ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล

ปรับปรุงล่าสุด : 10 กุมภาพันธ์ 2565

ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล #1

ผักเชียงดามีคุณประโยชน์มากมาย แต่สรรพคุณที่เด่นชัดก็คือ การถูกเรียกว่าเป็นผู้ฆ่าน้ำตาล ทั้งนี้รากศัพท์จากชื่อวิทยาศาสตร์ของผักเชียงดา คือ จิมนีมา (GYMNEMA) มาจากคำที่มีรากศัพท์ของภาษาฮินดูในประเทศอินเดียว่า เกอร์มาร์ (GURMAR) ซึ่งแปลตรงตัวว่าผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ของทางเดินอาหารในคน และ สัตว์ได้

เมื่อเคี้ยวผักเชียงดาแล้วลองรับประทานน้ำตาลทรายตามเข้าไปจะทำให้ไม่สามารถรับรู้รสหวานได้ และอีกประการหนึ่งคือ ผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ของทางเดินอาหารในคน และ สัตว์ได้ โดยพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์นี้คือ จิมนีมิคแอซิด (GYMNEMIC ACID) ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่สกัดได้จากใบและรากของผักเชียงดา โดยลักษณะโครงสร้างทางเคมีของ จิมนีมิคแอซิด มีการจัดเรียงตัวของอะตอมในโมเลกุลคล้ายกับโมเลกุลของน้ำตาล ดังนั้นเมื่อมีการรับประทานผักเชียงดาเข้าไปแล้ว โมเลกุลของ จิมนีมิคแอซิด จะเข้าไปจับกับตัวรับของปุ่มรับรสหวานในปาก โดยใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง จึงไปขัดขวางการทำงานของปุ่มรับรสหวานจากการกระตุ้นโดยโมเลกุลของน้ำตาลที่อยู่ในอาหาร ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหลังจากรับประทานผักเชียงดาแล้วตามด้วยอาหารที่มีรสหวานถึงไม่รับรู้ถึงความหวานของอาหารนั้นได้

ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล #3

นอกจากการยับยั้งการทำงานของตัวรับของปุ่มรับรสในปากแล้ว ในส่วนของลำไส้เล็กก็จะพบโครงสร้างที่คล้ายกันกับตัวรับที่พบในปากตรงบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกที่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในผนังของลำไส้เล็ก ดังนั้นด้วยกลไกการยับยั้งที่คล้ายกันจึงทำให้สามารถยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็กได้ ดังนั้นจึงได้มีการนำผักเชียงดามาทำเป็นสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลที่มากเกินความต้องการของร่างกาย

ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล #2

นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยที่ยืนยันว่าผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหารได้โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างของคนที่รับประทานแคปซูลของผักเชียงดาเข้าไปหลังจากรับประทานกลูโคสทันทีหรือหลังจากรับประทานกลูโคสเป็นเวลา 15 นาที จะพบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคของแคปซูลเป็นสองเท่าพบว่าปริมาณของกลูโคสลดลงมากกว่ากรณีแรก รวมทั้งยังได้มีการศึกษาผลของแคปซูลจากผักเชียงดาต่อความเป็นพิษต่อตับซึ่งก็พบว่าผักเชียงดาไม่มีพิษต่อตับ

Khampo.com

สนใจสินค้า หรือ ต้องการพูดคุยปรึกษา เรื่องการดูแลสุขภาพ ติดต่อสอบถามพวกเรา KHAMPO.com (คำโพธิ์ด๊อดคอม) ได้เสมอค่ะ