พฤติกรรมเนือยนิ่ง

[[pic1]]
พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คำศัพท์ซึ่งมาพร้อมกับการใช้ชีวิตที่สะดวกและรวดเร็วจนขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ปรากฏและเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้เอง เป็นบ่อเกิดของกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนกว่าคนในแต่ละปี นั่นคือ ‘โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง’ (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs)

สืบเนื่องจาก การกักตัวเพื่อป้องกันตัวจากเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นผลให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกช่วงวัยเปลี่ยนไปในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนในรูปแบบออนไลน์ การทำงานในห้อง การพบปะสังสรรค์ ฯลฯ โดยสถิติระบุว่าคนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพราะต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัดเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 32 นาทีต่อวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสาเหตุนี้ก็ยิ่งทำให้สุขภาวะของคนไทยเริ่มถดถอย

พฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่เพียงแต่กระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอนาคตด้วย การให้ความสำคัญกับการเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่เร่งด่วน และประชาชนควรรับทราบถึงผลกระทบ สาเหตุ และวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างตรงจุด

หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

พฤติกรรมเนือยนิ่ง เกิดมาจากการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสมและขาดกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น การนั่งดูทีวี การท่องโลกโซเชียล การเรียนออนไลน์ การสั่งอาหารดิลิเวอรี การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปหรือน้ำตาลสูง เป็นต้น

วิธีแก้เริ่มต้นง่ายๆ เพียงหากิจกรรมที่ต้องขยับร่างกาย ลุกขึ้นยืดเส้นหรือเปลี่ยนท่าบ้างเวลาที่ต้องนั่งทำงานนานๆ หรือพยายามสร้าง Active Lifestyle ให้กับตัวเอง หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

การที่ร่างกายขาดการขยับเขยื้อน ระบบเมตาบอลิกในร่างกายจะทำงานแย่ลง รวมทั้งอันตราการเผาผลาญพลังงานเช่นกัน โดยพฤติกรรมเนือยนิ่งนี้เอง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) อันได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนคนต่อปี

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า หากต้องการมีสุขภาพที่ดี ปราศจากพฤติกรรมเนือยนิ่ง ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือทานผักอย่างน้อย 4 ขีดต่อวัน รวมทั้งมี ‘กิจกรรมทางกาย’ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และพักหน้าจอทุก ๆ 50 นาที ก็จะสามารถตัดพฤติกรรมเนือยนิ่งและป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

POW DERLA พาวเดอร์ล่า

พาวเดอร์ล่า POWDERLA  พาวรูปแบบใหม่ พาวผงชงดื่ม ได้ประโยชน์ อร่อย ชงง่าย โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย ขิง  กระชายขาว  ตรีผลา (สมอไทย มะขามป้อม สมอพิเภก) ใบหม่อน  ชะเอมเทศ  เก๊กฮวย  เจียวกู้หลาน  แป๊ะก๊วย  ใบบัวบก  งาดำ  สารสกัด...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

พาว การรับประทาน วิธีการเก็บรักษา

การรับประทานพาวมีลูกค้าหลายๆ ทานที่ซื้อพาวไป ได้สอบถามวิธีการรับประทานพาวมาหลายข้อความ วิธีทานพาว วิธีดื่มพาว มีข้อควรระวังอะไรบ้าง มีคำตอบดังนี้ครับ ควรเริ่มดื่มพาว วันละ 15ml. (ประมาณเกือบครึ่งแก้วตวง) หลังอาหาร มื้อใดก็ได้ ในกรณีมียาประจำที่ต้องท...

อ่านต่อ

อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลง

ระวัง! อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลงอาบน้ำทันทีหลังดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายได้รับกลูโคสไม่พอ เสี่ยงหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมหรือลื่นล้มในห้องน้ำอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย ต้องรอร่างกายหายเหนื่อยก่อน 10-15 นาที ถ้าอาบทันทีอาจเสี่ยงไม่สบาย หรือช็อกได้อาบน้ำท...

อ่านต่อ

รู้ทันโรคเบาหวาน

เบาหวาน เป็นโรคยอดฮิตที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก อัตราตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอาจจะเข้าใจผิดว่าสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน คือการกินหวาน หรือกินน้ำตาลเพียงอย่างเดียวแต่อันที่จริงแล้ว สาเหตุของโร...

อ่านต่อ

ลดไขมันเลว

โปรเจคลดเลว ด้วยนวัตกรรมแห่งอนาคตของคนไทย BlueSpira ที่วิจัยและทดสอบในอาสาสมัครจริง พิสูจน์ได้ว่าไขมันเลวลดลง 4เท่า! หยุดสัญญาณทำร้ายสุขภาพอันดับ 1 ใน 3 เดือนที่ทาน กับ Pow Zukar Q หากเป็นเรื่องสุขภาพ แค่รู้สึกได้ไม่พอ! ต้องวัดผลออกมาเป็นงา...

อ่านต่อ

พาวซูการ์คิว และ พาวแคปซูล

พาวแบบเม็ด มี 2 ชนิด  คือ พาวแคปซูล และ พาวซูการ์คิว ซึ่งทั้ง 2 ชนิด มีความต่างกันคือพาวซูการ์คิว Zukar Q สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพน้ำตาล ไขมันคอเลสตอลรอล ไขมันเลว และความดัน มีงานวิจัยบลูสเปียร่าจากม.พะเยา พาวแคปซูล มีส่วนผสมของพลูคาว และสมุน...

อ่านต่อ