รู้ทันโรคเบาหวาน

รู้ทันโรค<strong>เบาหวาน</strong> #1

เบาหวาน เป็นโรคยอดฮิตที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก อัตราตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอาจจะเข้าใจผิดว่าสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน คือการกินหวาน หรือกินน้ำตาลเพียงอย่างเดียวแต่อันที่จริงแล้ว

สาเหตุของโรคเบาหวานนั้นมีมากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวาน

เราสามารถจำแนกโรคเบาหวานตามสาเหตุการเกิดได้ 4 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่1, เบาหวานชนิดที่2, เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่คนส่วนใหญ่มักสับสนคือ เบาหวานชนิดที่1 และ เบาหวานชนิดที่2 เราจึงควรเข้าใจความแตกต่าง ระหว่างเบาหวานชนิดที่1 และเบาหวานชนิดที่2 ให้ถูกต้องมากขึ้น เพื่อจะได้รับมือและรักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

โรคเบาหวานชนิดที่1

จัดเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune disease)ซึ่งหมายถึง ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายเบต้าเซลล์ (Beta cell) ในตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน จนร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินที่คอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Glucose Level) ได้ตามปกติ อีกทั้งทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดที่เกิดจากกรดคีโตนคั่ง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินเข้าร่างกาย เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและไม่เกิดภาวะกรดคีโตนคั่ง

โรคเบาหวานชนิดที่2

เกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการ ที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance ) จึงไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนเป็นโรคเบาหวาน

ความแตกต่างโดยทั่วไปของเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type 1)

  • มักพบในเด็กและวัยรุ่น โดยพบมากในช่วงอายุ 4-7ปี และ 10-14ปี
  • ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก หรือรูปแบบการใช้ชีวิต
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการวินิจฉัยจากที่มีภาวะเลือดเป็นกรด จากกรดคีโตนคั่ง
  • รักษาด้วยการฉีดอินซูลิน หรืออินซูลินปั๊ม
  • หากไม่ใช้อินซูลิน จะควบคุมอาการของโรคไม่ได้
  • เบาหวานชนิดที่ 1 ยังไม่มีวิธีป้องกันได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type 2)

  • มักพบในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะเสี่ยงเบาหวาน (Prediabetes) คือ น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเล็กน้อย กลุ่มนี้ จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • หากมีคนในครอบครัว เป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2 จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
  • ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือมีภาวะอ้วนลงพุง จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักตรวจพบว่ามีระดับความดันโลหิตสูง
  • มักไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • ส่วนใหญ่ หากยังอยู่ในระยะเริ่มแรก และระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงมาก สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยา
  • สามารถป้องกัน ชะลอ หรือควบคุมอาการได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารมีประโยชน์

การป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่1 ไม่สามารถป้องกันได้ ต้องรักษาด้วยการใช้ยาฉีดอินซูลินเข้าร่างกายเป็นประจำ โดยแพทย์จะเป็นผู้กำหนดว่าผู้ป่วยแต่ละรายต้องฉีดอินซูลินเข้าร่างกายปริมาณเท่าใด

ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่2 สามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงได้ด้วยการใช้ชีวิตประจำวันแบบดีต่อสุขภาพ เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี อย่าปล่อยให้อ้วน ลงพุง สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว ร่วมกับการกินยาตามแพทย์สั่ง หากคุณดูแลร่างกายดีๆ อาจไม่จำเป็นต้องกินยารักษาเบาหวานไปตลอด

รู้ทันโรค<strong>เบาหวาน</strong> #2


ที่มาของบทความ:diabetescareth (เขียนบทเรียง โดย ทีม Hello Khunmorทบทวนบทความ โดย แพทย์หญิงรุ่งนภา ลออธนกุล)

พาวน้ำ ขวดเล็ก POW พาวเอสเซ้นส์ น้ำสมุนไพรพลูคาว

พาวน้ำขนาดใหม่  375 ml. พกพาสะดวกพาวน้ำ หรือ พาวซุยยากุเอสเซ้นส์ พาวขวดเล็ก พกพาสะดวก และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองทาน อัดแน่นด้วยส่วนผสมสมุนไพรที่มีประโยชน์เหมือนเดิม ประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 11 ชนิด ได้แก่ พลูคาว ใบมะรุม ลูกยอ กระชายดำ ตังกุย เห...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

การรักษาเบาหวานขึ้นตา

การรักษาเบาหวานขึ้นตา การรักษามีจุดประสงค์เพื่อชะลอหรือยับยั้งอาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยวิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของอาการ โดยวิธีรักษาแต่ละวิธีจะมีลักษณะดังต่อไปนี้เบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรกการรักษาเบาหวานขึ้นตาระยะเริ่...

อ่านต่อ

ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดามีคุณประโยชน์มากมาย แต่สรรพคุณที่เด่นชัดก็คือ การถูกเรียกว่าเป็นผู้ฆ่าน้ำตาล ทั้งนี้รากศัพท์จากชื่อวิทยาศาสตร์ของผักเชียงดา คือ จิมนีมา (GYMNEMA) มาจากคำที่มีรากศัพท์ของภาษาฮินดูในประเทศอินเดียว่า เกอร์มาร์ (GURMAR) ซึ่งแปลตรงตัวว่าผู้ฆ่าน...

อ่านต่อ

9 อาการ เตือน โรคเบาหวาน

กว่าจะรู้ตัว ก็เป็นเบาหวานเสียแล้ว สังเกตตัวเองว่าเข้าข่ายไปแล้วกี่ข้อ 9 อาการเตือน โรคเบาหวาน ดังนี้ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ คอแห้งกระหายน้ำ หิวบ่อยกินจุกว่าเดิม ผิวหนังแห้งและคัน เป็นแผลแต่หายช้ากว่าปกติ อ่อนเพลียไม่มีแรง มีอาการตาพล่ามัวมองไม่ชัดเป็นช่...

อ่านต่อ

พาว การรับประทาน วิธีการเก็บรักษา

การรับประทานพาวมีลูกค้าหลายๆ ทานที่ซื้อพาวไป ได้สอบถามวิธีการรับประทานพาวมาหลายข้อความ วิธีทานพาว วิธีดื่มพาว มีข้อควรระวังอะไรบ้าง มีคำตอบดังนี้ครับ ควรเริ่มดื่มพาว วันละ 15ml. (ประมาณเกือบครึ่งแก้วตวง) หลังอาหาร มื้อใดก็ได้ ในกรณีมียาประจำที่ต้องท...

อ่านต่อ

จะเกิดอะไรขึ้น หากคุมเบาหวานไม่ได้

เบาหวาน เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาให้ให้ขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้ ซึ่งทำได้โดยไปพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังอาการดูแลและควบคุมอาการด้วยตนเอง ทั้งการกินอาหาร ออกกำลังกาย การกินยา รวมถึงการฉีดอินซูลิน(สำหรับผู้ป่วยบางราย)สามารถแบ่งกลุ่มผู...

อ่านต่อ