ภูมิแพ้ผิวหนัง สาเหตุ การป้องกัน

ปรับปรุงล่าสุด : 1 กุมภาพันธ์ 2565

ภูมิแพ้ผิวหนัง สาเหตุ การป้องกัน #1

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากสาเหตุได้หลายอย่าง แต่ปัจจัยหลัก ๆ มักเริ่มต้นมาจากร่างกายของตนเองมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันมาก่อน ส่งผลให้เมื่อผิวหนังพบเจอกับสิ่งแวดล้อมภายนอกก็มักเกิดอาการแพ้จนมีผื่นแดง คันขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของผิวหนัง อะไรบ้างคือสาเหตุที่ทำให้ผื่นนี้กำเริบมากขึ้น

  1. สภาวะแวดล้อม เช่น สภาวะที่มีละอองเกสร ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น
  2. เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แทรกซ้อนทำให้เกิดการติดเชื้อ ผิวหนังที่อักเสบอยู่แล้วกำเริบขึ้นมาได้ 
  3. ฤดูกาล ผื่นผิวหนังอักเสบมักมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว เพราะความชื้นในอากาศต่ำ อากาศแห้ง เย็น ทำให้ผิวหนังคันและเป็นผื่น  ซึ่งก็มีบางรายที่อาการมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนทำให้เหงื่อออกมากเกิดอาการคันได้เช่นกัน
  4. เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับที่มีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์ จะทำให้เกิดการคันมากขึ้น
  5. สบู่ ครีม โลชั่น และผงซักฟอก น้ำยาซักล้าง สารเคมีเหล่านี้มีฤทธิ์ละลายไขมัน หรือ/และอาจมีส่วนประกอบที่ก่อนอาการระคายเคืองแก่ผิวหนังได้ง่าย
  6. อาหาร ในกลุ่มผู้ป่วยประมาณ 10% พบว่า อาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นแย่ลง มักพบในผู้ป่วยเด็ก อาหารที่แพ้เช่น นม ไข่ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์บางประเภท
  7. ความเครียด จิตใจที่มีความวิตกกังวลทำให้อาการของโรคกำเริบได้เช่นกัน
ผื่นคันภูมิแพ้ผิวหนัง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่มีแนวโน้มว่ามาจากพันธุกรรม และปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย 

การป้องกันภูมิแพ้ผิวหนัง

  1. ทำความสะอาดร่างกายและล้างมืออยู่เสมอ
  2. ใช้สบู่อ่อนๆ ไม่มีน้ำหอม ไม่มีสารกันเสีย และอ่อนโยนต่อผิว
  3. ทาโลชั่นที่มีความอ่อนโยนต่อผิวและมี Moisturizer อย่างสม่ำเสมอทุกครั้งหลับอาบน้ำ เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
  4. หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดมาก เสื้อผ้าที่เนื้อหยาบหนา หรือผ้าขนสัตว์ ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิว
  5. หลีกเลี่ยงสารที่ก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร แมลง และที่ยุงชุกชุม
  6. หลี่กเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อนจัด หรือหนาวจัด
  7. หลี่กเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย เช่น ไข่ นมวัว แป้งสาลี อาหารทะเล ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และได้รับการตรวจยืนยันว่าแพ้อาหารชนิดนั้นแล้วจริงๆ
  8. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

ข้อมูลอ้างอิง : ข้อมูลสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพ
บทความสุขภาพ ไขข้อสงสัยกับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
บทความสุขภาพ โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ผิวหนัง คณะแพทย์ศาสาตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Khampo.com

สนใจสินค้า หรือ ต้องการพูดคุยปรึกษา เรื่องการดูแลสุขภาพ ติดต่อสอบถามพวกเรา KHAMPO.com (คำโพธิ์ด๊อดคอม) ได้เสมอค่ะ