ยาเบาหวาน ชนิดรับประทาน

ยา<strong>เบาหวาน</strong> ชนิดรับประทาน #1

ยาลดระดับน้ำตาล หรือ ยาเบาหวานชนิดรับประทาน ยาเบาหวาน ชนิดรับประทานใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน ยาชนิดรับประทานมีหลายชนิด ซึ่งออกฤทธิ์แตกต่างกันไป

ยาที่แพทย์มักให้กับผู้ป่วยเบาหวานเป็นชนิดแรกคือ ยาเมทฟอร์มิน ซึ่งมักมีลักษณะเป็นยาเม็ดใหญ่ออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ ยาเมทฟอร์มินรับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นผลข้างเคียงของยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการ แน่นท้อง เบื่ออาหาร การรับประทานพร้อมอาหารจะลดอาการข้างเคียงของยานี้อาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ในผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไตทำงานไม่ดี ดังนั้น หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก หายใจเร็วหลังรับประทานยานี้ ต้องรีบมาพบแพทย์

ยาเบาหวาน ชนิดรับประทานใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในเบาหวานชนิดที่ 1

เมื่อใช้ยาเมทฟอร์มินเป็นยาตัวแรกแล้ว หากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ หรือหากระดับน้ำตาลสูงมากตั้งแต่ต้น แพทย์จะพิจารณาให้ยาเพิ่มเติมตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ยาที่ผู้ป่วยมักจะได้รับต่อจากเมทฟอร์มินคือยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียซึ่งมักมีลักษณะเป็นยาเม็ดเล็ก ยาในกลุ่มนี้รับประทานวันละ 1-2 ครั้งโดยยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือน้ำตาลในเลือดต่ำ ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับยากลุ่มนี้ จึงควรรับประทานอาหารหลังจากทานยาไม่เกิน 30 นาที กินอาหาร ออกกำลังกายให้ตรงเวลา และพกน้ำตาลก้อนหรือน้ำหวานติดตัวไว้เสมอ เพื่อใช้เวลาที่มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งอาจมีอาการใจสั่น หิวข้าว หลงลืม จนถึงไม่รู้สึกตัวได้

หากมีอาการน้ำตาลต่ำเกิดขึ้นบ่อยหรือยังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้เมื่อได้รับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียและเมทฟอร์มิน แพทย์อาจเปลี่ยนยาหรือเพิ่มยาเบาหวานที่ออกฤทธิ์แบบอื่นครับ

Credit : พลอากาศโท นายแพทย์ อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

พาวน้ำ ขวดใหญ่ POW พาวเอสเซ้นส์ พาวน้ำพลูคาว

พาวซุยยากุเอสเซนส์ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น พาวซุยยากุเอสเซนส์ หรือพาวน้ำ  ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ประกอบด้วยพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรอื่น 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจี...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

การออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวาน

การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ให้ผลคล้ายกับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งช่วยนำน้ำตาลในเลือดออกไปใช้ที่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ขั้นตอนการออกกำลังกาย ประกอบด้วย 3ขั้นตอน เหมือนการออกกำลังกายปกติWarm upTraining zone exerciseCo...

อ่านต่อ

เบาหวาน เสี่ยงโควิด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่าง "เบาหวาน" เป็น 1 ใน 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบของผู้ป่วย COVID-19 แล้วคนเป็นเบาหวานต้องดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผย 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบของผู้ป่วย COVID-19 ...

อ่านต่อ

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ มีดีอย่างไร

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ จะพบได้ในเห็ด ยีสต์สุรา และยีสต์ขนมปัง หรือพูดง่ายๆก็คือ ยีสต์เบต้ากูลแคน เป็นเบต้ากูลแคนที่สกัดจากยีสต์นั่นเอง  มีผลการศึกษาจากหลายชิ้นงาน พบว่า ยีสต์เบต้ากลูแคน มีประสิทธิภาพช่วยฟื้นฟูการทำงานของภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้ และม...

อ่านต่อ