เบาหวาน เสี่ยงโควิด
ปรับปรุงล่าสุด : 31 กรกฎาคม 2563โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่าง "เบาหวาน" เป็น 1 ใน 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบของผู้ป่วย COVID-19 แล้วคนเป็นเบาหวานต้องดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผย 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบของผู้ป่วย COVID-19 ได้แก่
- อายุมากกว่า 60 ปี
- ภาวะอ้วน
- มีภูมิค้มกันบกพร่อง
- โรคถุงลมโป่งพอง
- โรคหัวใจวาย
- โรคไตวายเรื้อรัง
- โรคตับแข็ง
- โรคเบาหวาน
สำหรับ COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนา (coronavirus) ชนิดใหม่ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งอาการมีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงอาการหนัก ในผู้ป่วยบางราย coronavirus สามารถทำให้เกิดปอดติดเชื้อ ภาวะไตล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้เชื้อไวรัสนี้ติดต่อได้จากเสมหะหรือน้ำลายขณะไอ จาม หรือพูดคุย
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า COVID-19 มีการระบาดทั่วโลก และตอนนี้ยังไม่มียาหรือวัคซีนสำหรับรักษาและป้องกัน COVID-19 โดยเฉพาะ ลักษณะอาการทั่วไปจะคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา ได้แก่ ไข้ ไอ หรือจาม หายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว
ผู้ป่วยจะมีอาการ 3-7 วันหลังจากสัมผัสไวรัสชนิดนี้ แต่บางรายอาจใช้เวลาถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการ ประชากรทุกกลุ่มอายุสามารถติดไวรัสนี้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ (มากกว่า 80%) COVID-19 มีอาการไม่รุนแรงเหมือนไข้หวัดทั่วไป หรืออาจไม่มีอาการเลย ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นที่ต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยประมาณ 15% อาจมีอาการรุนแรง และ 5% อาการรุนแรงมาก ซึ่งควรไปพบแพทย์
กลุ่มผู้สูงอายุและคนที่มีโรคประจำตัว
ผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคร่วม เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหอบหืด มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อ COVID-19 ได้รุนแรงกว่า ผู้เป็นเบาหวานที่มีการติดเชื้อ การคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะผันผวนและควบคุมได้ยาก ส่งผลทำให้เกิดภาวแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ อธิบายได้จาก 2 เหตุผล เหตุผลแรกคือภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และ อีกเหตุผลคือเชื้อมักเจริญเติบโตได้ดีในภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง
ข้อควรระมัดระวังเเละหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
- ล้างมือสม่ำเสมอ ควรล้างมือและทำให้มือแห้งสะอาดก่อนสัมผัสใบหน้า
- ทำความสะอาดวัตถุหรือบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ
- เวลาไอหรือจาม ควรนำต้นแขนหรือข้อพับแขนมาปิดบริเวณปากและจมูก ไม่ควรใช้มือปิด เนื่องจากมืออาจไปสัมผัสวัตถุสิ่งของอื่นต่อ เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
- หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงต่อโรคไวรัสนี้ เช่น ไอหรือจาม
- คอยแนะนำหรือพูดคุยกับคนในครอบครัวถึงการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ เช่น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถโดยสารที่แออัด คุณควรหลีกเลี่ยงการไปเที่ยว หรือคุณควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีผู้คนชุมนุมกันจำนวนมาก
- ถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีอาการหรือสงสัยจะป่วย โปรดพักผ่อนอยู่บ้าน และโทรศัพท์เพื่อขอคำแนะนำได้ที่ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 1422 หรือสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 1669
Credit : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข