ข้าวกล้อง ข้าวขาว

หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่แคลลอรี่น้อย ๆ บางคนถึงขั้นบอกว่าเลิกกินข้าวเลยดีกว่าเพราะข้าวเป็นแป้ง น่าจะทำให้อ้วนได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงแหล่งคาร์โบไฮเดรตทางเลือกอย่างเช่น ข้าวกล้อง ว่ามีความแตกต่างจากข้าวขาวหรือข้าวที่ผ่านการขัดสีมาแล้วอย่างไร

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #1

ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่เอาเปลือกออกแต่ในส่วนของจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) ยังอยู่ ซึ่งเป็นส่วนที่มีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน บี 1, บี 2, ธาตุเหล็ก, ใยอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาดูกันว่า กินข้าวกล้องแตกต่างจากการกินข้าวขาวอย่างไร ดีต่อร่างกายอย่างไร โดยจะพิจารณาความสำคัญของค่า ๆ หนึ่ง คือ ค่า #GlycemicIndex (#GI) หรือดัชนีน้ำตาล โดยอาหารชนิดใดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะหมายถึง เมื่อบริโภคอาหารชนิดนั้นเข้าไป จะถูกย่อยและกลายสภาพเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดอย่างรวดเร็ว เพราะประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือด อีกทั้งยังทำให้อินซูลินจากตับอ่อนหลั่งออกมาอย่างรวดเร็วด้วย เมื่อน้ำตาลถูกอินซูลินพาเข้าไปในเซลล์อย่างรวดเร็วแล้ว อินซูลินที่หลั่งออกมามากและค้างอยู่ในกระแสเลือดก็กลับเกิดภาวะโหยน้ำตาล จึงทำให้ไม่สามารถเลิกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ๆ ได้ ซึ่งหากรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเป็นประจำก็จะส่งผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเป็น #โรคเบาหวาน #โรคอ้วน #โรคหลอดเลือดสมอง #โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการสะสมไขมันที่มากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณอ้วนขึ้น

แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูง แต่ก็ควรทานแต่พอดี และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

จะเห็นว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมีผลต่อร่างกายเราอย่างมากถ้าบริโภคในปริมาณที่ไม่พอดี คราวนี้เราลองมาดูค่า GI ของข้าวชนิดต่าง ๆ และแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ กัน ตัวอย่างเช่น น้ำตาลกลูโคส (ค่า GI =100), ข้าวขาวหอมมะลิ (ค่า GI = 100), ข้าวเหนียว (ค่า GI = 98), ข้าวกล้อง (ค่า GI =50), ขนมปังโฮลวีท (ค่า GI =53), วุ้นเส้น (ค่า GI =39)

คราวนี้เราลองมาดูรายงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษที่ชื่อว่า The British Medical Journal ในหัวข้อ การบริโภคข้าวขาวและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (White rice consumption and risk of type 2 diabetes meta-analysis and systematic review ) จะพบว่าการบริโภคข้าวที่ผ่านการขัดสีหรือข้าวขาว มีความเสี่ยงต่อโรค #เบาหวานชนิดที่2 โดยเฉพาะในชาวเอเชียที่มีการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจากงานวิจัยทำให้เราต้องตระหนักแล้วว่าการเลือกรับประทานข้าวของเรา ในแต่ละมื้อเราควรเลือกให้ดีว่าคาร์โบไฮเดรทที่เรารับประทานไปนั้นเป็นชนิดใด แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ไม่สูงมากแต่ก็ควรรับประทานแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #2

พาวน้ำ ขวดเล็ก POW พาวเอสเซ้นส์ น้ำสมุนไพรพลูคาว

พาวน้ำขนาดใหม่  375 ml. พกพาสะดวกพาวน้ำ หรือ พาวซุยยากุเอสเซ้นส์ พาวขวดเล็ก พกพาสะดวก และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองทาน อัดแน่นด้วยส่วนผสมสมุนไพรที่มีประโยชน์เหมือนเดิม ประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 11 ชนิด ได้แก่ พลูคาว ใบมะรุม ลูกยอ กระชายดำ ตังกุย เห...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

ข้อแนะนำป้องกัน covid19 ผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหากติดโรคโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเป้าหมาย มักมีโรคแทรกซ้อน...

อ่านต่อ

ไตเรื้อรังจากเบาหวาน

ไตเรื้อรังจากเบาหวาน อันตรายที่อาจเกิดขึ้น และวิธีดูแลที่แตกต่างจาก โรคไต และ เบาหวาน อื่นๆ เบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย และเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดภาวะไตเรื้อรัง เนื่องจากโรคเบาหวานจะมีน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดเซลล์บริเวณไต ในระ...

อ่านต่อ

ไขมันเลว ลดได้

ด้วยนวัตกรรมแห่งอนาคตของคนไทย BlueSpira ที่วิจัยและทดสอบในอาสาสมัครจริง พิสูจน์ได้ว่าไขมันเลวลดลง 4เท่า!หากเป็นเรื่องสุขภาพ แค่รู้สึกได้ไม่พอ! ต้องวัดผลออกมาเป็นงานวิจัย นี่แหละ ความภาคภูมิใจของ พาว เราเชื่อมั่นในศักยภาพของนักวิจัยไทย และมุ่งมั่นนำพ...

อ่านต่อ

ร่างกายไม่ชอบ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ร่างกายไม่ชอบภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงเร็วๆยิ่งไม่ชอบ ดังนั้นเครื่องดื่มตัวดีเลย อะไรที่มีน้ำตาล ไม่เพียงแค่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงธรรมดา แต่มันจะสูงแบบพุ่ง!!! พุ่งขึ้นเร็วกว่าการกินแป้งอีก เราจัดมันในกลุ่ม high carb beverage ให้น้ำตาลส...

อ่านต่อ

พฤติกรรมเนือยนิ่ง

พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คำศัพท์ซึ่งมาพร้อมกับการใช้ชีวิตที่สะดวกและรวดเร็วจนขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ปรากฏและเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้เอง เป็นบ่อเกิ...

อ่านต่อ