจเกรน (Sjogren's Syndrome)
- หายใจตื้น
- แสบร้อนกลางอก
- ท้องเสีย
- น้ำหนักลด
- ระบบย่อยอาหาร ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ซึ่งสสร้างความเสียหายให้กับหลอดอาหารส่วนที่ใกล้กับกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร เพราะกล้ามเนื้อลำไส้ทำงานไม่ปกติ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ปอดและไต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษาโรคหนังแข็ง
เน้นการรักษาตามอาการเป็นหลัก เช่นให้ยาที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการสร้างและสะสมตัวของสายใยคอลลาเจนในอวัยวะต่าง ๆ ที่เกิดมากผิดปกติ ให้ยาขยายหลอดเลือดเพื่อลดอาการปลายนิ้วซีดเขียวและลดอาการปวด ในกรณีที่มีอาการกลืนลำบาก ปวดแสบท้องบริเวณลิ้นปี่ ให้ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร หรือ ยาที่ช่วยการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ผู้ป่วยบางรายสามารถหยุดพักการรักษาได้เมื่อโรคสงบลง เนื่องจากอาการรุนแรงไม่เท่ากันในแต่ละราย ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งแต่ละคนจึงได้รับการรักษาไม่เหมือนกัน
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสความเย็น, อากาศเย็น ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น อาการของโรค เช่น ปลายนิ้วมือ ซีด เขียวปวด จะกำเริบมากขึ้น
- หยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น
- ควรทำกายภาพบำบัด นิ้วมือเพื่อป้องกันการติดยึด และข้อผิดรูปของนิ้วมือ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือการทำงานที่จะก่อให้แผลบริเวณปลายนิ้ว
- ออกกำลังกายบริเวณหัวไหล่ โดยการหมุนหัวไหล่ในท่าขว้างลูกบอล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณปลายนิ้ว
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนลำบาก, หายใจลำบาก อึดอัด เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
- มารับการตรวจและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
ข้อมูลอ้างอิง :
Pobpad.com/โรคหนังแข็ง
Siriraj E-public Library/โรคหนังแข็ง ผศ.พญ.ปภาพิต ตู้จินดา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
POW DERLA พาวเดอร์ล่า
พาวเดอร์ล่า คือ การต่อยอดของพาว มาในรูปแบบผงชง ประกอบด้วยส่วนผสม 20 ชนิดใน 1 ซอง
POW พาวน้ำ 375 ml พาวเอสเซ้นส์ น้ำสมุนไพรพลูคาว
พาวน้ำขวดเล็กพกพาสะดวก พาวน้ำประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 11 ชนิด โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก และประกอบไปด้วยสมุนไพร ใบมะรุม มะขามป้อม ลูกยอ กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม เจียวกู้หลาน