จุลินทรีย์ ที่อยู่ในร่างกาย ของเรา

ปรับปรุงล่าสุด : 29 มีนาคม 2566

Akkermansia จุลินทรีย์รักษาสมดุลภูมิคุ้มกัน

จุลินทรีย์พระเอกของสุขภาพร่างกายเรา ทำหน้าที่ผลิตกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acid) ที่ช่วยเสริมทัพความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้แก่ กรดแอซิติก กรดโพรพิโอนิก และกรดบิวทิริก แถมยังช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็ง เร่งการเผาผลาญไขมัน กำจัดไขมันเลวในระบบไหลเวียนโลหิต และยังช่วยบำรุงรักษาผนังลำไส้ให้แข็งแรงอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยฟื้นฟูสภาพตับให้กลับมาแข็งแรงอีกด้วย

Bifidobacterium จุลินทรีย์ช่วยย่อยอาหาร และลดการอักเสบ

จุลินทรีย์ตัวเก่งที่จะช่วยให้เราย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น ใครที่อาหารไม่ค่อยย่อยต้องเติมจุลินทรีย์ตัวนี้ แถมยังช่วยลดการอักเสบและช่วยผลิตกรดไขมันสายสั้น (Short chain fatty acids) ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน อ้วนลงพุง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็งอีกด้วย โดยปกติจุลินทรีย์เหล่านี้จะอาศัยอยู่ในช่องปาก ลําไส้ และช่องคลอด

Clostridium histolyticum จุลินทรีย์สะสมไขมัน

จุลินทรีย์นักสะสมไขมัน ส่วนใหญ่ถูกพบในคนอ้วน และถึงแม้จะเลือกกินน้อยซักแค่ไหน ก็ไม่ผอมซักที แล้วรู้ไหมว่า เด็กที่คลอดจากแม่ที่มีภาวะน้ำหนักเกินนั้น ก็จะมีจุลินทรีย์เหล่านี้ในลำไส้ของเด็กมากกว่าปกติ เพราะจุลินทรีย์สามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูกได้ ดังนั้นคุณแม่ทั้งหลายที่เริ่มตั้งครรภ์ควรต้องเริ่มดูแลตัวเอง หันมาใส่ใจจุลินทรีย์ในลำไส้ของคุณด้วย.

Lactobacillus plantarum จุลินทรีย์เผาผลาญไขมัน

จุลินทรีย์ผู้ทรงอิทธิพลต่อสุขภาพของมนุษย์และอุตสาหกรรมอาหาร จุลินทรีย์ชนิดนี้สามารถผลิตเอนไซม์บางชนิด ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายไขมัน (Lipid metabolism) ช่วยลดการสะสมไขมันบริเวณหน้าท้องและบริเวณตับ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รักษาสมดุลของลำไส้ และลดความเสี่ยงของการเกิดเซลล์มะเร็ง

Ruminococcus จุลินทรีย์ย่อยผัก

จุลินทรีย์ผู้ช่วยย่อยผักและผลไม้ โดยปกติแล้วใยอาหารจากการรับประทานผักและผลไม้ จะช่วยเรื่องการขับถ่าย แต่ใยอาหารเหล่านี้จะปราศจากคุณค่าทางโภชนาการ เพราะร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ซึ่งเจ้า Ruminococcus ตัวนี้ สามารถย่อยใยอาหารเหล่านี้ได้ แล้วได้เป็นกรดไขมันสายสั้น (Short chain fatty acids) ที่จะช่วยเรื่อง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การขับถ่าย และกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้เป็นปกติ บางชนิดของจุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถย่อยเซลล์ เยื่อบุลำไส้ของมนุษย์

ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอีกชนิดหนึ่งได้ หากมีจุลินทรีย์ดังกล่าวมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการอักเสบ นำไปสู่ภาวะลำไส้รั่วได้

Fusobacterium จุลินทรีย์สร้างสารอักเสบ

จุลินทรีย์ตัวร้ายที่อาจจะซุกซ่อนอยู่ในร่างกายคุณ ซึ่งส่วนมากมันจะอยู่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังเป็นจุลินทรีย์ที่คอยฉวยโอกาสเจริญเติบโตในลำไส้อีกด้วย หากเกิดภาวะไม่สมดุลของจุลินทรีย์ (Gut dysbiosis) ร่างกายจะตอบสนองต่อจุลินทรีย์ชนิดนี้ โดยอาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เกิดการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกาย แสดงออกมาเป็นภาวะผิดปกติต่างๆ เช่น ภูมิแพ้ โรคเบาหวาน ลำไส้แปรปรวน ภาวะไขมันพอกตับ

แล้วเราจะลดปริมาณเจ้าพวกนี้ได้อย่างไร? การลดอาหารประเภทไขมันสูงและเนื้อแดงช่วยได้ หรือการเลือกรับประทาน โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์เพิ่ม ได้แก่ โยเกิร์ต ชาหมักคอมบูชา กิมจิ ผง FOS

Shigella and Escherichia จุลินทรีย์ก่อโรคทางสมอง

จุลินทรีย์ตัวการหลักของโรคยอดฮิตของคนยุคนี้ นั่นก้อคือ ไมเกรน ซึมเศร้า อัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทอักเสบ และสมองเสื่อม หนึ่งในจุลินทรีย์กลุ่มหลักที่พบในผู้ที่มีภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล (Gut dysbiosis) และผนังลำไส้รั่ว จุลินทรีย์ชนิดนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างสารเหนี่ยวนำการอักเสบ (Pro-inflammatory cytokines) เมื่อไรก็ตามที่สารชนิดนี้เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดการเสียคุณสมบัติของการควบคุมกลไกปกป้องสมอง ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในสมอง และส่งผลให้พัฒนาไปเป็นโรคทางสมองได้ จุลินทรีย์ชนิดนี้ เกิดขึ้นได้จากการที่เรารับประทานน้ำหรืออาหารที่ไม่สะอาด นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ยังพบในคนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือคนที่มีภาวะลำไส้รั่ว (Leaky gut) และจุลินทรีย์ขาดความสมดุล (Gut dysbiosis)

Leukocytes เม็ดเลือดขาว

มาถึงผู้พิทักษ์ร่างกาย แต่กลับกลายเป็นตัวทำให้เราเป็นภูมิแพ้ ปกติเมื่อลำไส้เกิดอาการอักเสบอยู่บ่อยๆ เข้า จนถึงขั้นเรื้อรัง เซลล์บริเวณผนังลำไส้ตรงรอยต่อของเเต่ละเซลล์ จะถูกทำให้เสียหาย และเกิดเป็นลำไส้รั่ว หรือ leaky gut ทำให้พวกจุลินทรีย์ หรือสิ่งเเปลกปลอมอื่นๆ สามารถหลุดลอดไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ เจ้าเซลล์เม็ดเลือดขาว ก็จะเป็นผู้ช่วยทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาภายในร่างกาย จึงเกิดการอักเสบบริเวณต่างๆ ในร่างกาย ผลจากการอักเสบที่พบเห็นได้ชัดเจน คือ โรคภูมิแพ้ ส่วนในรายที่เป็นหนักอาจจะถึงขั้นกลายเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง

ที่มา : www.modgut.com

Khampo.com

สนใจสินค้า หรือ ต้องการพูดคุยปรึกษา เรื่องการดูแลสุขภาพ ติดต่อสอบถามพวกเรา KHAMPO.com (คำโพธิ์ด๊อดคอม) ได้เสมอค่ะ