เบาหวาน เสี่ยงโควิด

<strong>เบาหวาน</strong> เสี่ยง<strong>โควิด</strong> #1

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่าง "เบาหวาน" เป็น 1 ใน 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบของผู้ป่วย COVID-19 แล้วคนเป็นเบาหวานต้องดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผย 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบของผู้ป่วย COVID-19 ได้แก่

  1. อายุมากกว่า 60 ปี
  2. ภาวะอ้วน
  3. มีภูมิค้มกันบกพร่อง
  4. โรคถุงลมโป่งพอง
  5. โรคหัวใจวาย
  6. โรคไตวายเรื้อรัง
  7. โรคตับแข็ง
  8. โรคเบาหวาน

สำหรับ COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนา (coronavirus) ชนิดใหม่ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งอาการมีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงอาการหนัก ในผู้ป่วยบางราย coronavirus สามารถทำให้เกิดปอดติดเชื้อ ภาวะไตล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้เชื้อไวรัสนี้ติดต่อได้จากเสมหะหรือน้ำลายขณะไอ จาม หรือพูดคุย

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า COVID-19 มีการระบาดทั่วโลก และตอนนี้ยังไม่มียาหรือวัคซีนสำหรับรักษาและป้องกัน COVID-19 โดยเฉพาะ ลักษณะอาการทั่วไปจะคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา ได้แก่ ไข้ ไอ หรือจาม หายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว

ผู้ป่วยจะมีอาการ 3-7 วันหลังจากสัมผัสไวรัสชนิดนี้ แต่บางรายอาจใช้เวลาถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการ ประชากรทุกกลุ่มอายุสามารถติดไวรัสนี้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ (มากกว่า 80%) COVID-19 มีอาการไม่รุนแรงเหมือนไข้หวัดทั่วไป หรืออาจไม่มีอาการเลย ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นที่ต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยประมาณ 15% อาจมีอาการรุนแรง และ 5% อาการรุนแรงมาก ซึ่งควรไปพบแพทย์

กลุ่มผู้สูงอายุและคนที่มีโรคประจำตัว

ผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคร่วม เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหอบหืด มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อ COVID-19 ได้รุนแรงกว่า ผู้เป็นเบาหวานที่มีการติดเชื้อ การคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะผันผวนและควบคุมได้ยาก ส่งผลทำให้เกิดภาวแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ อธิบายได้จาก 2 เหตุผล เหตุผลแรกคือภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และ อีกเหตุผลคือเชื้อมักเจริญเติบโตได้ดีในภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง

ข้อควรระมัดระวังเเละหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

  • ล้างมือสม่ำเสมอ ควรล้างมือและทำให้มือแห้งสะอาดก่อนสัมผัสใบหน้า
  • ทำความสะอาดวัตถุหรือบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ
  • เวลาไอหรือจาม ควรนำต้นแขนหรือข้อพับแขนมาปิดบริเวณปากและจมูก ไม่ควรใช้มือปิด เนื่องจากมืออาจไปสัมผัสวัตถุสิ่งของอื่นต่อ เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงต่อโรคไวรัสนี้ เช่น ไอหรือจาม
  • คอยแนะนำหรือพูดคุยกับคนในครอบครัวถึงการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ เช่น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถโดยสารที่แออัด คุณควรหลีกเลี่ยงการไปเที่ยว หรือคุณควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีผู้คนชุมนุมกันจำนวนมาก
  • ถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีอาการหรือสงสัยจะป่วย โปรดพักผ่อนอยู่บ้าน และโทรศัพท์เพื่อขอคำแนะนำได้ที่ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 1422 หรือสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 1669

Credit : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ชาสมุนไพรเลือดมังกร ฟรีค่าส่ง

ดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้ ดีกว่าเสียเงินไปหาหมอชาเลือดมังกร หรือ สมุนไพรเลือดมังกร ตราบ้านชาไทย ปลูกบนยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ณ บ้านห้วยน้ำกืน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ทำให้ได้ สมุนไพรเลือดมังกร ที่มีคุณภาพสูง ปลูกแบบออแกนนิค 10...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

ทำไมตัดสินใจเลือกพาว

ปัญหาสุขภาพมาแบบไม่เลือกอายุ ถึงแม้อายเพียง 37 ปี ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง กรดไหลย้อน ชอบทานหวาน  สุขภาพไม่ค่อยดีตั้งแต่อายุยังน้อย ทุกอาการรุมเร้า ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวัน พากังวล...

อ่านต่อ

น้ำตาล กับ อายุเพิ่มขึ้น

ไม่เป็นเบาหวานก็ต้องใส่ใจ เป็นเบาหวาน ยิ่งต้องใส่ใจ การคุมน้ำตาลไม่ใช่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานเท่านั้น การกิน “น้ำตาล” จะส่งผลอย่างไรเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และเราจะดูแลอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการอย่างไร มารู้จัก 5 ความรู้จากผลงานวิจัยทางการแพทย์ ที่ช่วยให้ค...

อ่านต่อ

พาวเดอร์ล่า คืออะไร

พาวเดอร์ล่า คือ การต่อยอดจากผลิตภัณฑ์พาวตัวเดิม ซึ่งยังคงนำโดยสารสกัดจากพลูคาวที่เป็นพระเอก เพิ่มเติมด้วยส่วนผสมจากสมุนไพรที่กรมการแพทย์แผนไทยแนะนำว่าดีต่อภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมภูมิ พร้อมด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและขับถ่าย และสารสกัด...

อ่านต่อ

ยาเบาหวาน ชนิดรับประทาน

ยาลดระดับน้ำตาล หรือ ยาเบาหวานชนิดรับประทาน ยาเบาหวาน ชนิดรับประทานใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน ยาชนิดรับประทานมีหลายชนิด ซึ่งออกฤทธิ์แตกต่างกันไปยาที่แพทย์มักให้กับผู้ป่วยเบาหวานเ...

อ่านต่อ

เข้าใจ โรคเบาหวาน

เรียนรู้ อยู่อย่างเข้าใจโรคเบาหวาน อยู่กับโรคเบาหวานอย่างไรให้มีความสุข ไม่ใช่ว่าจะต้องห้ามทานอาหารทุกๆ อย่าง แต่ต้องรู้ว่าควรกินได้ในปริมาณเท่าไหร่จึงไม่ก่ออันตราย“โรคเบาหวาน” ถ้าเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีคนเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นถึงสองเท่า...

อ่านต่อ