การเดินเร็ว ลดความดันได้

การเดินเร็วๆ หรือ Brisk Walk ช่วยลดความดันได้ดีพอๆ กับการวิ่ง การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญของการควบคุมความดัน หลายคนสงสัยว่าการเดินเร็วจะสามารถลดความดันได้เท่ากับการวิ่งจริงหรือ?

การเดินเร็ว 10-12 นาทีต่อกิโลเมตร หรือนับง่ายๆ คือ 100 ก้าวต่อนาที หรือ 4.5 ไมล์ต่อชั่วโมง

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญของการควบคุมความดันโลหิต

จากข้อมูลของ National Runners' Health Study โดยศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการควบคุมและดูแลสุขภาพ เทียบกันระหว่างการวิ่งและการเดินเร็ว โดยทำการศึกษาจากนักวิ่งทั้งหมด 33,000 คน และ คนที่เดินเร็ว 16,000 คน ตั้งแต่อายุ 18-80 ปี (ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 40-50 ปี) พบว่า

คนที่เลือกการวิ่ง สามารถลดความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูงได้ 4.2% ในขณะที่คนเดินเร็ว สามารถลดภาวะความดันโลหิตสูงได้ถึง 7.2%

คนที่เลือกการวิ่ง สามารถลดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงได้ 4.3% ในขณะที่คนเดินเร็ว สามารถลดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ 7%

คนที่เลือกการวิ่ง สามารถลดความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือดได้ถึง 4.5% ส่วนคนที่เดินเร็วสามารถลดความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือดได้ถึง 9.3 %

คนที่เลือกการวิ่ง สามารถลดความเสี่ยงภาวะเบาหวานได้ 12.1% ส่วนคนที่เดินเร็วสามารถลดความเสี่ยงภาวะเบาหวานได้ 12.3%

จะเห็นได้ว่า การเดินเร็วสามารถสร้างสมรรถนะของร่างกาย ในการดูแลหัวใจ และ เบาหวาน ได้ดีไม่แพ้กัน และ ที่สำคัญ ก่อนออกกำลังกาย ควรวัดความดัน และ ตรวจระดับน้ำตาลก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที

การเดินเร็ว สามารถสร้างสมรรถนะของร่างกาย และ ดูแลหัวใจ เบาหวาน ได้ดี เท่ากับการวิ่ง

ที่มา : FB Yuwell.thailand

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

ออกกำลังกาย ช่วงเวลาไหนดี

เช้า สาย บ่าย เย็น ช่วงไหนควรออกกำลังกายมากที่สุด ช่วงเวลาในการออกกำลังกายส่งผลต่อประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของเราหรือไม่?ออกกำลังกายตอนกลางวัน หรือ ตอนกลางคืนจากรายงานการศึกษาล่าสุดพบว่า ช่วงเวลาในการออกกำลังกาย ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญพลังงานหรือไม่...

อ่านต่อ

บลูสเปียร่า สารสกัดจากสาหร่ายสไปรูลิน่า

สารสกัด Blue Spira (บลูสเปียร่า) ส่วนผสมหลักใน พาวซูการ์คิว ผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ ไฟโคไซยานินสูงกว่าปกติ ไม่มีผลกับไต คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า สายพันธ์ Platensis ด้วยกรรมวิธีพิ...

อ่านต่อ

สมุนไพรเบาหวาน กับ โรคไต

เบาหวานเป็นโรคที่ต้องทานยาต่อเนื่องเป็นปีๆ ถ้าคุมไม่ดีก็มีแนวโน้มต้องทานยาไปตลอดชีวิต ซึ่งค่าไตก็จะค่อยๆ เสื่อมลงไปคงปฏิเสธไม่ได้ว่า หากต้องกินยาเคมีต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ โรคที่คนกลัวจะเป็นมากที่สุด คือ โรคไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นโรคเบาหวานจ...

อ่านต่อ

กดนวด ดวงตา อันตราย

ห้ามขยี้ตาเมื่อมีอาการระคายเคืองตา เพราะถ้าหากมือไม่สะอาด อาจนำเชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาได้ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น ตากุ้งยิง เป็นต้น บางรายหากขยี้แรงอาจมีผลกระทบต่อกระจกตา ทำให้กระจกตาผิดรูปหรือเสียรูปไปจากเดิม นำไปสู่ปัญหาสายตาตามมา นอกจาก...

อ่านต่อ

ไม่ควรกินมื้อดึก

การกินอาหารตั้งแต่ช่วง 22.00 น.เป็นต้นไป ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย หลายคนปฎิเสธไม่ได้เพราะ หน้าที่การงานแต่ละคนไม่เหมือนกันบางคนจำเป็นต้องกินดึกจริงๆ เพราะเป็นเวลาว่างของการทำงานช่วงกะดึก แต่สำหรับบางคนที่เวลาทำงานปกติ แต่กับติดกินมื้อดึกเกือบทุกวัน สาเห...

อ่านต่อ