สัญญาณวัยทอง
ปรับปรุงล่าสุด : 4 กุมภาพันธ์ 2565วัยหมดประจำเดือนปกติร่างกายผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกสร้างขึ้นจากรังไข่ทำให้มีประจำเดือน แต่เมื่อใดที่รังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนส่งผลทำให้ไข่ไม่ตก และไม่ผลิตประจำเดือนเป็นเวลาติดต่อกัน 12 เดือน ผู้หญิงวัยทองพบบ่อยในช่วงอายุ 49–55 ปี วัยทองสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงอายุน้อยประมาณ 30–40 ปี หรือที่เรียกว่า วัยทองก่อนวัย คือ ภาวะที่รังไข่ของผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ผู้หญิงสามารถสังเกตสัญญาณเตือนจากร่างกายของตัวเองได้ว่ากำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือไม่
“วัยทอง เป็นระยะเริ่มของการหมดประจำเดือนทำให้สตรีมีประจำเดือนมาผิดปกติ ร่วมกับมีอาการต่าง ๆ ทางร่างกาย”
อาการร้อนวูบวาบเนื่องจากร่างกายของผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนลดลง ทำให้สมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายบริเวณผิวหนังร้อนขึ้นกว่าปกติ
มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ใจสั่น วิตกกังวล เกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป และมีระดับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนน้อยเกินไปทำให้ร่างกายเสียสมดุล
ความเต่งตึงและชุ่มชื้นของผิวหนังลดลง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ผิวพรรณแห้งกร้าน เหี่ยวย่น ขาดความชุ่มชื้น และเต่งตึง
มีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก เกิดจากการขาดฮอร์โมนทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นและมีเหงื่อไหลออกในตอนกลางคืน ปวดเมื่อยตามร่างกาย
หลงลืมง่าย มักเกิดในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป ความจำจะค่อยๆลดลงเป็นผลมาจากเซลล์สมองส่วนความจำ เสื่อมตัวลงเรื่อยๆ
ปัญหาของช่องคลอดแห้ง และมีความรู้สึกทางเพศลดลง เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตน้ำหล่อลื่นลดลง ส่งผลทำให้มีอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์หรืออาจมีเลือดออกตามมาได้เช่นกัน
ช่วงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงจะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 5 ปีแรก ทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง กระดูกข้อสะโพกและข้อมือ ทำให้เกิดปัญหาการเดินและการเคลื่อนไหวร่างกายตามมา
ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ส่วนใหญ่เกิดจากการหย่อนยานของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน พบบ่อยเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ใจสั่น มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป และมีระดับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนน้อยเกินไปทำให้ร่างกายเสียสมดุล
ประจำเดือนมาไม่แน่นอนเนื่องจากรังไข่ผลิตฮอร์โมนโมนเอสโตรเจนเริ่มลดลงส่งผลทำให้การตกไข่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย
คำแนะนำ
ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สำหรับวัยทอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง